• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

สถิติเสี่ยงความดันสูง

สถิติเสี่ยงความดันสูง


จากคนไทยอายุ 15  ปีขึ้นไป จำนวน 1,606 รายที่ถูกตรวจพบว่าเป็น “ความดันเลือดสูง” นั้น มีเพียง 1 ใน 10 เท่านั้นที่รู้ตนเองว่ามีภาวะความดันเลือดสูง ในจำนวน 164 คนที่ทราบว่าคนมีภาวะความดันเลือดสูงนี้ได้รับการรักษา 117 คน ในจำนวนนี้ประมาณครึ่งหนึ่งที่ถือว่าควบคุมความดันเลือดได้ในระดับที่น่าพอใจ

ทำไมตัวเลขตรงนี้จึงมีความสำคัญถึงจะต้องมาบอกกล่าวกัน

ประการแรก จะเห็นได้ว่าภาวะความดันเลือดสูงซ่อนตัวอยู่ในสังคมไทยโดยเจ้าตัวไม่รู้ไม่เห็นอยู่ถึง 9 ใน 10 (ของคนที่ตรวจพบว่าเป็น)
ดังนั้น จึงแนะนำว่าควรมีการตรวจเช็กความดันเลือดอย่างน้อยปีละครั้ง แม้ว่าจะรู้สึกสบายดีก็ตาม
ประการที่สอง คนที่แม้จะรู้ตัวว่ามีภาวะความดันเลือดสูง มีการดูแลรักษาตนเองอย่างเหมาะสม จนกระทั่งควบคุมระดับความดันเลือดได้เป็นที่น่าพอใจประมาณครึ่งหนึ่งเท่านั้น ที่เหลืออีกครึ่งหนึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนรุนแรงตามมาได้

ภาวะความดันเลือดสูง( ต่อร้อยคน )ในประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปจำแนกตามอายุ เพศ และถิ่นที่อาศัย

              

 

ข้อมูล : 20  ธันวาคม  2534

ตรงนี้จะเห็นว่า คนไข้และญาติมิตรจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องในการดูแลตนเอง การกินอาหารอย่างเหมาะสม ออกกำลังกายและพักผ่อนอย่างพอเพียง รวมทั้งการตัดสินใจว่าเมื่อไรจึงควรจะไปพบแพทย์ เพื่อขอความช่วยเหลือในการควบคุมภาวะความดันของตนเอง


อันที่จริงปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันเลือดสูงนั้น เพียงควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์พอดี ก็จะสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดความดันเลือดสูงลงได้หลายเท่า ปัจจัยอื่น ๆ ที่จะลดความเสี่ยงได้อีก คือ การไม่สูบบุหรี่ ลดอาหารที่มีรสเค็ม ผ่อนคลายความตึงเครียดและพักผ่อนให้พอเพียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการย่างเข้าสู่วัยกลางคนและผู้สูงอายุ เพียงเท่านี้ก็จะทำให้ร่างกายแข็งแรง เสี่ยงโรคน้อยลง ไม่เพียงแต่ความดันเลือดสูงเท่านั้น ยังลดโรคอื่น ๆ ได้อีกหลายโรค เริ่มเสียแต่วันนี้จะไม่ต้องเสียใจภายหลัง

 

ข้อมูลสื่อ

202-002
นิตยสารหมอชาวบ้าน 202
กุมภาพันธ์ 2539
โลกของเรา
มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