• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

ยาแก้ปวดที่ปวดหัวใจ

ยาแก้ปวดที่ปวดหัวใจ



เมื่อต้นเดือนมกราคา 2526 ที่ผ่านมานี้ ท่านผู้อ่านทุกท่านคงได้เห็นข่าวดังกล่าวจากหน้าหนังสือพิมพ์เกือบทุกฉบับเกี่ยวกับยาแก้ปวดที่มีส่วนของยา 3 ชนิดในเม็ดเดียวกันหรือเรียกว่ายาสูตร เอ.พี.ซี. ยาแก้ปวดดังกล่าว ประชาชนจำนวนมาก(โดยเฉพาะชาวชนบท ) กินจนกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตไปเสียแล้ว

ยาแก้ปวดสูตร เอ.พี.ซี. มีเกือบ 200 ยี่ห้อ แต่ “ทัมใจ”เป็นชื่อหนึ่งที่โด่งดังและติดปากประชาชนมากที่สุด จนเมื่อพูดถึงชื่อนี้ก็หมายถึง ยาสูตร เอ.พี.ซี. ( หากพูดถึงยาแก้ปวดว่ายาสูตรแก้ปวด เอ.พี.ซี. แล้วชาวบ้านก็จะไม่รู้ว่าหมายถึงยาอะไรด้วยซ้ำ )เช่นเดียวกับผงซักฟอก และผ้าอนามัยยี่ห้อหนึ่งที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากกันจนเป็นตัวแทนของผงซักฟอกหรือผ้าอนามัยไป
ยาแก้ปวดที่มีตัวยา 3 ชนิด ( แอสไพริน ฟีนาเซติน และคาเฟอีน ) ผสมกันอยู่ในเม็ดเดียวกันที่เราพบเห็นได้บ่อยๆคือ ทัมใจ ,บวดหาย ,ประสระบอแรด ,ยาตราหัวสิงห์( น่ำก๊ก), ยาตราไก่ , เอ.เอน.ที,
ไวคุล, ปวดบูรา ไฮเป็กซ์ , ยาจี๋ทองสาน( ตราเสือ ), ยาเม็ดสีชมพู , และยังมีอื่นๆอีกดังนี้

 

คลอร์ไพลิน                     คาซิดิน                       โคพันริน                   โคไมดิน-ฟี
โคลวิน เอส
                     คลอร์ฟาร์ แคป              แคสปา โคซิลิน           
โคนาไมนี
โคริซิดิน
                        คลอร์ซาล                     โคซิน                       
โคดาริน-เอ
โครีซีแคป
                      โคลาดินเอฟ                  คอม-โคลด์โค              
โคซินดี
 โคฮิสติน
                       โควิน                           โคล์ดซิน         คอร์มีตันคอร์วอร์ซิน
 
โคริน                           โคล์ดพัยริน                    โคฮิสต์ต้า                        โคลดิซิน 

คอลลู
                           โคโมพริน                      โคไมดิน                    โคลดิซิน 
โคนาริน                       ซัลลีเต้                           โนโคเม็ด                    ฟัยโวแคป
       
สตานซิดีน
 เอฟ                   อาร์-วีลอน                       ดีโคลิน                           บอมกิม
มาวิน
                           อะลินเพน                        เอ.พี.ซี                      ถ้วยทอง  
บูราซิดิน                       มิกซ์-โค                          อะนัลลิน               เอเอ็นโอ
  
ทรามาซิดิน            ( ยาผง)ปัจจุบันโอสถ                 เมดลาย                    อะเซ็ตติดีน
       
เอ.พี.ซี.แท็บ                      เทมโป                        พอนด์ซิริน              โมโนพีซีซี
      
อะไมนา                          เอ.พี.โค                      เทาเทียน ซุ่น         พอนด์พัยริน
   
โมโน พีซี                      อะไมนา                               แคป เอ-ซิน          เทกซ์พัยริน
       
พาซิดีน เอส                   เมทรอกซิดิน                        อะมัวรีน           เอ.เอน.ที
          
ไทโอซิน                       ตรากลอง                              พาราฮิลต์            ราโคจิน
   
อเซททิดีน                            ออร์เน็กซ์                       เอสไว                    โทมีดีน
   
พาซิดิน                           ลีพาดีน                        ออร์เน็กซ์              เอ็กโพโคลัด
     
นานา                           ไพโคดิน เอน                  ลา เอดส เอฟ          อัฟโก-ฮิลต์
  
แอคโตแพน แทบ               ฮาร์                           นัป-ที-จิน                 ฟอสซี-
420       
ไวยอส                            อาร์ควัน                    แอคโตเฟ็น           นีโอ-คาโฟแทน
    
