• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

ทองพันชั่ง

ทองพันชั่ง

ชื่ออื่น

หญ้าไก่ (ไทย), แปะเฮาะเล่งจือ (จีน-แต้จิ๋ว)

ชื่อวิทยาศาสตร์

Rhinacanthus nasutuh (L) Kruz วงศ์ Acanthaceae

ลักษณะต้น

เป็นพืชที่ชอบความชื้น เป็นไม้พุ่มกิ่งเลื้อยสูง 1-2 เมตร ลำต้นกลม มีขนสั้นๆ บริเวณข้อ พองออกเล็กน้อย

ใบ ออกตรงข้าม ลักษณะเป็นวงรีๆ ปลายแหลม ฐานใบเรียวเล็ก ใบยาวขนาด 3-7 ซ.ม. กว้าง 2-3 ซ.ม. มีสีเขียวอมเหลืองมีจุดด่างสีเหลืองๆ ในใบ ท้องใบ มีเส้นใบเห็นชัด มีขนสั้นๆ ทั้ง 2 ด้าน ก้านใบสั้น

ดอก อาจออกดอกเดียวกันหรือเป็นช่อ มี 2-3 ดอกก็ได้ ไม่มีก้านดอก กลีบเลี้ยงสีเขียว เล็กๆ สั้นๆ กลีบดอก ติดกันเป็นหลอด มีสีเขียวอ่อน ปลายอ่อน แยกออกเป็น 5 กลีบ เป็นสีขาวมี 2 กลีบ อยู่ติดกัน มีลักษณะชี้ขึ้น และอีกพวกหนึ่งมี 3 กลีบ อยู่ติดกันชี้ลง ทำให้คล้ายนกกระยาง สีขาวสวยมาก เกสรตัวผู้มี 2 อัน อยูติดกับดอก รังไข่มี 2 อัน ผลลักษณะยาวกลม เมล็ดมี 4 เม็ดหรือน้อยกว่า จะพบได้ส่วนมาก เขามักปลู้กเป็นรั้วบ้าน ปลูกเอาไว้ทำยา เมื่อปลูกจะขึ้นได้ง่าย หักกิ่งเอามาปักก็ขึ้น เมื่อปลูกทิ้งไว้จะแตกกิ่งก้านสาขาออกเป็นพุ่ม

วิธีเก็บมาใช้

ใช้กิ่งก้าน ใบ ราก ส่วนมากใช้สดๆ หรือตัดก้านและใบมาหั่น รากที่แห้งเก็บเอาไว้ใช้ก็ได้

สรรพคุณ

ก้านและใบ รสชุ่มเล็กน้อย สุขุม บำรุงปอด และใช้แก้โรคผิวหนัง

วิธีและปริมาณที่ใช้

ก้านและใบแห้ง ใช้หมัก 10-15 กรัม หรือใช้เมื่อสดๆ หนัก 30 กรัม ต้มน้ำกิน

ภายนอก ใช้ตำพอกหรือถู

ตำรับยา

1. แก้วัณโรคปอดระยะเริ่มแรก ใช้ก้านและใบสดๆ หนัก (ของแห้งใช้หมัก 10-15 กรัม) ผสมกับน้ำตาลกรวดต้มน้ำกิน

2. ทาแก้กลากเกลื้อนหรือโรคผิวหนังผื่นคันอื่นๆ ใช้ใบสดผสมน้ำมันถ่านหินหรือแอลกอฮอล์ 75 เปอร์เซ็นต์ อาจใช้รากบดเป็นผงแช่แอลกอฮอลล์ 1 อาทิตย์ เอามาแก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน และผื่นคันอื่นๆ ใช้ใบหรือรากสด ตำกับน้ำปูนใสผสมพริกไทย พอกแก้โรคผิวหนังเรื้อรัง กลาก และโรคผิวหนังอักเสบ เป็นต้น

ส่วนประกอบทางเคมี

รากมี Resin Rhinacanthin (1.9 เปอร์เซ็นต์) มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคได้ มีเกลือโปตัสเซียส และมี Oxymethylanthraguinone อีกด้วย

ข้อมูลสื่อ

6-013
นิตยสารหมอชาวบ้าน 6
ตุลาคม 2522