• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

กินอย่างไรจึงจะไม่เจ็บป่วย

กินอย่างไรจึงจะไม่เจ็บป่วย


สุขภาพที่ดีเป็นสมบัติอันล้ำค่าของชีวิต......เพราะเมื่อเจ็บป่วยแล้วมีแต่เสียตลอดรายการ คือ เสียเงินทอง เสียเวลา เสียสุขภาพ และเสียความสุข ถ้าท่านปฏิบัติดังต่อไปนี้ สุขภาพของท่านจะดีขึ้นมากจนท่านสังเกตได้และท่านอาจจะไม่เจ็บป่วยเลย

มนุษย์เราแปลกมาก บางครั้งรักษาบำรุงของสิ่งไม่มีชีวิตมากกว่ารักษาบำรุงร่างกายของเรา......
ถ้าเรามีรถคันใหม่สักคันหนึ่งเราคงจะเลือกใช้น้ำมันเครื่องที่เราคิดว่าที่ดีที่สุดกับรถของเรา แต่เวลาให้อาหารสำหรับร่างกายของเราเอง เรามักไม่ค่อยคำนึงถึงว่าจะกินอาหารอะไรจึงจะดีที่สุดและมีคุณภาพที่สุดถ้าร่างกายของเราไม่ได้รับอาหารที่มีคุณภาพ ร่างกายก็จะทรุดโทรมเร็วขึ้นเหมือนกับรถยนต์ที่ไม่ได้น้ำมันถูกต้องตามที่คู่มือระบุไว้ เรามักจะบ่นว่าอ่อนเพลียไม่มีแรงทำงาน เจ็บป่วยบ่อยๆเราลืมคิดถึงสาเหตุของการเกิดโรคต่างๆอาจจะเป็นเพราะการกินอาหารไม่ถูกต้อง

อาหารที่ถูกสุขศึกษานั้นเราไม่จำเป็นต้องซื้ออาหารแพงๆหรือวิตามินมากิน เพียงแต่เราปฏิบัติตามกฎ 10 ข้อ ดังต่อไปนี้คือ
1.กินอาหารหลายๆชนิดหมุนเวียนกันไปทุกวัน
2.กินอาหารให้เพียงพอ ไม่มากไม่น้อยไป
3.กินอาหารที่เป็นธรรมชาติดัดแปลงแต่น้อย
4.กินเป็นเวลา ไม่กินจุบจิบ ไม่กินระหว่างมื้อ
5.กินอาหารเช้าให้มาก และหนักที่สุด ส่วนมื้อเย็นกินน้อยๆและเบาๆ
6.กินช้าๆเคี้ยวให้ละเอียด
7.ควรกินอย่างฉลาด หลีกเลี่ยงอาหารที่ปลอมปนและเป็นพิษเป็นภัยต่อร่างกาย
8.ดื่มน้ำสะอากอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว
9.ไม่บริโภคสิ่งเสพติด
10.เวลากินข้าวระวังอย่าให้ตึงเครียด อารมณ์เสีย หรือเหนื่อยมากเกินไป


