• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

น้ำคือชีวิต

น้ำคือชีวิต


ขณะนี้หากดูจากรายงานปริมาณน้ำที่มีอยู่ในเขื่อนหลักๆ จะเห็นว่า จำนวนน้ำได้ลดลงทุกปี หลายคนคงรู้สึกหนาวทั้งๆ ที่อากาศร้อนอบอ้าว เราบอกได้ว่าขณะนี้ น้ำเปล่า (ใส่ขวด) แพงกว่าน้ำมัน และในอนาคต น้ำ 1 แก้ว อาจมีค่ามากกว่าอาหาร 1 มื้อของเรา น้ำในโลกนี้กว่าร้อยละ 97 เป็นน้ำเค็มหรือน้ำทะเล ที่เหลือ คือ น้ำจืด ซึ่งรวมน้ำจืดที่เป็นน้ำแข็งที่ขั้วโลกและน้ำใต้ดินด้วย

เราจะเห็นว่าน้ำมีไม่มากที่จะให้เราใช้ทิ้งใช้ขว้างหรือทำให้เป็นน้ำเสียอีกต่อไปแล้ว น้ำหนักตังของมนุษย์เป็นน้ำถึง 2 ใน 3 น้ำมีสารอาหารและแร่ธาตุมากมายที่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตในเลือดของมนุษย์เป็นน้ำถึงร้อยละ 80 โดยปกติร่างกายของเราต้องการน้ำสะอาดดื่ม 6-8 แก้วต่อวัน หรือมากกว่านั้นในวันที่อากาศร้อน และถ้าน้ำดื่มสกปรกก็จะนำโรคต่างๆ มาสู่เราได้ เช่น โรคทางเดินอาหาร โรคไทฟอยด์ อหวิวาต์ และอื่นๆ น้ำสะอาดจึงเป็นสิ่งจำเป็นสะหรับมนุษย์

หากเรายังต้องการมีน้ำใช้ต่อไปโดยไม่ต้องดิ้นรนเดือนร้อน เราควรร่วมมือกันใช้น้ำอย่างประหยัด ก่อนที่จะไม่มีน้ำให้ประหยัดอีกต่อไป ต่อไปนี้เป็นข้อแนะนำการใช้น้ำอย่างประหยัด

  • ขณะแปรงฟันหรือโกนหนวดไม่เปิดน้ำทิ้งไว้และควรใช้ภาชนะรองน้ำไว้สำหรับบ้วนปากหรือล้างหน้าหากเปิดน้ำทิ้งไว้เพียง 2 นาที จะเสียน้ำถึง 18 ลิตร
     
  • ในตอนเช้า ร่างกายจะไม่สกปรกมากนัก เพราะเพิ่งตื่นนอนและก่อนนอนได้อาบน้ำแล้ว ดังนั้นในการอาบน้ำตอนเช้าจึงควรลดปริมาณสบู่ฟอกตัวและน้ำให้น้อยลง
     
  • เวลาอาบน้ำหรือสระผม ควรผิดน้ำในขณะกำลังถูสบู่หรือสระผม แล้วจึงเปิดน้ำเพื่อล้างสบู่หรือแชมพู การทำเช่นนี้จะประหยัดน้ำได้ถึงประมาณ 80 ลิตร
     
  • การอาบน้ำโดยใช้ฝักบัวจะใช้น้ำปริมาณ 20 ลิตร ต่อครั้ง แต่การอาบน้ำในอ่างจะใช้น้ำประมาณ 110 ลิตรต่อครั้ง
     
  • ห้องสุขาแบบชักโครก ปกติจะใช้น้ำปรมาณ 10-20 ลิตรต่อครั้ง ดังนั้น ควรจะหาขวดพลาสติกบรรจุน้ำให้เต็มใส่ไว้ในโถน้ำ จะช่วยประหยัดน้ำได้ครั้งละ 1-2 ลิตร
     
  • หากกำลังสร้างบ้านใหม่ ควรเลือกใช้โถชักโครกแบบประหยัดน้ำ ซึ่งใช้น้ำประมาณ 4 ลิตร หรือ โถแบบราด
     
  • การใช้ยาสระผมที่มีความเหนียว (เข้มข้น) หรือใช้มากไปจะเป็นการเพิ่มปริมาณรน้ำในการสระผมมากขึ้น ดังนั้น ใช้ยาสระผมมากขึ้น ดังนั้น ใช้ยาสระผมเท่าที่จำเป็น จะช่วยลดปริมาณการใช้น้ำในการชำระล้างยาสระผมลงได้
     
