• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

การวัดสายตาด้วยตนเอง

การวัดสายตาด้วยตนเอง


ท่านผู้อ่านได้อ่านเรื่องของโรคตาชนิดต่าง ๆ มาก็มากมายแล้ว ลองมาอ่านเรื่อง “การวัดสายตา” ดูบ้าง อาจจะทำให้เกิดประโยชน์ได้บ้างไม่มากก็น้อย เพราะท่านคงจะเคยได้ยินได้ฟังได้เห็นและรับรู้มาบ้างแล้วถึงคำว่า “วัดสายตา”                                          

 

                                                  

บทความนี้เป็นแนวทางวิธีการวัดสายตาโดยทั่ว ๆ ไป เป็นแบบสากลที่ใช้ปฏิบัติกันอยู่ ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษา โรงพยาบาล คลินิก สถานีอนามัย หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ หรือหน่วยตรวจคัดเลือก เกณฑ์ทหาร ฯลฯ เมื่ออ่านจบแล้วจะทำให้เกิดความเข้าใจถึงวิธีการวัดสายตาตัวเอง หรือของคนข้างเคียง เพื่อนฝูง ลูกหลาน ญาติพี่น้องได้คร่าว ๆ ทันที

บางคนไม่เคยทราบเลยว่า ตัวเองมองเห็นโลกทัศน์รอบตัวเองอยู่ทุกวันนี้ ใช้ตาข้างไหนมองดูอะไรมันก็สวยสด หรือเห็นไปเสียทุกอย่าง แต่หารู้ไม่ว่าตาไหนที่เห็นชัด หรือใช้ตาข้างไหนดู เพราะไม่เคยทดลองปิดตาดูวัตถุรอบข้างทีละตามาก่อนเลย จะมองอะไรก็สองตาคู่ที่มีอยู่บนใบหน้านี้แหละ
คราวนี้ก็ลองมาทดสอบสายตาตัวเองดูบ้าง ว่ามันยังปกติดี หรือข้างใดข้างหนึ่งด้อยกว่าอีกข้างหรือเปล่า หรือใช้ตาเดียวมองอะไรต่อมิอะไรมาตลอด โดยไม่ทราบว่าตัวเองตามัวอยู่ข้างหนึ่งตั้งแต่เมื่อไรก็ไม่รู้
 

การวัดสายตา (Visual Acuity)
                     

                                           

การวัดสายตาในคนปกติทั่วไป ดังที่เราอาจจะเคยเห็นหรือเคยโดนวัดมาบ้างแล้ว ด้วยการใช้แผ่นตัวอักษรหรือตัวเลขที่เขียนเรียงกันลงมาเป็นแถว ๆ จากตัวบนสุด ซึ่งมีขนาดใหญ่ใส่เรียงลงมาแถวล่างค่อย ๆ เล็กลง ๆ จนแถวสุดท้ายจะมีตัวจิ๋ว
ตัวเลขแต่ละแถวจะมีตัวเลขกำกับ (ด้านข้าง) ไว้ด้วยคือ   6 ,   6  ,  6  ,  6 6 6 6 6
                                                                                       30   36   34  18  12   9   6   5 
แผ่นตัวอักษรนี้เราเรียกว่า “สเนลเลนชาร์ต” (Snellen’s chart) ท่านผู้อ่านคงจะเคยเห็นแผ่นชาร์ตชนิดนี้มาบ้างแล้วตามคลินิก โรงพยาบาล สถานีอนามัย หรือตามห้องอนามัยโรงเรียน หน่วยราชการบางแห่ง มีไว้เพื่อลองทดสอบสายตา ผู้ที่ต้องการจะเช็กระดับสายตาดูว่า ปกติหรือเปล่า
ในบางแห่งชาร์ตอาจเป็นตัวเลขซึ่งจะใช้ตัวเลขอารบิกคือ เลขสากล ที่นิยมได้แก่ตัวเลขดังต่อไปนี้ เรียงลำดับตั้งแต่ตัวโตสุดซึ่งอยู่แถวบนไล่ลดหลั่นลงมาแต่ละบรรทัด คือ ชาร์ตบางแผ่นจะไม่ทำเป็นตัวเลข แต่จะทำเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ หรือบางแห่งจะมีเป็นภาษาไทยก็แล้วแต่สำหรับคนไข้ที่อ่านหนังสือออก
ส่วนผู้ที่อ่านหนังสือไม่ออก ชาร์ตทดสอบนี้จะทำเป็นรูปภาพที่สามารถจะสื่อความหมายให้กับผู้ที่มองเห็นภาพ สามารถบอกได้ว่าเป็นภาพอะไร ๆ โดยทำให้มีขนาดใหญ่ แล้วเล็กลงตามลำดับ แต่จะบันทึก เช่นเดียวกับตัวเลขหรือตัวอักษรที่กล่าวมาแล้ว

