น้ำส้มสายชูเครื่องปรุงอาหารที่ขาดไม่ได้
น้ำส้มสายชูเป็นเครื่องปรุงอาหารที่สำคัญ ซึ่งขาดเสียไม่ได้อย่างหนึ่งในชีวิตประจำวัน ชาวจีนรู้จักการทำน้ำส้มสายชูมาเป็นเวลาหลายพันปีแล้ว ดังมีบันทึกไว้ในหนังสือ โจวหลี่ ซึ่งเขียนโดยโจวกง ในปี 1058 ก่อนคริสต์ศักราช (ประมาณ 3044 ปีมาแล้ว)
น้ำส้มสายชูมีประโยชน์มากมายในการผัดผักถ้าใส่น้ำส้มสายชูลงไปเล็กน้อย ก็จะช่วยถนอมคุณค่าอาหารของผัก และทำให้เพิ่มรดชาติแก่อาหาร
นอกจากนี้น้ำส้มสายชูยังช่วยย่อยอาหารพวกเส้นใยและกระดูกสัตว์ ปลาหรือเนื้อย่างถ้าใส่น้ำส้มสายชูลงไปเล็กน้อยอาจช่วยลดความคาว แล้วยังทำให้เนื้อและกระดูกยุ่ยอีกด้วยมักมีผู้นำน้ำส้มสายชูไปแช่อาหาร นอกจากจะช่วยเพิ่มรสชาติของอาหารแล้ว ยังช่วยป้องกันการบูดเน่าของอาหารได้อีกด้วย ทั้งนี้เพราะน้ำส้มสายชูมีสภาพความเป็นกรดที่ค่อนข้างแรง จุลชีพส่วนใหญ่ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ แต่จะมีเชื้อราบางชนิดที่ใช้สารบางชนิดในน้ำส้มสายชูเป็นอาหาร ดังนั้นภาชนะที่บรรจุน้ำส้มสายชูจึงควรปิดให้มิดชิด
หม้อพวกโลหะเก่า ให้ใช้น้ำส้มสายชูขัด หลังจากทิ้งไว้ให้แห้งให้ใช้น้ำสะอาดล้าง จะทำให้หม้อขาวสะอาดแวววาวกระจกที่สกปรกหรือเปรอะเปื้อน ให้ใช้น้ำส้มสายชูอุ่นๆชุบผ้าเช็ด จะทำให้กระจกเกลี้ยงใสสะอาดหมดจด
ถ้าเสื้อผ้าเปื้อนสนิม น้ำผลไม้ ให้ใช้น้ำส้มสายชูขยี้หรือแช่น้ำที่ใส่น้ำส้มสายชูพอควรสักพัก แล้วซักล้างก็จะช่วยขจัดคราบสกปรกเหล่านั้นได้
ในการขัดรองเท้าหนังถ้าหยดน้ำส้มสายชู 1-2 หยดลงไปในน้ำมันขัดรองเท้าจะทำให้รองเท้าหนังแวววาวและคงทนอีกด้วย
น้ำส้มสายชูนอกจากจะช่วยชูรสอาหารทำให้อาหารมีรสชาติอร่อยน่ากินแล้ว สารประกอบที่สำคัญของน้ำมันคือ กรดอะซิติก (Acetic acid) ยังมีฤทธิ์ยับยั้ง และทำลายแบคทีเรียต่างๆเช่น Alpha streptococcus, Pncumococcus เป็นต้น
ชาวโรมันได้ใช้น้ำส้มสายชูเป็นยารักษาบาดแผล ในยุคโบราณถ้าผู้ตายด้วยโรคระบาด เงินที่ผู้ป่วยเคยใช้จะถูกนำไปล้างด้วยน้ำส้มสายชูก่อน แล้วจึงสามารถนำมาใช้ได้อีก
⇒สรรพคุณ
น้ำส้มสายชูมีคุณสมบัติร้อน รสเปรี้ยวขม สรรพคุณ ห้ามเลือด แก้ฝี แก้ปวดฟัน
⇒ตำรับยา
ปวดฟัน ใช้น้ำส้มสายชู 150 กรัม พริกหอม 7.5 กรัม ต้มกับน้ำ ใช้บ้วนปาก
⇒ รายงานทางคลินิก
ขับพยาธิตัวตืด : ใช้น้ำส้มสายชูสวนทวารในผู้ป่วย 58 ราย ใช้ 1-3 ครั้ง โดยไม่มีผลข้างเคียงใดๆ วิธีปฏิบัติ ใช้น้ำสะอาดธรรมดาผสมน้ำส้มสายชูให้เจือจาง (น้ำส้มสายชู 30 ม.ล. ใช้น้ำ 100 ม.ล.) สวนทวารครั้งละ 100-140 ม.ล. (เด็กลดลงตามส่วน) วันละ 1 ครั้ง
⇒ข้อควรระวัง
ไม่ควรนำน้ำส้มสายชูใส่ลงในภาชนะทองเหลือง เพราะจะเกิดปฏิกิริยาเคมี ถ้ากินน้ำส้มสายชูที่บรรจุในภาชนะทองเหลืองจะทำให้เป็นพิษได้ และในการใช้น้ำส้มสายชูบ้วนปากควรผสมน้ำให้เจือจาง และไม่ควรอมไว้นานๆ เพราะจะทำให้ฟันเสื่อมหรือกรดกัดเยื่อในปากได้
- อ่าน 5,558 ครั้ง
พิมพ์หน้านี้