  • เวลาดื่มน้ำ ควรรินน้ำเท่าที่ดื่ม ทำให้ไม่ต้องเทน้ำก้นแก้วทิ้ง
     
  • เวลากินน้ำแข็งควรตักแต่พอดี ไม่ควรตักน้ำแข็งจนเต็มแก้ว เพราะน้อยคนที่จะกินน้ำแข็งจนหมดแก้วที่เหลือจะเททิ้ง
     
  • ไม่ควรหุงข้าวแบบเช็ดน้ำนอกจากวิตามินจากข้าวจะเสียไปยังทำให้น้ำต้องเสียไปด้วย
     
  • เวลาล้างภาชนะ ให้ล้างแก้วก่อนล้างจาน เพราะน้ำล้างแก้วสกปรกน้อย และไม่มีคราบไขมันสามารถนำมาล้างจาน ชามหรือภาชนะอื่นๆ ได้อีก หากคุณล้างจานโดยเปิดน้ำลงอ่างและใส้น้ำสองครั้ง จะใช้ประมาณ 15 ลิตร ถ้าล้างด้วยวิธีเปิดน้ำให้ไหลผ่านจานทีละใบ จะใช้น้ำประมาณ 135 ลิตร ในเวลาประมาณ 15 นาที
     
  • การซักผ้าแต่ละครั้งควรรวบรวมให้มีจำนวนเหมาะสมกับการใช้ผงซักฟอก ซึ่งอ่านได้จากข้างกล่องจะทำให้ใช้ปริมาณน้ำซักผ้าน้อยลง
     
  • เวลาจำเป็นต้องล้างรถ ควรใช้ไม้ขนไก่ปัดฝุ่น หรือทำความสะอาดทั่วรถก่อนล้างด้วยน้ำ การล้างรถ หากใช้สายยางฉีดทั้งคันจนกว่าจะล้างเสร็จ จะใช้น้ำประมาณ 400 ลิตร หากใช้ภาชนะรองน้ำแล้วใช้ผ้าหรือฟองน้ำซุปแล้วทำความสะอาดรถ และใช้หัวฝักบัวฉีดล้างในส่วนที่มีคราบสกปรกเกาะติดอยู่ จะใช้น้ำปริมาณ 100 ลิตร หรือ 1 ใน 4 ของการใช้สายยางฉีด
     
  • การทำความสะอาดพื้น ควรใช้กระป๋องรองน้ำ และซักอุปกรณ์เช็คดูในกระป๋อง ไม่ควรใช้สายยางฉีดล้างโดยตรง
     
  • การรดน้ำต้นไม้ ควรรดในตอนเย็นหรือเช้ามืด เพราะหากรดตอนกลางวัน คามร้อนจะทำให้น้ำระเหยไปอย่างรวดเร็ว เวลารดน้ำต้นไม้ควรรด บริเวณโคนต้น แทนการรดจากใบลงมา การทำเช่นนี้ ต้นไม้จะใช้ประโยชน์จากน้ำได้มากกว่า เพราะพืชไม่ได้ดูดใบ หากจำเป็นจะต้องล้างใบไม้ที่ใหญ่มากหรือที่มีใบมาก ควรฉีดเป็นละออง ต้นไม้เล็กใบไม่มากควรใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตามใบไม้
     
  • เวลานำอาหารออกจากช่องแช่แข็ง ควรปล่อยทิ้งไว้สักครู่เพื่อให้น้ำแข็งละลายเอง ซึ่งประหยัดน้ำมากกว่าการใช้วิธีเปิดให้น้ำไหลผ่านอาหารเพื่อลดความเย็นของน้ำแข็ง
     
  • น้ำที่เหลือจากกิจกรรมอย่าง เช่น น้ำซักผ้า น้ำล้างจานรอบ 2 สามารถนำมาทำประโยชน์อย่างอื่นต่อไปได้แทนการเททิ้ง เช่น ล้างพื้น ห้องน้ำ รดน้ำต้นไม้ ใช้ราดโถส้วม เป็นต้น
     
  • หากจะเปลี่ยนหัวก๊อกน้ำครั้งต่อไป ควรเปลี่ยนชนิดหัวเกลียวมาเป็นชนิด เปิด-ปิด จังหวะเดียว (บอลล์-วาว) จะทำให้การเปิด-ปิดน้ำรวดเร็วกว่าหัวก๊อกแบบเกลียว นอกจากลดปัญหาเรื่องเกลียวหัวก๊อกหวานอีกด้วย ซึ่งจะทำให้ปิดน้ำได้ไม่สนิท
     