แผ่นทดสอบสายตานี้เป็นชนิดที่ใช้ทดสอบสายตาคนไข้หรือผู้ที่ต้องการทดสอบสายตาไกล ส่วนทดสอบสายตาในระยะใกล้มีอีกชนิดหนึ่งเป็นแผ่นเล็ก ๆ ขนาดมือถือพอเหมาะ เพื่ออ่านระยะประมาณ 1 ถึง1 1/2 ฟุต  เรียกว่า เจเกอร์ชาร์ต (Jaeger’s chart)
         

วิธีการวัด การวัดสายตาด้วยแผ่นทดสอบสายตาสเนลเลนชาร์ต (Snellen’s chart) นี้ แขวนหรือติดตั้งให้อยู่แนวระดับสายตา ภายในห้องที่มีแสงสว่างพอเพียง และสามารถเห็นได้เด่นชัด ไม่ควรไปแขวนแปะติด ปะปนกับภาพชนิดอื่น จะทำให้เกิดการไขว้เขวในการทดสอบ ไม่ควรไว้ตรงซอกตรงมุมที่อับแสง ถ้าในห้องมีดควรจะมีโป๊ะไฟตั้งหรือไฟส่องที่แผ่นชาร์ตสว่างขนาดไฟ 60 แรงเทียน เมื่อติดตั้งแผ่นชาร์ตเรียบร้อยแล้ว เริ่มดำเนินการทดสอบได้ตามลำดับขั้นตอนดังนี้

 

                                         
                                     

1. ให้คนไข้(ผมเรียกผู้ทดสอบ เป็นคนไข้แล้วกัน สื่อความหมาย เข้าใจดี) นั่งหรือยืนก็แล้วแต่ระดับของแผ่นชาร์ตที่แขวนไว้ที่ฝาผนังห้อง ระยะทางห่างจากชาร์ต 6 เมตร (หรือตามระบบอเมริกันจะใช้เป็นฟุต คือ 20 ฟุต)
การทดสอบสายตา ให้ใช้ตาข้างขวาก่อน ให้เอากระดาษแข็งเล็ก ๆ หรืออะไรก็ได้ (Occluder) บังตาซ้ายไว้ (ไม่ควรใช้มือปิดหรือแผ่นอะไรไปกดลงบนตาซ้าย จะทำให้ตาข้างนั้นมัวได้เมื่อเปิดออกมา)
เริ่มต้นให้คนไข้อ่านตัวเลขลงมาทีละแถว ๆ ลงมาเรื่อย ๆ
ถ้าอ่านหนังสือไม่ออกก็ใช้ชาร์ตที่เป็นภาพหรือสื่ออย่างอื่นแทนจนกระทั่งถึงแถวล่างสุดให้บันทึกสายตาขวาลงไปได้เลยว่า 6    (หรือ 20   )
                              6             20
แต่ถ้าคนไข้อ่านได้แค่แถวที่ 4 คือตัวเลข 6 3 9 5 2 บันทึกสายตาลงไปว่า  (หรือ  20 ) แถวต่ำสุด
                                                                                                                    18           20
ลง
                                                                                                                   