ฟูลล์ แคปส                    วี.เดย์พัยริน                 อาร์ค แคปซูล            แอคโต-เฟ็น-เอฟ
   
ซาลาไพริน                        ซากิ                      ซาลาไพริน                ซาลิไซดีน
   
ซาลิแคป                         ซันพัยริน                     ซันโย                แอมมิ
16   
แอสโค แทบ                       แอนทัน                  แอส-ซิน                   แอสพาโค
          
แอพซิน                          แอสคอคแคป             แอนฮิลตา                  แอสโคริน
  
ฮาร์                                ฮิสตาคอน                ฮิสซูริออน

 

 

ยาสูตร เอ.พี.ซี. ( A.P.C.) คือยาที่มีส่วนผสมของยา 3 ชนิดอยู่ในเม็ดเดียวกันดังนี้
**มียาแอสไพลิน( Aspirin ) หรือ อะเซททาลิน ซาลิไซลิค แอซิค ( Acetyl Salicylic Acid ) ย่อเป็นตัว A (เอ )
**ยาฟีนาเตซิน ( Phenacetin )หรือ อะซิโทเฟนนีทิดิน ( Acetophenetidin ) ย่อเป็นตัว P (พี )
**คาเฟอีน( Caffeine ) ย่อเป็นตัว C ( ซี )

สรรพคุณของยาทั้ง 3 ตัวข้างต้นคร่าวๆคือ
⇔ แอสไพลิน
ฤทธิ์ :
เป็นยาแก้ปวดลดไข้ที่ดี ถ้ากินถูกวิธี ราคาก็ถูก วิธีใช้ ใช้เมื่อมีอาการ กินหลังอาการทันทีหรือกินน้ำ
ตามมากๆ
หมายเหตุ :
ถ้าใช้ไม่ถูกวิธี และใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้ระบบทางเดินอาหารเกิดระคายเคือง ทำให้กระเพาะเป็นแผล และทะลุได้ ถ้าใช้มากๆจะทำให้มึนงง เกิดเสียงอื้อในหู เหงื่อออก คลื่นไส้ อาเจียน จิตใจไม่ปกติ หายใจหอบ ฯลฯ

 

 

⇔ ฟีนาเตซิน
ฤทธิ์ :
เป็นยาแก้ปวดลดไข้ แต่มีสรรพคุณอ่อนกว่าแอสไพลินและพาราเซตามอล
หมายเหตุ :
กินไปนานๆมีผลทำให้อาการเคลิบเคลิ้ม จะทำให้ติด ใช้มากๆหรือติดต่อกันเป็นเวลานานๆจะมีพิษทำให้เม็ดเลือดแตก โลหิตจาง เกิดผื่นตามผิวหนัง คลื่นไส้อาเจียน ระบบทางเดินปัสสาวะผิดปกติ ไตพิการ


⇔ คาเฟอีน
ฤทธิ์ :
กระตุ้นประสาท ไม่มีผลในการช่วยบรรเทาปวดลดไข้
หมายเหตุ :
มีผลกระตุ้นประสาททำให้รู้สึกไม่ง่วง กินติดต่อกันนานๆจะทำให้ติด ถ้ากินมากๆทำให้นอนไม่หลับ ตื่นเต้น กระสับกระส่าย กล้ามเนื้อสั่น ใจสั่น คลื่นไส้

นอกจากนี้ยังมียาแก้ปวดที่ใช้ยา 3 ชนิดผสมกันในเม็ดเดียวกันอีก โดยใช้แอสไพลิน พาราเซตามอล และคาเฟอีนดังนี้
ดาก้า , ดีไพลิน, ซินฟัยริน, ออร์เน็กซ์ , เอ็กซีดริน, นิว เอ.เอ็น.ที ,รานา ,และไฮรีซิน

สรรพคุณของพาราเซตามอล( Paracetamol)
ฤทธิ์ :
เป็นยาแก้ปวดลดไข้ แต่มีสรรพคุณอ่อนกว่าแอสไพลิน
หมายเหตุ :
ถ้าใช้นานๆหรือมากๆจะเป็นพิษต่อตับ และไตอักเสบได้

จะเห็นว่า การแก้ปวดลดไข้ที่ดีที่สุด ควรใช้ยาเดี่ยวๆคือ ยาแอสไพลิน (สำหรับคนที่ไม่เป็นโรคกระเพาะ) หรือ พาราเซตามอล ( สำหรับคนที่ไม่เป็นโรคตับ ) โดยกินเมื่อมีอาการเท่านั้นและกินให้ถูกวิธี.

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

 

ข้อมูลสื่อ

46-001
นิตยสารหมอชาวบ้าน 46
มีนาคม 2526
สกูปพิเศษ