  • หมั่นตรวจก๊อกน้ำ ท่อน้ำ และ ซ่อมทันทีหากพบรอบรั่ว เพราะน้ำที่ไหลช้าๆ เพียง 1 หยดใน 1 นาที จะรวมเป็นน้ำ 10,000 ลิตรในหนึ่งปี

วิธีตรวจดูว่า มีรอยรั่วหรือไม่ให้ปิดก๊อกน้ำทุกก๊อกให้สนิท แล้วไปดูที่มิตเตอร์น้ำ หากเข็มมิเตอร์กระดิกแสดงว่ามีรอยรั่วอยู่ ควรรีบหาให้พบและซ่อมแซมเสีย

การประหยัดน้ำเพียงหนทางหนึ่งที่จะช่วยให้เรามีน้ำใช้ต่อไปได้ แต่ขุมน้ำซึ่งไม่มีวันหมดนั้นมาจากป่า ดังนั้น หากเราช่วยกันปลูกต้นไม้เพียงคนละต้นวันนี้ ในอนาคตเราจะมีน้ำใช้ไม่มีวันหมด

น้ำต่อชีวิต

คนกรุงเทพฯ เป็นกลุ่มคนที่ใช้น้ำมากที่สุด โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 2.2 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน น้ำจำนวนนี้เมื่อใช้แล้วจะถูกทิ้งลงสู่ท่อระบายน้ำโดยไม่มีการบำบัด หากมีการบำบัดน้ำที่ใช้แล้วให้เป็นน้ำดีอีกครั้ง คนกรุงเทพฯ จะมีน้นำดีใช้สอยอีกประมาณ 2 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน หรือประมาณ 720 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ซึ่งถ้าหากเราทำให้น้ำเสียน้อยลง เราก็สามารถที่จะนำน้ำนั้นมาบำบัดเพื่อใช้ใหม่ได้ แต่ถ้าหากน้ำนั่นเน่า จนไม่สามารถบำบัดได้ ในวันข้างหน้า เราอาจจะเหลือแต่น้ำเน่าเต็มเมือง
จะทำอย่างไร คุณจึงปล่อยน้ำเสียออกจากบ้านน้อยที่สุด

  • การแปรงฟันควรใช้ยาสีฟันเท่าที่จำเป็น เด็กควรใช้ขนาดเมล็ดถั่วเขียว ผู้ใหญ่ใช้มากกว่า 1 หรือ 2 เท่าก็เพียงพอแล้ว การแปรงฟันอย่างถูกวิธีเป็นการรักษาฟัน ยาสีฟันเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่ง หากใช้ยาสีฟันมากไปก็สิ้นเปลืองโดยเปล่าประโยชน์และยังปล่อยไปกับน้ำทำให้น้ำเสียอีกด้วย
     
  • ในการซักผ้าควรแช่ผ้ากับผงซักฟอกสักระยะเวลาก่อนทำการซัก เพื่อให้ผงซักฟอกทำปฏิกิริยากับผ้า จะประหยัดผงซักฟอกได้มาก และไม่ทำให้น้ำซักผ้าเข้มข้นเกินไปเมื่อเททิ้งจะได้ไม่ทำให้น้ำเสียมาก

    ในการซักผ้า ควรใช้ผงซักฟอกที่มีส่วนประกอบของฟอสเฟตน้อยหรือไม่มีเลย เพราะฟอสเฟตเป็นอาหารอย่างดีของพืชขยายพันธุอย่างรวดเร็วจนคลุมปิดผิวน้ำ และเป็นตัวกั้นไม่ให้ออกซิเจนลงไปในน้ำ ทำให้น้ำเน่าเสียซึ่งเป็นผลเสียกับสัตว์น้ำด้วย

    วิธีดูจำนวนฟอสเฟตในผงซักฟอก ให้ดูตรงตัว P ในส่วนผสมซึ่งพิมพ์ไว้ข้างกล่อง แล้วนำ 3 คูณก็จะทราบจำนวนฟอสเฟตที่แท้จริงที่อยู่ในฟงซักฟอกชนิดนั้น การใช้ก้อนทำความสะอาดโถส้วม โดยเฉพาะที่ใส่ไว้ในถังน้ำพักน้ำ เพื่อให้น้ำนั้นฆ่าเชื้อโรคน้ำที่ออกมาซึ่งมีสีสันแปลกตานั้น เป็นการเพิ่มปริมาณสารเคมีลงสู่ท่อระบายน้ำด้วยอีกทางหนึ่ง
  • สบู่มีส่วนประกอบของน้ำมันที่สกัดจากพืชและไขมันสัตว์ ซึ่งไม่มีผลต่อน้ำเสียเท่าไหร่นัก แต่สีและน้ำหอมที่ผสมลงในสบู่ อาจกินเวลานานกว่าจะสลายตัวไปได้หมด ฉะนั้นจึงควรเลือกสสบู่ที่มีสีอ่อรหรือมีกลิ่นน้อย
  • ควรยกเลิกการใช้สารเคมีทำความสะอาดห้องน้ำ เพราะสารเคมีจะทำให้น้ำเสียและยากแก่การบำบัด ดื่มนม ชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มต่างๆ ทุกครั้งให้หมดแก้วหากเหลือไว้ก็ต้องเททิ้งลงท่อระบายน้ำทำให้น้ำเสีย
     