1.กินอาหารหลายๆชนิดหมุนเวียนกันไปทุกวัน
เราจะได้อาหารที่มีคุณภาพจากทุกหมู่ แต่ไม่ควรกินกับข้างหลายอย่างเกินไปในแต่ละมื้อ เพราะถ้าหลายอย่างเกินไปจะเสี่ยงต่อการที่อาหารไม่เข้ากันและย่อยยาก เพียง 2-4 อย่างต่อมื้อก็พอ
อาหารแบบง่ายๆเป็น 5 หมู่ได้ดังนี้ 1.ข้าว แป้ง เผือก มัน ( คาร์โบไฮเดรท) 2. ถั่งเมล็ดต่างๆ นม ไข่ เนื้อ ปลา ( โปรตีน ) 3. ผักต่างๆ 4. ผลไม้ต่างๆ 5.ไขมันและน้ำมันต่างๆ
ถ้าเราขาดอาหารหมู่ใดหมู่หนึ่งเราก็จะเป็นโรคขาดอาหาร จะทำให้เราเจ็บป่วยง่ายขึ้น ดังนั้น เราจึงไม่ควรเน้นหนักในการบริโภคอาหารหมู่ใดหมู่หนึ่งมากนัก เพราะอาหารทุกหมู่มีความสำคัญต่อร่างกาย
ถ้าเราเน้นหนักอาหารโปรตีนหรือไขมันมากๆก็จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่ถ้าเราไม่ชอบกินเนื้อสัตว์ หรือเราไม่มีเงินมากพอที่จะซื้อเนื้อสัตว์ราคาแพงๆมากินเราก็สามารถทดแทนได้ด้วยการกินถั่วเหลืองหรือถั่วเมล็ดต่างๆ ( ถ้าเรากินข้าวกับถั่วเหลืองหรือถั่วเมล็ดต่างๆคุณค่าของโปรตีนที่ได้จะเท่ากับเนื้อสัตว์แต่ราคาถูกกว่ามาก )

ไขมัน เป็นสิ่งจำเป็นต่อร่างกายแต่ถ้าเรากินในปริมาณที่มากเกินไปก็จะเป็นโทษ ถ้าเรากินอาหารธรรมชาติ ไม่ค่อยดัดแปลง เราก็ไม่ต้องห่วงว่าจะขาดไขมัน เพราะมีไขมันในอาหารธรรมชาติเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายอยู่แล้ว เช่น ข้าวโพด มะพร้าว ถั่ว และข้าวกล้อง เป็นต้น
เราควรหลีกเลี่ยงหรือลดอาหารที่มีไขมันมาก เพราะจะทำให้โครเลสเตอรอล หรือไขมันในเส้นเลือดสูงและทำให้เป็นโรคหัวใจวายง่ายขึ้น และเส้นเลือดในสมองแตก ตีบ ตัน ทำให้เป็นอัมพาต อาหารที่มีไขมันมากก็คือ อาหารที่ทอดหรืออาหารที่ใช้น้ำมันมากๆหรือเนื้อสัตว์ต่างๆ

ปัจจุบันรัฐบาลอเมริกันกำลังรณรงค์ให้ประชาชนกินเนื้อสัตว์น้อยลง และกินพืชผักมากขึ้น และแนะนำให้กินเนื้อสัตว์ที่ไขมันน้อยกว่า เช่น เป็ด ไก่ และ ปลา เพราะประชาชนตายด้วยโรคหัวใจวาย และเส้นเลือดในสมองตีบและแตกปีละประมาณหนึ่งล้านคน (ไม่ควรกินไข่มากนัก ประมาณ 4-7 ฟองต่ออาทิตย์ก็พอ เพราะไข่มีโครเลสเตอรอลสูง

 

2.กินอาหารให้เพียงพอ
ถ้ากินอาหารน้อยไปก็จะเป็นโรคขาดอาหาร ผอม ร่างกายไม่แข็งแรง แต่เราก็ไม่ควรกินอาหารมากเกินไป จะทำให้อ้วนและคนอ้วนก็จะขี้โรค เราควรมีน้ำหนักที่อยู่ในเกณฑ์ปกติ ไม่อ้วนไม่ผอม จึงจะแข็งแรง การกินอาหารมากเกินไป ก็จะมีผลเสียเช่นเดียวกับการกินน้อยเกินไปหรือขาดอาหาร
เวลากินอาหารอย่ากินจนอิ่มแปล้ หรือกินจนรู้สึกอิ่มมากเพราะนั้นหมายถึงว่าเรากินอาหารมากเกินไปแล้ว

 

