• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

หาความผิดปกติของยีนในตัวอ่อนโดยเทคนิคทางพันธุวิศวกรรมศาสตร์

หาความผิดปกติของยีนในตัวอ่อนโดยเทคนิคทางพันธุวิศวกรรมศาสตร์

ในปัจจุบันโรคทางพันธุกรรมที่ร้ายแรงมักพบในระยะหลังๆ ของการตั้งครรภ์ ทำให้แม่ลังเลใจว่าควรทำแท้งหรือไม่ ดังนั้น การตรวจหาความผิดปกติเสียก่อนนำไปใส่ในมดลูกจะช่วยเหลือคู่สมรสได้ ปัจจุบันงานวิจัยด้านพันธุวิศวกรรมศาสตร์ได้พัฒนาไปอีกก้าวหนึ่งแล้ว เมื่อมีแนวโน้มว่า ได้สามารถสกัดแยกเซลล์เดี่ยวๆ จากตัวอ่อนในครรภ์มารดาเพื่อตรวจหาว่าเป็นโรคทางกรรมพันธุ์หรือไม่ โดยไม่ทำอันตรายต่อตัวอ่อนนั้นและสามารถเจริญไปเป็นทารกได้

เซลล์ที่ได้สามารถนำมาตรวจสอบหาความผิดปกติโดยอาศัยเทคนิคการขยายยีนจากเพียง 1 เซลล์ ให้ได้ยีนปริมาณมากพอ แล้วดูว่ามีความผิดปกติบนยีนที่อาจมีผลต่อทารก เช่น โรคเลือดหยุดยาก (ฮีโมฟีเลีย) กล้ามเนื้อลีบ หรือโรคทางกรรมพันธุ์บางอย่าง เมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว นักวิทยาศาสตร์ ณ โรงพยาบาลแฮมเมอร์สมิธ แห่งกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ประสบความสำเร็จในการสกัดแยกเซลล์จากตัวอ่อนที่ปฏิสนธิในหลอดแก้วโดยไม่ได้ทำลายการเจริญเติบโตตามปกติของตัวอ่อนนั้น ทั้งนี้เพื่อความหวังว่าจะลดความเสี่ยงของการให้เด็กเกิดมาทนทุกข์ทรมานจากโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมก่อนที่จะนำตัวอ่อนที่ปฏิสนธิในหลอดแก้วไปฝังในมดลูกเพื่อเจริญเป็นทารกต่อไป

ในปัจจุบันโรคทางพันธุกรรมที่ร้ายแรงมักพบในระยะหลังๆ ของการตั้งครรภ์ ทำให้แม่ลังเลใจว่าควรจะทำแท้งหรือไม่ ดังนั้น การตรวจหาความผิดปกติเสียก่อนนำไปใส่ในมดลูกจะช่วยเหลือคู่สมรส (ซึ่งเป็นระยะที่เริ่มแบ่งตัวหลังการผสมระหว่างไข่และสเปิร์ม) ได้ เทคนิคการตรวจสอบเซลล์กระทำต่อตัวอ่อนในระยะ 8 เซลล์ (ซึ่งเป็นระยะที่เริ่มแบ่งตัวหลังจากผสมระหว่างไข่และสเปิร์ม) โดยแยกเซลล์หนึ่งไปขยายเพิ่มจำนวนดีเอนเอ แล้วตรวจสอบลักษณะของดีเอนเอเพื่อทำนายว่าจะมีแนวโน้มก่อให้เป็นโรคกล้ามเนื้อลีบ เลือดหยุดยากหรือไม่ นอกจากนั้น จะสามารถตรวจหาเพศของทารกได้ด้วย ในกรณีที่คู่สมรสมีอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคที่จะติดไปยังทารกทางโครโมโซมเพศ เพราะถ้าหากทราบล่วงหน้าก็จะสามารถแก้ไขได้ถูกต้อง

วิธีการนำเซลล์ออกมานี้ใช้เวลาประมาณ 10 นาที แต่การทดลองนี้ยังไม่เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง และควรจะต้องตรากฎหมายขึ้นมาควบคุมการทดลองให้รัดกุมอีกด้วย

(จาก Embryo research heralds genetic defect screening. Far East Health. 1988:4;22)

ข้อมูลสื่อ

123-007
นิตยสารหมอชาวบ้าน 123
กรกฎาคม 2532