มาอ่านไม่ได้แล้วมองไม่เห็น อาจจะเดาได้สัก 1 หรือ 2 ตัว บันทึกลงไปได้อีกหน่อยว่า 6  + 2 (+ 2 ที่
                                                                                                                                      18
เพิ่มเข้ามาหมายถึงแถวต่ำลงมา เดาถูก 2 ตัว หรืออ่านได้ถูกแค่ 2 ตัว นอกนั้นอ่านไม่ออกเลย)

ในกรณีที่สายตาปกติอ่านด้วยตาขวาและตาซ้ายทีละข้างได้ถึงแถวสุดท้าย (ที่มีเส้นแดง) ให้บันทึกลงไปว่า สายตา (Visual Acuity V.A.) (  6   หรือ 20  )
                                                  6          20
ถ้าอ่านไม่ได้ถึงแถวเส้นแดงให้บันทึกไปเท่าที่อ่านได้ เช่น 6   ,   เป็นต้น แสดงว่าสายตาผิดปกติ 
                                                                                           18    24
(อาจจะสายตาสั้น สายตาเอียง หรือสายตายาวได้ทั้งนั้น)
ในบางแห่งการบันทึกสายตา อาจจะให้คนไข้อ่านจนเลยแถวมาตรฐาน ( , ซึ่งมีเส้นสีแดงขีดไว้ข้าง
                                                                                                                 6
ใต้) คืออ่านแถวเล็กสุดท้าย คือ 6 3 5 7 2 8 5 (  6  ) ก็ได้ บ่งบอกถึงว่าสายตาข้างนั้น ๆ ดีมาก 
                                                                             5
สามารถอ่านแถวที่เกินมาตรฐานได้อีก

2. ในกรณีที่เริ่มวัด ปิดตาซ้ายอ่านด้วยตาขวา คนไข้ไม่สามารถจะอ่านตัวใหญ่สุดได้ คือมองเห็นไม่ชัด แยกไม่ออกระหว่างเลข 8 กับ เลข 5 ให้ปฏิบัติดังนี้

2.1 ขยับคนไข้เข้าใกล้ชาร์ตอีก 1 เมตร คือยืนตรงตำแหน่งห่างจากชาร์ต 5 เมตร เห็นเลข 8 5
หรือไม่ ถ้ายังไม่เห็น ให้เลื่อนเข้าไปอีก 1 เมตร ถามว่าเห็นหรือยัง ถ้ายังไม่เห็นเลื่อนเข้าไปอีก 1 เมตร (ตรงตำแหน่งที่ 3 เมตรห่างจากชาร์ต) ถ้าคนไข้เห็นเลข 8 5 ให้บันทึกลงไปได้เลยว่าสายตาข้างขวา 
 
 30
2.2 ให้คนไข้ถอยมาตั้งหลักที่ 6 เมตรใหม่ วัดสายตาข้างซ้าย ปิดตาขวาแล้วดำเนินการเช่น
เดียวกัน ถ้าอ่านตัวเลขแถวบนสุดไม่ได้ ให้เลื่อนขยับเข้าใกล้ชาร์ตอีก 1 เมตร (ตรงตำแหน่งที่ 5 เมตรห่างจากชาร์ต) ถ้าคนไข้อ่านไม่ได้ เลื่อนเข้าไปทีละเมตร จนกระทั่งเห็น 8 5 ให้ดูระยะทางห่างจากชาร์ตเท่าไร สมมติห่างจากชาร์ต 2 เมตร ให้บันทึกลงไปว่าสายตาข้างซ้าย  2  เป็นต้น
                                                                                                  60

2.3 ถ้าสมมติเลื่อนคนไข้เข้าไปใกล้ชาร์ตจนกระทั่งห่างจากชาร์ตเพียง 1 เมตร ยังอ่าน 8 5 ไม่ได้ ต้องดำเนินการดังนี้