3.เราควรกินอาหารที่เป็นธรรมชาติ
หมายถึงอาหารที่ไม่ค่อยผ่านการดัดแปลง และไม่จำเป็นต้องซื้ออาหารที่แพงๆ เพราะอาหารที่มีคุณภาพส่วนมากไม่แพง เราควรกินอาหารง่ายๆไม่ต้องดัดแปลงหรือใช้เวลามาปรุงและหุงต้มมากเพราะทุกครั้งที่ต้องใช้เวลามากมาดัดแปลงเปลี่ยนแปลงอาหาร จะทำให้คุณภาพของอาหารเสื่อมไป
อาหารธรรมชาติทีกากมากกว่าอาหารดัดแปลง เช่น ข้าวกล้องมีกากมากกว่าข้าวขาว 2 เท่าในผักและผลไม้มีกากมากกว่า จะช่วยไม่ให้ท้องผูกป้องกันริดสีดวงทวาร โรคมะเร็งในลำไส้ใหญ่ และลดความอ้วนในคนที่อ้วนด้วย

ข้างกล้อง (ข้างซ้อมมือ หรือ ข้าวที่ไม่ได้ขัดสีจนขาว)เป็นอาหารธรรมชาติมีวิตามิน เกลือแร่ ไขมัน กาก และโปรตีนมากกว่าข้าวขาวมาก ดังนั้นเราควรกินข้างกล้องเป็นประจำความอร่อยขึ้นอยู่กับความเคยชิน นิสัยความเคยชินเปลี่ยนแปลงได้(แต่ต้องงัดข้อกันหน่อย )
อาหารที่ใส่เครื่องปรุงรสจัดๆ เช่น พริกหรือพริกไทยมากๆจะทำให้มีแผลในกระเพาะอาหารได้ คนไทย 10 คน จะเป็นโรคกระเพาะอาหาร 1 คน ที่เป็นกันมากเพราะอาหาร ยาและความเครียด เรามักชอบกินอาหารรสจัด กินไม่เป็นเวลา และใช้ยากันผิดๆซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะ
อาหารเค็มจัด จะทำให้ไตทำงานหนักและจะเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้

อาห   
อาหาอาหารตามธรรมชาติ                        

 

อาห    
           อาหารไม่ตามธรรมชาติ

 

1. ข้าวกล้อง( ข้าวแดงหรือข้าว

    ซ้อมมือหรือข้าวขาวที่ขัดสีน้อยครั้ง

 

 

1.ข้าวขาว ( ข้าวขาวที่ขัดสีจนขาว)

   ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน

 

2.ผักหรือผลไม้

 

2.ผักหรือผลไม้ดองหรือกวน

 

 

3.น้ำผลไม้สด

 

3.น้ำหวาน น้ำอัดลม

 

 

4.อาหารสด

 

4.อาหารกระป๋อง

 

 

5.มะนาว

 

5.น้ำส้มสายชู

 

 

6.อาหารรสธรรมชาติ

 

6.อาหารรสเผ็ดจัด เค็มจัด หวานจัด

 

 

7.ขนมปังที่ทำจนแห้งที่ไม่ได้ขัดสีจนขาว

 

7.ขนมปังขาว

 

 

8.นมสดชนิดจืด

 

8.นมสดชนิดหวานรสต่างๆ นมข้นหวานและนมเปรี้ยว

 

 

9.ถั่วต่างๆต้มหรือคั่ว เช่น ถั่วลิสง ฯลฯ

 

9.ถั่วต่างๆทอดหรือเคลือบน้ำตาล

 

 

10.วิตามินซีจากส้ม มะนาวและผลไม้ วิตามินเอ จากฟักทอง มะละกอสุก มันเทศ

 

10.ยาวิตามินซี ยาวิตามินเอ

 

 

