ยาคืออะไร
ยา คือ สารหรือสารเคมีที่ออกฤทธิ์ต่อร่างกาย ทำให้มีผลในการ
- ป้องกันโรค
- ส่งเสริมสุขภาพ
- บำบัด บรรเทา รักษาโรค
- วินิจฉัยโรค
ประเภทของยา
แบ่งตามแหล่งกำเนิด
1. ยาสังเคราะห์จากสารเคมี
2. ยาสมุนไพร - พืช เช่น ใบมะขามแขก
- สัตว์ เช่น ดีหมี ตับปลา
- แร่ธาตุ เช่น ดินขาว ดีเกลือ
แบ่งตามการออกฤทธิ์
เช่น ยาแก้ปวดลดไข้ ยาแก้แพ้ ยาฆ่าเชื้อรา ยาปฏิชีวนะ ยาต้านการอักเสบ ยาโรคหัวใจและหลอดเลือด ฯลฯ
แบ่งตามพระราชบัญญัติยา
1. ยาแผนปัจจุบัน
2. ยาแผนโบราณ
3. ยาอันตราย
4. ยาควบคุมพิเศษ
5. ยาสามัญประจำบ้าน
6. ยาสมุนไพร
7. ยาบรรจุเสร็จ
แบ่งตามรูปแบบ
- รูปแบบแข็ง
ได้แก่ ยาเม็ด ยาแคปซูล ยาอม ยาอมใต้ลิ้น ยาผง ยาเหน็บ
- รูปแบบของเหลว
ได้แก่ ยาน้ำใส ยาน้ำแขวนตะกอน ยาอีมัลชั่น ยาโลชั่น ยาน้ำเชื่อม ยาทิงเจอร์ ยาทาถูนวด
- รูปแบบอื่นๆ
ได้แก่ ขี้ผึ้ง ครีม ยาพ่น ยาดม ยาฉีด
เนื่องจากยามีหลายรูปแบบ ก่อนใช้จึงต้องศึกษาวิธีใช้ให้ถูกต้องเสียก่อน
วิธีการใช้ยา
แบ่งเป็น 3 พวกใหญ่ๆ
1. วิธีให้ยาโดยผ่านระบบทางเดินอาหาร
ก. การกิน
ข. การเหน็บทางทวารหนัก
2. วิธีฉีด
ก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
ข. ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง
ค. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
ง. ฉีดเข้าหลอดเลือดแดง
3. วิธีอื่นๆ
ก. การสูดดมและการพ่น
ข. การอมใต้ลิ้น
ค. การทาเฉพาะที่
ง. การเหน็บทางช่องคลอด
จ. การให้ยาโดยวิธีพิเศษ
เปรียบเทียบยากิน – ยาฉีด
- ยากิน
ข้อดี
1. สะดวก
2. ปลอดภัย เพราะพิษยาบางส่วนถูกทำลายโดยตับ
3. ประหยัด
4. ถ้าคนใช้แพ้ยา อาการจะไม่รุนแรง
ข้อเสีย
1. ยาอาจระคายเคืองกระเพาะ
2. ยาอาจถูกทำลายโดยกรดในกระเพาะ
3. ยาอาจถูกรบกวนการดูดซึมโดยอาหารในกระเพาะ
4. ใช้ไม่ได้กับผู้ป่วยที่หมดสติ หรืออาเจียน
- ยาฉีด
ข้อดี
1. ออกฤทธิ์เร็ว
2. ใช้ได้ในผู้ป่วยหมดสติ อาเจียน หรืออาการหนัก
3. ใช้ได้ในยาที่ไม่ดูดซึม หรือยาที่ถูกทำลายโดยกรดในกระเพาะ
ข้อเสีย
1. ถ้าฉีดเร็ว จะมีอันตรายต่อระบบหมุนเวียนโลหิต
2. ถ้าแพ้ยา มักเกิดอาการรุนแรงถึงตายได้
3. ถ้าเครื่องมือและเข็มไม่สะอาด จะเกิดแผลติดเชื้อ (ฝีหัวเข็ม)
4. ถ้าฉีดไม่ชำนาญ อาจทำลายเส้นประสาททำให้เป็นอัมพาต
5. ค่าใช้จ่ายแพง ยุ่งยาก
6. คนไข้เจ็บตัว
- อ่าน 94,017 ครั้ง
- พิมพ์หน้านี้