2.3.1 ให้คนไข้นับนิ้วมือของแพทย์หรือผู้ทดสอบว่าเห็นนิ้วมือหรือไม่ ถ้าเห็น เห็นกี่นิ้ว
โดยที่ผู้ตรวจพยายามยกนิ้วที่ให้คนไข้เห็นนั้นสามารถนับได้ว่ายกขึ้นมากี่นิ้ว อย่างถูกต้องและนิ้วที่นับถูกต้องอยู่ ห่างจากตาคนไข้กี่ฟุต สมมติถ้าสามารถนับนิ้วมือผู้ทดสอบถูกต้อง มีระยะห่าง 2 ฟุต บันทึกสายตาข้างนั้นลงไปว่า V.A. Finger count 2 ft (นับนิ้วมือห่าง 2 ฟุต-Fc 2 ft)

2.3.2 ถ้าคนไข้ไม่สามารถจะมองเห็นเป็นนิ้วมือคือแยกไม่ออกว่ามีกี่นิ้วที่ผู้ทดสอบยกขึ้น
เพื่อให้นับ ต้องใช้วิธีแกว่งมือไปมาใกล้ ๆ ตาข้างนั้น ถามคนไข้ว่าเห็นอะไรหรือไม่ ถ้าคนไข้บอกเห็นมือแกว่งไหว ๆ ให้บันทึกสายตาลงไปว่า V.A. Hand motion (หรือ Hand movement คือมือเคลื่อนไหวไปมาHm)

2.3.3 ถ้าไม่สามารถจะเห็นแม้แต่มือที่แกว่งไปมาข้างหน้าตาข้างนั้นแล้ว ขั้นต่อไปลองเอา
ไฟฉายเล็ก ๆ ส่องไปที่ตาข้างนั้น แล้วถามว่าเห็นไฟหรือไม่ ถ้าคนไข้บอกเห็นให้ลองชี้สิว่าไฟฉายอยู่ตรงไหน ถ้าสามารถบอกถูกว่าไฟที่ส่องมาจากทิศทางไหน ให้บันทึกสายตา (V.A.) ลงไปว่า Projection of light (Pj)

2.3.4 ถ้าไม่สามารถจะชี้ทิศทางที่มาของแสงจากไฟฉายที่ส่องได้ แต่บอกได้ว่ามีแสงแค่นั้นเอง ให้ ให้บันทึกสายตา (V.A.)ไปว่า Perception of light (PI)

2.3.5 ถ้าไม่สามารถจะบอกได้ว่ามีแสงส่งอยู่หน้าตาข้างนั้นหรือไม่ คือมืดสนิทไปหมดแสดงว่าไม่เห็นแม้แต่แสงไฟ ให้บันทึกลงไป V.A. no perception of light (NoPI) คือบอดสนิท

การทดสอบสายตาอีกข้างดำเนินการเช่นเดียวกัน
ท่านผู้อ่านจะเห็นได้ว่าการวัดสายตาในคนไข้รายหนึ่งๆ ต้องวัดทั้งตาขวาและตาซ้ายทีละตา ไม่วัดพร้อมกัน 2 ตา เพราะจะได้ค่าไม่ตรงความเป็นจริง
ถ้าจะเรียงลำตับสายตา(V.A.) จากปกติไปจนผิดปกติจากน้อยลงไปหามากจนในที่สุดมองไม่เห็นเลยได้ดังนี้
   
:    6  (หรือ  20 )
     6            20
:   6  (หรือ   20 )
    60         200
1 (ยืนห่างชาร์ต 1 เมตร)
   6
: FC (Finger count) – นับนิ้ว
: Hm (Hand movement) – แกว่งมือ
: Pj (Projection of light) - ชี้ทิศทางแสง
: PI (Perception of light) – เห็นแสง
: NoPI (no Perception of light- Total blindness) –ไม่เห็นแสง