เราควรหลีกเลี่ยงอาหารไร้ประโยชน์ (Junk Food ) เช่น ลูกกวาด ท้อฟฟี่ ชอคโกแลต ขนมปังหวาน หรือ ขนมหวาน เค้ก ไอศกรีม น้ำหวาน น้ำอัดลม และนมข้นหวาน
ถ้าเราอยากกินของหวานๆให้เรากินผลไม้ที่หวานๆดีกว่า เพราะผลไม้มีคุณค่าทางอาหารสูง หรือเลือกของหวานที่มีประโยชน์ เช่น กล้วยบวชชี ถั่วดำหรือถั่วต่างๆ ลูกเดือยและขนมอื่นๆที่ดัดแปลงไม่มาก แต่พยายามลดน้ำตาลอย่าให้หวานจัดนัก

อาหารไร้ประโยชน์ (Junk Food ) เป็นอาหารที่ไม่ค่อยมีคุณค่าทางโภชนาการ ( Empty Calories ) ดังนั้นเราจึงไม่ควรกินเป็นประจำทุกวัน จะทำให้เป็นโรคขาดอาหาร
ปัจจุบันนักโภชนาการและผู้ปกครองนักเรียนในต่างประเทศ เช่น อเมริกาและออสเตรเลีย กำลังรณรงค์ห้ามไม่ให้ขายอาหารไร้ประโยชน์(Junk Food ) ในโรงเรียนต่างๆเพราะนักเรียนต้องเสียเงินซื้อของที่ไร้ประโยชน์และไม่จำเป็นแต่กลับมีโทษด้วย

ถ้ากินขนมหรือน้ำตาลมากๆ( อาหารไร้ประโยชน์) จะทำให้
1.ฟันผุ 2.เป็นโรคเบาหวาน 3.อ้วน 4.ภูมิต้านทานโรคต่ำลง 5.ไขมันในเลือดสูงเกินอาจทำให้เป็นโรคหัวใจ 6.ทำให้รู้สึกอิ่ม และข้อเสียคือทำให้กินอาหารที่มีประโยชน์กว่าได้น้อยลง

   

4.เราควรกินอาหารเป็นเวลาทุกมื้อทุกวัน
ควรกินอาหารเป็นเวลาและไม่กินเร็วหรือช้ากว่าปกติเกิน 1 ชั่วโมง เพราะเมื่อถึงเวลาที่เราเคยกินกระเพาะก็จะเตรียมขับน้ำย่อยออกมาย่อยอาหาร แต่ถ้าไม่มีอาหารให้ย่อย น้ำย่อยก็จะย่อยกระเพาะทำให้เป็นโรคกระเพาะ จะสังเกตได้ว่า ถ้าปล่อยให้หิวมากจะรู้สึกปวดท้อง แต่ถ้ากินก่อนเวลา 1-2 ชั่วโมง กระเพาะของเราย่อยอาหารมื้อก่อนยังไม่หมดต้องมาย่อยอาหารใหม่อีก ทำให้ไม่ได้พักผ่อนเลย

เราควรกินอาหารเป็นเวลาไม่ควรกินจุบจิบระหว่างมื้อ หรือกินอาหารว่างนอกเวลา วันหนึ่งๆไม่ควรกินอหารมากกว่า 3 มื้อ เช่น เช้า เที่ยง เย็น และให้ห่างกันประมาณ 5-6 ชั่วโมงกลางคืนไม่ควรกินอะไรยกเว้นน้ำเปล่า การกินอะไรก็ตามแม้เพียงเล็กน้อย เช่น เคี้ยวถั่วสักหนึ่งเม็ดหรือกินขนมสักชิ้นนอกเวลากินข้าว ก็นับว่าเป็นการกินจุบจิบแล้ว
ถ้าเราอยากกินขนมหรือผลไม้ของขบเคี้ยว ให้กินเมื่อถึงเวลากินข้าวเป็นมื้อๆไปเพราะการกินจุบจิบทั้งวัน จะทำให้ฟันผุ เบื่ออาหาร และกระเพาะอาหารไม่ได้พักผ่อนจะทำให้เป็นโรคกระเพาะง่ายกว่า

 

