• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

เลนส์สัมผัส (ตอนที่ 3)

ในสองฉบับที่แล้วผู้อ่านก็ได้ทราบถึง คุณสมบัติของเลนส์สัมผัส ประโยชน์ ข้อเปรียบเทียบของเลนส์สัมผัสกับแว่นตา คงจะเป็นข้อมูลในการตัดสินใจของท่านผู้อ่านที่มีสายตาผิดปกติได้บ้างไม่มากก็น้อย

ในฉบับนี้เราได้มาว่ากันด้วยเรื่องข้อเปรียบเทียบ ของเลนส์สัมผัสชนิดแข็งและนิ่มรวมถึงการดูแลรักษาด้วย

การรักษาเลนส์สัมผัสชนิดแข็งและชนิดนิ่ม
เลนส์สัมผัสเป็นเลนส์ที่มีราคาแพงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับแว่นตาทั่ว ๆ ไป ทั้งยังเป็นของชิ้นเล็ก ละเอียดจึงจำเป็นต้องดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี
ก. เลนส์สัมผัสชนิดแข็ง เลนส์ชนิดนี้ทำด้วยพลาสติกที่ชื่อว่า โพลีเมทิลเมทาครัยเลต โครงสร้างจึงไม่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก มีหลักในการดูแลรักษาดังนี้
1. ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนหยิบจับเลนส์ ไม่ว่าขณะจะใส่หรือถอดก็ตาม
2. ทำความสะอาดเลนส์ทุกครั้งก่อนใส่ด้วยน้ำสะอาด เพื่อป้องกันการนำเชื้อโรคมาสู่ดวงตา
3. ระวังป้องกันรอยขีดข่วนบนผิวเลนส์ มักเกิดขึ้นขณะใส่หรือถอดเลนส์ และอย่าหยิบจับเลนส์ด้วยปลายเข็มหรือของแข็งอื่น ๆ เล็บคือศัตรูตัวร้ายของเลนส์สัมผัส
4. วิธีหยิบจับที่ถูกต้องคือ สัมผัสทำได้ง่าย ๆ โดยใช้นิ้วชี้แตะน้ำหมาด ๆ แล้วแต่ไปที่เลนส์ เลนส์จะติดนิ้วขึ้นมาอย่างง่ายดาย แล้วนำขึ้นแตะกับกระจกตาเท่านั้นก็สำเร็จ เพราะเลนส์สัมผัสสร้างขึ้นมาเพื่อสัมผัส
5. เวลาถอดเก็บควรเก็บแช่ไว้ในน้ำยาแช่เลนส์
6. ระวังการถูกชกหน้า หรือกระทบกระเทือนใบหน้า กระโดดโลดเต้น เล่นกีฬารุนแรง อาจทำให้เลนส์หลุดหายง่าย
ข. เลนส์สัมผัสชนิดนิ่ม เลนส์ชนิดนี้มีรูพรุนเล็ก ๆ อยู่มากมายในเนื้อเลนส์ เพื่อการอมน้ำและผ่านเข้าออกของออกซิเจนสู่ผิวกระจกตาในยามสวมใส่ แต่รูพรุนนี้ก็พลอยอมกากโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบของน้ำตา หรือมิฉะนั้นก็สะสมเชื้อแบคทีเรียไว้ได้อย่างดี แล้วตาอักเสบก็จะตามมา ดังนั้นการดูแลเลนส์ให้สะอาดจึงจำเป็นอย่างยิ่ง
1. เมื่อถอดเลนส์ออกจากตาจะต้องล้างให้สะอาดด้วยน้ำยาล้างเลนส์ทันที
2. ในระหว่างที่ไม่ได้ใช้เลนส์ควรเก็บไว้ในน้ำยาแช่เลนส์ ต้องให้เลนส์ชุ่มน้ำอยู่เสมอ
3. ล้างเลนส์เป็นพิเศษด้วยน้ำยาล้างโปรตีนอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง และถ้าต้มได้ก็จะดีมาก
4. ล้างมือให้สะอาดก่อนที่จะหยิบจับเลนส์ทุกครั้ง เพื่อป้องกันการแฝงเร้นของเชื้อโรคเข้าสู่เลนส์และสู่ดดวงตาอันเป็นที่รัก
5. ห้ามใช้ยาหยอดตาใดๆ นอกเหนือไปจากน้ำยาที่ติดมากับเลนส์นั้นๆ ในกรณีที่ตาอักเสบและจำเป็นต้องใช้ยาหยอดตา ควรงดใช้เลนส์ชั่วระยะหนึ่ง
โดยทั่วไปแล้วบริษัทที่ผลิตเลนส์จะบอกวิธีรักษาความสะอาดของเลนส์ และมีน้ำยาสำหรับทำความสะอาดมาให้อย่างครบครัน
เนื่องจากเลนส์สัมผัสมีวิธีการใช้ การดูแลรักษาที่ยุ่งยากพอสมควร บริษัทผู้ผลิตจึงได้พัฒนาประสิทธิภาพของเลนส์สัมผัสเพื่อให้ใส่ได้นานหลายๆวัน ถึงจะถอดออกมาทำความสะอาดครั้งหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าเลนส์สัมผัสยืดเวลาในการใส่ (Extended wear lens) ใส่ครั้งหนึ่งอยู่ได้นานๆ หลายวัน อาจจะ 7-15 วัน ถึงจะถอดมาทำความสะอาดสักครั้ง
เลนส์ชนิดนี้บางกว่าเลนส์ชนิดอื่นๆ มีข้อเสียคือ บาง ฉีกขาดง่าย และม้วนตัวเข้าหากันได้ง่าย ทำให้ใส่ยาก การใส่หลายๆวัน ถอดครั้งหนึ่ง มักจะหนีไม่พ้นเรื่องความสกปรก โดยเฉพาะเมืองไทยอากาศเต็มไปด้วยฝุ่นละอองทุกแห่ง อย่างไรก็ตาม ไม่ควรใส่เลนส์สัมผัสไว้นานๆ หลายวัน ก่อนนอนควรถอดออกมาทำความสะอาด จะปลอดภัยกว่าการใส่ไว้นานหลายวันถึงได้ทำความสะอาด