3. การวัดสายตาระยะใกล้ (Near vision) ต้องอาศัยเจเกอร์ชาร์ต (Jaeger’s chart ดังรูป)
วิธีการต้องอาศัยแสงสว่างที่พอเพียงส่องใกล้ ๆ แผ่นชาร์ตขนาด 60 แรงเทียน ให้วัดทีละข้างเหมือนข้างต้น วัดข้างขวาก่อน ปิดตาซ้าย
ให้คนไข้ถือที่ชาร์ตห่างจากตาประมาณ 1 ฟุตครึ่ง (ท่านั่งอ่านหนังสือแบบธรรมชาติ ไม่ใช่เหยียดจนสุดแขน หรือเอาเข้ามาใกล้ชิดหน้า)
คนไข้อ่านตัวเลขได้ถึงแถวไหน ก็บันทึกลงไปด้วยตัวเลขที่กำกับไว้เป็นอักษร “J”
ตัวบนสุดคือ 9 5 แถวล่างไปคือ 8 7 2 4 9 จนถึงแถวล่างสุดตัวเล็กจิ๋ว5 8 7 2 4 9 ให้บันทึกสายตาระยะใกล้ว่า V.A. “J1”
จากนั้นวัดตาข้างซ้าย ปิดตาข้างขวา อ่านตั้งแต่ตัวบนลงมา ถ้าอ่านได้แถว 6 3 8 9 4 7 ให้บันทึกลงไปว่า V.A. “J 10” เป็นต้น
วัดสายตาใกล้ส่วนมากจะวัดในคนมีอายุใกล้ 40 ปี หรือ 40 ปีขึ้นไป เพื่อประกอบแว่นสำหรับอ่านหนังสือ
ทั้งหมดที่กล่าวมาคือวิธีการวัดสายตาแบไกล (ใช้สเนลเลนชาร์ต) และวัดสายตาใกล้(ใช้เจเกอร์ชาร์ต) ขอย้ำอีกครั้ง การวัดต้องวัดตาทีละข้าง วัดตาขวาก่อน แล้วตามด้วยตาซ้าย เพื่อมิให้สับสน
ท่านผู้อ่านอาจจะสงสัยว่าทำไมสายตาที่วัดออกมาจึงเป็นตัวเลขเศษส่วน  หรือ   6 ฯลฯ ทำไมจึงไม่
                                                                                                                   6            18
เป็นเหมือนวัดระยะความยาวของระยะทาง ของเส้นเชือก ของถนน ของสายไฟ และอื่น ๆ ที่ออกมาเป็น 10 เมตร หรือ 20 เมตร ที่เป็นเช่นนี้ เพราะสายตาที่วัดแต่ละตา ค่าที่ได้ออกมาเป็นการเปรียบเทียบระยะของความสามารถในการมองเห็นระหว่างคนไข้กับคนปกติ
สมมติถ้า V.A   6  อธิบายว่า คนไข้ต้องยืนที่ 6 เมตร ห่างจากชาร์ตจึงจะมองเห็นตัวเลขบนสุดคือ 8 5
                       60
แต่คนสายตาปกติสามารถจะยืนห่างออกไปไกลถึง 60 เมตรก็ยังอ่าน 8 5 ได้
หรือ V.A   6  อธิบายว่าคนไข้ต้องยืนที่ 6 เมตร จึงจะเห็นเลข 8 7 5 4 แต่คนสายตาปกติสามารถจะยืน
                24
ห่างออกไปไกลถึง 24 เมตร ก็ยังอ่าน 8 7 5 4 ได้ทำนองเดียวกัน หรือ V.A.  6   อธิบายว่าคนไข้ต้อง
                                                                                                                        6
ยืนที่ 6 เมตร อ่านแถวล่าง 7 2 6 4 7 9 3 ได้ และคนสายตาปกติก็ยืนที่ 6 เมตรอ่านได้เช่นกัน แสดงว่าสายตาเท่าคนปกตินั่นเอง

ขั้นตอนต่อไปเมื่อวัดเสร็จแล้วไม่ว่าคนไข้คนนั้นจะสวมแว่นตาที่เคยใช้อยู่เป็นประจำ หรือไม่สวมแว่นก็ตามที ผลที่ได้ออกมาจะต้องประเมินดูว่า ปกติหรือผิดปกติ ถ้าผิดปกติ ผิดมากน้อยเพียงใด
สมมติวัดตาทั้งสองข้างได้ระยะไกล , ระยะใกล้ได้ J1 , J1 ตัวเลขนี้ถือเป็นค่าที่ประเมินคร่าว ๆว่าสายตาอยู่ในเกณฑ์ปกติ