5.โปรดอย่าลืมกินอาหารมื้อเช้า
มื้อเช้าเป็นมื้อที่สำคัญที่สุด ส่วนมากเราจะปฏิบัติในทางตรงกันข้ามโดยกินมื้อเช้าเบาๆหรือไม่กินเลยแต่กลับกินมื้อเย็นหนักสุด
คนที่ไม่กินอาหารเช้าจะมีน้ำตาลในเลือดต่ำลง ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานต่ำลง และมีหลักฐานว่ากลุ่มคนที่ไม่กินอาหารมื้อเช้า จะทำงานผิดพลาดและประสบอุบัติเหตุต่างๆง่ายกว่า
เหตุผลที่มื้อเย็นต้องกินเบาๆ เช่น พวกผลไม้ก็เพราะว่ากลางคืนเราไม่ได้ทำงาน ไม่จำเป็นต้องใช้พลังงานมากมาย ดังนั้นพลังงานที่เหลือมักจะพอกพูนในรูปของไขมันทำให้อ้วนลงพุง ถ้ากินมื้อเย็นหนักและดึกเกินไปจะทำให้กระเพาะยังทำงานในขณะที่เราต้องการพักผ่อน จะทำให้ไม่ค่อยสบายและไม่ได้พักผ่อนเต็มที่ (คนที่ทำงานกลางคืนและนอนกลางวัน ก็ต้องนำหลักเกณฑ์นี้ไปดัดแปลงด้วย )

 

6.กินช้าๆเคี้ยวให้ละเอียด
ถ้ากินเร็วเกินไป เราจะไม่ได้รับประโยชน์เต็มที่จากอาหารที่กินเข้าไป เพราะสารบางอย่างต้องย่อยในปากก่อน ไม่ควรกินข้าวต้ม หรืออาหารเหลวหรือน้ำแกงบ่อยเกินไปเพราะอาหารเหล่านี้มีน้ำมากและทำให้เราไม่ค่อยได้เคี้ยวและอิ่มเร็วเราก็จะไม่ได้รับคุณค่าทางอาหารเพียงพอ
กินอาหารน้อยหน่อย แต่เคี้ยวให้ละเอียด ดีกว่ากินมากๆและรีบๆกลืนโดยไม่ต้องเคี้ยว ความพึงพอใจในรสอาหารไม่ได้อยู่ที่ปริมาณของอาหารที่กลืนเข้าไป แต่อยู่ที่ระยะเวลาของอาหารที่อยู่ในปาก คือ ถ้าเราเคี้ยวช้าๆเราก็จะได้สัมผัสกับรสอาหารที่แท้จริง

ไม่ควรกินอาหารเย็นๆ ทุกมื้อเพราะจะทำให้ร่างกายต้องเสียพลังงานไป ทำให้อุ่นก่อนจึงจะย่อยได้ดี อาหารที่กินควรจะอุ่นหรือกินทันทีที่ปรุงเสร็จใหม่ๆ(อาหารร้อนจัดก็ไม่ดี )พยายามหลีกเลี่ยงน้ำแข็งหรือน้ำเย็นขณะกินอาหาร


7.นักกินหรือนักบริโภคที่ฉลาดควรระวัง
ควรระวังอาหารปลอมปน อาหารที่มียาฆ่าแมลงและสารเคมีที่เป็นพิษเป็นภัยต่อร่างกาย เช่น สารกันบูด ดินประสิว (ไนเตรท ) ในไส้กรอก เนื้อเค็ม และเนื้อสวรรค์ อาหารที่ใส่ดินประสิวมากๆจะทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ สารบอแรกซ์ในลูกชิ้นเด้ง หรือปาท่องโก๋ สารตะกั่ว จะพบในอาหารที่ห่อด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ หรือพลาสติคสีๆ และภาชนะเคลือบที่มีสีสันสดๆบางชนิด สีย้อมผ้าที่ใส่ในขนมหรืออาหารที่มีสีสดๆ หลีกเลี่ยงเครื่องชูรสบางชนิด โลหะหนัก เช่น สารปรอทจะพบมากในปลาน้ำจืดหรืออาหารทะเลที่อยู่ในน้ำที่มีการถ่ายเทสารปรอท ( น้ำเสียจากโรงงาน )