สิ่งที่ควรทราบเกี่ยวกับเลนส์สัมผัส ชนิดครึ่งแข็งครึ่งนิ่ม

1. ใส่สบายน้อยกว่าเลนส์ชนิดนิ่ม
2. มักจะมีสารพวกโปรตีนและไขมันมาเกาะเลนส์ได้มากกว่าเลนส์ธรรมดา จึงต้องทำความสะอาดมากกว่าเลนส์ธรรมดา
3. เลนส์ไม่ค่อยเปียกน้ำ อาจทำให้ตามัวได้เพราะผิวส่วนที่ไม่ถูกน้ำจะไม่เรียบ
4.ถ้าเลนส์ที่สั่งมาใส่ไม่พอดีก็ไม่สามารถแก้ไขเลนส์นี้ได้ ต้องสั่งใหม่
5. อายุการใช้งานสั้นมาก อาจใช้ได้เพียงปีเดียว
6. ยังอยู่ในขั้นทดลองใช้

ผู้อ่านก็ได้ทราบเรื่องของเลนส์สัมผัสมาแล้ว หวังว่า คงมีส่วนช่วยในการตัดสินในการแก้ไขปัญหาสายตาของท่านได้บ้าง แต่จะต้องขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของตัวท่านด้วยไม่ว่าจะเป็นบุคลิก อาชีพ เศรษฐกิจ ฯลฯ ท่านจะต้องตัดสินใจว่า สิ่งใดเหมาะกับตัวท่าน และสิ่งใดไม่เหมาะกับตัวท่าน


ตารางเปรียบเทียบของเลนส์สัมผัสชนิดแข็งและนิ่ม

 เลนส์ชนิดแข็งเลนส์ชนิดนิ่ม
1. ราคา
2. อายุการใช้งาน
3. ความชัดเจนของสายตา
4. ความรู้สึกในการใส่


 5. การดูแลรักษา


6. ผลต่อตาดำ




7. การหยอดยาระหว่างใส่เลนส์










 
ถูกกว่า
ทนกว่า

เห็นภาพชัดกว่า


ระคายเคืองมาก ต้องมีการฝึกหัดใส่นานเพื่อให้ตาชินกับเลนส์


 อาจจะหล่นหายได้ง่าย ไม่ต้องต้ม เพื่อฆ่าเชื้อโรค เพียงแต่เก็บในน้ำยาฆ่าเชื้อ


ถ้าใส่นานเกินจะทำให้ตาดำบวม หรือถลอกเป็นแผลได้ คือ ถ้าใส่เลนส์ที่ไม่เหมาะกับรูปร่างตาดำ ก็ทำให้เคืองตาและตาดำบวมได้ง่าย ทำให้ความโค้งของตาดำเปลี่ยนแปลงได้มาก

ใช้ยาหยอดตาได้













 
แพงกว่า
สั้นกว่า

แก้สายตาเอียงได้น้อย


ใส่สบาย ไม่เคืองมากแม้เพียงวันแรกก็ใส่ได้นานหลายชั่วโมง


ติดแนบกับตา ไม่ค่อยหลุดหาย ต้องต้มทุกวันเพื่อฆ่าเชื้อโรค ต้องเก็บในน้ำเกลือและต้องแช่สารละลายโปรตีนอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง
ใส่ได้นานทั้งวัน โดยตาดำไม่บวม แต่เลนส์อาจดูดเอาเชื้อโรคเข้าไปในเนื้อเลนส์ได้ ถ้ารักษาไม่ดีอาจทำให้เชื้อโรคเข้าตาดำเป็นแผลได้ไม่ทำให้ความโค้งของตาดำเปลี่ยนแปลงมาก

ใช้ยาหยอดตาไม่ได้ เพราะเลนส์จะดูดเอาน้ำยาเข้าเนื้อเลนส์ ทำให้เลนส์เสียได้












 

 

ข้อมูลสื่อ

102-012
นิตยสารหมอชาวบ้าน 102
ตุลาคม 2530
นพ.ชลธี สมบัติบูรณ์