  • ในการกินอาหารแต่ละครั้งควรกินให้หมด ไม่ควรกินอาหารฟุ่มเฟือยเหลือทิ้ง เพราะเศษอาหารที่เหลือจะเป็นขยะต่อไป โดยเฉพาะอาหารที่เป็นน้ำและมีไขมัน เช่น การกินก๋วยเตี๋ยวน้ำหรือน้ำแกง หากกินน้ำไม่หมด ร้านค้าหรือตัวเราเองก็จะเทลงท่าหรืออ่างล้างจาน น้ำมันในอาหารก็จะไปปิดกั้นผิวน้ำไม่ให้สัมผัสออกซิเจนได้ ส่วนเศษอาหารก็ลงไปในแหล่งระบายน้ำทำให้น้ำเน่าเสียยิ่งขึ้น
     
  • น้ำมันที่เหลือใช้ไม่ควรทิ้งลงท่อเพราะ น้ำมันจะเป็นตัวปิดกั้นไม่ให้แสงอาทิตย์และออกซิเจนสู่ผิวน้ำได้ ทางที่ดีที่สุด คือ เทใส่ถุงพลาสติก รัดปากถุงให้แน่น แล้วทิ้งลงถังขยะ
     
  • ก่อนล้างจานทุกครั้งควรกวาดเศษอาหารออกก่อน นอกจากจะไม่ทำให้น้ำเน่าเสียแล้ว ยังป้องกันไม่ให้ท่ออุดตันอีกด้วย
     
  • ปัจจุบันมีคนนำกระดาษชำระมาใช้เช็ดโต๊ะ เช็ดสิ่งของ ควรเปลี่ยนเป็นใช้ผ้า การผลิตกระดาษต้องใช้น้ำเป็นจำนวนมากมานในกรรมวิธีฟอกกระดาษให้ขาว หันมาใช้กระดาษชำระที่ไม่พิมพ์ลายหรือสี เพราะขั้นตอนการผลิตทำให้เกิดน้ำเสียได้มาก และเมื่อใช้เสร็จ ถึงกระดาษชำระจะย่อยสลายไปแล้ว แต่สีบนกระดาษชำระจะยังอยู่อีกนาน
     
  • หากจะล้างคราบไขมันที่ติดอยู่บนมุ้งลวด ให้ใช้น้ำส้มสายชูผสมลงในน้ำแล้วใช้แปรงขัด มุ้งลวดจะสะอาดเหมือนใหม่ ไม่ควรใช้สารเคมี
     
  • ใช้น้ำส้มสายชูผสมกับเกลือและน้ำในสัดส่วนที่เท่ากัน หรือใช้ผงฟูผสมกับน้ำให้เข้ากันก็จะได้น้ำยาทำความสะอาดพื้นกระเบื้อง สุขภันฑ์ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมรวมทั้งตัวผู้ใช้ด้วย หมั่นทำความสะอาดห้องน้ำห้องส้วมทุกวัน ทำให้ง่ายต่อการทำความสะอาด

เราเชื่อว่า หากคุณหลีกเลี่ยงได้ คุณจะไม่ทำน้ำเสียหรือปล่อยน้ำเสียจากบ้านลงท่อหรือแม่น้ำ อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าคุณจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม คุณก็อาจยังมีส่วนร่วมในการทำน้ำเสียอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ถึงเวลาที่เราจะเริ่มทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้นได้ ด้วยการทำวิธีบำบัดน้ำเสียภายในบ้าน ซึ่งคุณสามารถทำเองได้โดยการคิดอุปกรณ์ในการบำบัดน้ำเสียภายในบ้าน (วิธีทำบ่อเกรอะดูในหมอชาวบ้าน ฉบับ 168 เมษายน 2536 หน้า 24) หากเราทุกคนไม่ร่วมมือกันแต่วันนี้ แล้วชีวิตในวันพรุ่งนี้จะเป็นอย่างไร

ข้อมูลสื่อ

179-002
นิตยสารหมอชาวบ้าน 179
มีนาคม 2537
บทความพิเศษ
กองบรรณาธิการ