• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

โอพีดี

โอพีดี

 

แพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ในสถานบริการสาธารณสุข จะมีการใช้ภาษาที่เข้าใจในหมู่หมอด้วยกันเอง หากได้ทำความรู้จัก “ภาษาหมอ” ก็จะทำให้เราสื่อสารกับหมอได้ดียิ่งขึ้น คอลัมน์นี้จึงขอแนะนำ “ภาษาหมอ” เดือนละคำสองคำ 

มาจากคำภาษาอังกฤษว่า OPD ซี่งย่อมาจากคำว่า “Out-Patient-Department” (out-patient ผู้ป่วยนอก, department แผนก ,ตึก )  หมายถึง แผนกหรือห้องตรวจผู้ป่วยที่ให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วยทั่วไปที่เดินทางมารับบริการ เรียกว่า “ตึกผู้ป่วยนอก”ห้องตรวจผู้ป่วยนอก” (ดูความหมายของคำว่า “ผู้ป่วยนอก” หมอชาวบ้านฉบับที่ 65)

โรงพยาบาลขนาดเล็กจะมี โอพีดี รวมเพียงแห่งเดียว ไม่ว่าเด็กเล็ก คนแก่ คนเฒ่า ไม่ว่าหญิงหรือชาย ก็ต้องมารอตรวจที่ โอพีดี ที่เดียวกันนี้
ส่วนโรงพยาบาลใหญ่ เขามักจะแบ่งโอพีดี (ห้องตรวจผู้ป่วยนอก ) ไปตามกลุ่มโรคที่เป็น เช่น เด็กก็ไปที่โอพีดีเด็ก ผู้หญิงที่ต้องการตรวจโรคภายในส่วนของผู้หญิงโดยเฉพาะ ก็ต้องไปที่ โอพีดี-สูติ-นรีเวช (ห้องตรวจผู้ป่วยสูตินรีเวช) ผู้ป่วยที่มีปัญหาต้องผ่าตัด ก็ต้องไปที่โอพีดีศัลย์ (ห้องตรวจผู้ป่วยศัลยกรรม) ผู้ป่วยทั่ว ๆ ไป ก็ไปที่โอพีดีอายุรกรรม (ห้องตรวจผู้ป่วยอายุรกรรม) เป็นต้น

การที่ผู้ป่วยนอกมาตรวจที่ห้องโอพีดีนั้น จำเป็นต้อง “ใจเย็น ๆ ” ที่จะต้องเสียเวลานั่งรอ หรือทนต่อคำไม่สุภาพ ที่อาจหลุดออกจากปากของผู้ให้บริการ ผู้ซี่งไม่รู้จักเหนื่อยหน่ายที่วิ่งจากแผนกนี้ไปแผนกโน้น
 

ข้อมูลสื่อ

66-002
นิตยสารหมอชาวบ้าน 66
ตุลาคม 2527
พูดจาภาษาหมอ