• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

หูดข้าวสุก

           
              


ภาพข้างบนนี้ แสดงให้เห็นตุ่มแข็งกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-5 มิลลิเมตร ที่บริเวณข้อพับแขน บางตุ่มที่มีขนาดใหญ่จะเห็นมีรอบบุ๋มตรงกลาง และผิวตึง มัน นวล คล้ายไข่มุก

เมื่อใช้ปลายเข็มสะกิด แล้วบีบดูจะมีเนื้อหูดสีขาวคล้ายข้าวสุกหลุดออกมา ด้วยเหตุนี้จึงมีชื่อว่า “หูดข้าวสุก” (ภาษาอังกฤษเรียกว่า molluscum contagiosum) โรคนี้เกิดจากกรติดชื้อไวรัส (เช่นเดียวกับโรคหูดชนิดอื่น) มักจะติดต่อได้ง่ายด้วยการสัมผัสใกล้ชิดหรือใช้สิ่งของร่วมกัน บางครั้งจึงอาจพบว่าเป็นพร้อมกันหลายคนในโรงเรียน หรือในละแวกบ้าน ส่วนมากจะเกิดกับเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ เพราะผู้ใหญ่จะมีภูมิต้านทานต่อโรคนี้มากกว่าเด็ก หูดข้าวสุกมักจะขึ้นบริเวณใบหน้า ลำคอ ปลายแขน สะโพก อวัยวะสืบพันธุ์ และมักจะลุกลามไปในบริเวณใกล้เคียงได้ง่าย
โรคนี้ไม่ทำให้เกิดมีอันตรายแต่อย่างไร และถึงแม้จะไม่ได้รักษา ก็จะค่อย ๆ หายไปได้เอง แต่อาจใช้เวลาเป็นแรมปี

การรักษา ให้ใช้เข็มสะอาด (ที่ฆ่าเชื้อด้วยการแช่ในแอลกอฮอล์ หรือลนไฟแล้ว รอให้เย็นเสียก่อน) สะกิดแล้วบีบเอาเนื้อหูดออก แล้วทาด้วยทิงเจอร์ใส่แผลสด
 

(ภาพประกอบ ด้วยความเอื้อเฟื้อจาก ร.ศ.น.พ. อภิชาติ ศิวยาธร)

ข้อมูลสื่อ

120-008
นิตยสารหมอชาวบ้าน 120
พฤษภาคม 2532
รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