นักกินที่ดี ควรเลือกอาหารที่ยังไม่หมดอายุ ยังไม่เสีย ไม่มีเชื้อรา และสะอาดปราศจากเชื้อโรค ขี้ฝุ่น หรือแมลงวันตอม ควรปรุงเนื้อสัตว์ ปลาและอาหารทะเลให้สุกก่อนกิน อย่าตามปากโดยกินสุกๆดิบๆเพราะมีเชื้อโรคและพยาธิถ้ากินผิดอาจถึงแก่ชีวิต หรือเจ็บป่วย หรือตายผ่อนส่งได้

 

8.ดื่มน้ำสะอากอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว
ร่างกายของเราประกอบด้วยน้ำประมาณร้อยละ 70
ถ้าร่างกายขาดน้ำไตก็จะต้องทำงานหนักและเสียเร็วขึ้น เราอาจจะเป็นโรคท้องผูก ปวดหัว ปวดหลัง น้ำจะควบคุมอุณหภูมิของร่างกายทำให้เลือดหมุนเวียนดีและช่วยขับถ่ายสิ่งสกปรกออกจากร่างกาย
ไม่ควรรอจนกระหายน้ำแล้วค่อยดื่มน้ำ ถ้าปัสสาวะมีสีเหลืองเข้มแสดงว่าดื่มน้ำไม่พอ
เวลากินอาหารไม่ควรดื่มน้ำมากๆเพราะจะทำให้น้ำย่อยจางลงและทำให้ระบบการย่อยไม่ค่อยดีนักถ้าหิวน้ำระหว่างกินอาหารควรกินผลไม้แทน

 

9.ไม่บริโภคสิ่งเสพติด
ต้องรู้จักประมาณตน และควบคุมตนให้ปฏิบัติตามกฎแห่งสุขภาพที่ถูกต้อง เราไม่ควรบริโภคสิ่งเสพติดต่างๆต่อไปนี้ เพราะไม่มีประโยชน์ แต่กลับเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น
1. เหล้าและเบียร์
2.ยาเสพติด ( รวมทั้งยานอนหลับ ยาม้า ยาขยัน และกัญชา )
3.บุหรี่
4.เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชา โอเลี้ยง โคล่า ยาชูกำลังต่างๆ( ยาแก้ปวดเป็นผงเป็นเม็ดหรือเป็นซองๆก็มีคาเฟอีนด้วย จึงไม่ควรจะกินบ่อยๆจะติดได้ )

คาเฟอีนให้โทษต่อร่างกายคือ
1.ความดันสูง หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ หัวใจสั่น
2.ไขมัน (โคลเลสเตอรอล) และน้ำตาลในเลือดสูง
3.อาจเป็นมะเร็งในตับอ่อน (ถ้าดื่มกาแฟทุกๆวัน )
4. แผลในกระเพาะอาหาร
5.นอนไม่หลับ ปวดหัว
6.ตึงเครียด มือสั่น หงุดหงิด
สิ่งเสพติดดังกล่าว มีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและจะทำให้เราติดและมักเลิกได้ยาก เพราะฉะนั้นเราไม่ควรแตะต้องเลย

บางท่านอาจกล่าวว่า ถ้าบริโภคสิ่งเสพติดดังกล่าวเพียงเล็กน้อยคงไม่เป็นไร
แต่ปัญหาไม่ใช่ง่ายๆแค่นี้ ถ้าเราไม่แตะต้องสิ่งเหล่านี้ เราก็ไม่มีโอกาสติดสิ่งเสพติดเหล่านี้
ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันว่าประชาการทั่วโลกหลายสิบล้านคนเป็นทาสของสิ่งเสพติด และเมื่อติดแล้วจะเลิกหรืองดได้ยากจริงๆ ดังนั้นเราควรตัดไฟเสียแต่ต้นลม โดยไม่แตะต้องเสียเลยดีกว่า