ถ้าสวมแว่นตาอยู่ก่อนแล้ว แสดงว่าแว่นที่สวมยังใช้การได้ต่อไป
ถ้าไม่เคยสวมแว่นคงไม่ต้องเดือดร้อนเรื่องวัดแว่นตา นอกจากจะใช้เพียงแว่นกันแดดธรรมดาเท่า-นั้น
แต่ถ้าเกิดวัดแล้วออกมาได้ดังนี้
ก. ระยะไกล
ตาขวา 6, ตาซ้าย 6
           36             24
ข. ระยะใกล้
ตาขวา J6 , ตาซ้าย J7

แสดงว่าสายตาอยู่ในลักษณะผิดปกติ คือมองไม่ชัด เมื่อเป็นเช่นจะมีวิธีการอยู่ 2 วิธีว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร ตามหลักวิชาการวัดสายตานั่นก็คือ
1. ลองให้คนไข้อ่านชาร์ตอีกครั้งโดยมองผ่านรูเล็ก ๆ ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 มิลลิเมตร (Pinhole) เอากระดาษแข็งเจาะรูกลม ๆ ขนาดโตกว่ารูเข็มเล็กน้อย นำมาแนบติดกับตาข้างที่วัด ให้คนไข้อ่านใหม่ ถ้าอ่านได้ดีเกือบ 6 หรือ  6 ทั้ง 2 ตา แสดงว่าสายตาคนไข้นั้นเกี่ยวข้องกับสั้น ยาว หรือ
                                          6          9       
เอียงแน่ ๆ แต่ถ้ามองลอดรูเล็ก ๆ แล้วยิ่งเลวไปกว่าเดิมอ่านไม่ได้เลยหรืออ่านเท่าเดิมต้องไปสู่ข้อ (2)

2. แนะนำไปให้จักษุแพทย์ตรวจความผิดปกติของสายตาว่าน่าจะมาจากโรคใดโรคหนึ่ง นับตั้งแต่กระจกตาดำ เลนส์แก้วตา น้ำวุ้นลูกตา จอประสาทตา ปมประสาทตาเรื่อยไปถึงศูนย์การมองเห็นในสมองโน่น ทำให้สายตามัวลง มองไม่ชัด
สำหรับสายตาระยะใกล้เช่นเดียวกัน สมมติเมื่อวัดตาขวาได้ J5 ตาซ้าย J7 ลองให้คนไข้เหยียดแขนที่ถือเจเกอร์ชาร์ต ห่างออกจากระยะ 1 ฟุตที่ตั้งต้นอ่าน ถ้าสามารถอ่านได้ดีขึ้น หรือจะใช้วิธเดียวกับการทดสอบสายตาระยะไกลก็ได้คือมองลอดรูเล็ก ๆ อ่านได้ถึงแถวสุดท้าย J1 แสดงว่าสายตาน่าจะเป็นแบบคนมีอายุ (40 ปีขึ้นไปหรือก่อน 40 เล็กน้อย)

ข้อแนะนำควรไปวัดสายตาประกอบแว่นเพื่ออ่านหนังสือ หรือทำงานนั่งโต๊ะเสียเถิด อย่าปล่อยไว้หรือฝืนความเป็นจริง กลัวจะถูกเรียกว่า “คนเฒ่า” ไม่ยอมไปวัดสาตาตัดแว่นจะทำให้อ่านหนังสือ หรือทำงานได้ไม่นาน จะแสบตา ตาพร่า ตัวหนังสือติดกันเป็นพรืด ซ้อนกันนัวเนีย อ่านไม่ออก ปวดมึนศีรษะ อาจถึงกับคลื่นไส้ อยากอาเจียนไปเลย บางคนร้ายยิ่งกว่านั้นพาลจะป.ส.ด. (ประสาทแดก)ไปเลยก็มี
 

 

ข้อมูลสื่อ

204-003
นิตยสารหมอชาวบ้าน 204
พฤษภาคม 2539
บทความพิเศษ
นพ.สุรพงษ์ ดวงรัตน์