 

10. ขณะกินอหารไม่ควรขบคิดปัญหาหนักๆโต้เถียงหรือตึงเครียด อารมณ์เสีย
ความพยายามทำตนให้มีความสุขและมีอารมณ์ดี ถ้าเราตึงเครียดหรืออารมณ์เสีย ทำให้ระบบการย่อยผิดปกติ และน้ำย่อยจะออกมามาก ทำให้มีแผลในกระเพาะอาหาร
เวลากินข้าวควรมีเวลามากพอไม่ควรเร่งรีบนัก แต่ถ้าวันไหนเร่งรีบ ก็กินให้น้อยลงเพราะถ้ากินมากๆแต่ไม่ได้เคี้ยวให้ละเอียดสู้กินน้อยหน่อย แต่เคี้ยวให้ละเอียดไม่ได้
ถ้าเราเหนื่อยมากจากงานหนักหรือการออกกำลังกาย ควรพักผ่อนครึ่งชั่วโมงจึงค่อยกินอาหารไม่ควรอ่านตำราเรียนหรือใช้สมองมากนักขณะกินอาหาร เพราะร่างกายต้องแบ่งพลังไปเลี้ยงสมอง จึงมีพลังมาย่อยอาหารไม่พอ ในทำนองเดียวกันถ้าเราอ่านหรือท่องตำรา และใช้สมองขณะกินข้าวสมองก็จะทำงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ จะได้ผลเสียมากกว่าหลังกินอาหารไม่ควรอ่านตำราหรือทำงานหนักหรือออกกำลังกายหนักๆทันที

โปรดอย่าลืมว่าร่างกายจะแข็งแรงได้ ไม่ใช่อยู่ที่การกินถูกหลักแต่เพียงอย่างเดียวเราต้องปฏิบัติตามกฎแห่งสุขภาพข้ออื่นๆด้วย เช่น ออกกำลังกายทุกวัน พักผ่อนให้เพียงพอ และดำเนินชีวิตให้มีสุขภาพจิตที่ดีด้วย


สรุปแล้ว
ถ้าเรากินถูกหลัก เราก็จะมีสุขภาพร่างกายดีขึ้นมาก ถ้าสุขภาพกายดี สุขภาพจิตและสติปัญญาจะดีตามด้วย เมื่อเราไม่เจ็บป่วยเราก็ไม่ต้องเสียเงิน เสียเวลาและเสียความสุข
เมื่อท่านได้อ่านบทความนี้จนจบแล้ว ท่านจะรู้สึกว่ามีหลายอย่างที่ต้องปรับปรุงแก้ไขให้กินถูกหลัก
แต่บางท่านอาจจะคิดว่าท่านเคยชินกับนิสัยการกินเดิม คงแก้ไม่ได้แล้ว
โปรดอย่าท้อถอย เพราะนิสัยการกินเปลี่ยนแปลงได้เสมอ แต่ให้ค่อยๆเปลี่ยน เข่น เคยกินแต่อาหารไร้ประโยชน์ (Junk Food ) ทุกวันก็ค่อยๆลดปริมาณลง

ถ้าชอบรส หวานจัด เผ็ดจัด และเค็มจัด ก็ให้กินเผ็ด เค็ม หวานน้อยลงเรื่อยๆ นิสัยการกินไม่อาจเปลี่ยนภายในหนึ่งคืนได้ต้องค่อยๆปฏิรูป.

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

ข้อมูลสื่อ

46-003
นิตยสารหมอชาวบ้าน 46
กุมภาพันธ์ 2526
บทความพิเศษ
นพ.โชติช่วง ชุตินธร