• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

ยาทาสำหรับผิวหนังอักเสบ

 

  
 

การอักเสบของผิวหนังอาจเกิดจากภาวะภูมิแพ้, การสัมผัสกับสารเคมีที่ระคายเคือง, ถูกแดดจ้า, แมลงสัตว์กัดต่อย และอื่น ๆ อีกมากมาย ยาทาผิวหนังประเภทสตีรอยด์ เป็นยาที่ถูกนำมาใช้ลดการอักเสบของผิวหนังจากเหตุต่าง ๆ แต่ไม่ใช่เพื่อการรักษาในทุกกรณี มักใช้ยาทาสตีรอยด์ในโรคผิวหนังที่มีการอักเสบน้อย ผลการใช้ยาทาสตีรอยด์ นั้นจะทำให้อาการอักเสบของผิวหนัง อันได้แก่ อาการบวม, แดง, คัน, น้ำเหลืองเยิ้มลดลง จนกระทั่งหายเป็นปกติ

รูปแบบของยาตีรอยด์ชนิดใช้กับผิวหนัง มีทั้งลักษณะเป็นครีม, ขี้ผึ้ง, ยาน้ำ และชนิดพ่นเป็นละอองฝอย ยาเหล่านี้มีฤทธิ์แรงต่างกัน ซึ่งจำแนกได้ 3 ระดับ คือ
1. ชนิดฤทธิ์อ่อน ได้แก่ 
                   

                 ชื่อยา

      ความเข้มข้น

ฮัยโดรคอร์ติโซน

เด็กซาเมทาโซน

เพร็ดนิโซโลน

ไตแอมซิโนโลน

ฟลูโอซิโนโลน อะซีโทไนด์

        0.25 - 2.5 %   

                   0.1 %

                   0.5 %

                 0.02 %

                 0.01 %

 

 

2. ชนิดฤทธิ์ปานกลาง ได้แก่ 
                   

                 ชื่อยา

     ความเข้มข้น

 เบต้าเมทาโซน วารีเลต

ไตรแอมซิโนโลน

ฟลูโอซิโนโลน อะซีโทไนด์

          0.1 %

          0.1 %

      0.025 %

 

 

3. ชนิดฤทธิ์แรง ได้แก่       

 

                   ชื่อยา

      ความเข้มข้น

เบตาเมทาโซน ไดโปรปริโอเนต

เดสออกซิเมทาโซน

ไตรแอมซิโนโลน อะซีโทไนด์

โคลเปทาโซน โปรปริโอเนต

ไดโฟลราโซน ไดอะซิเทต

ฮัลซิโนไนต์ 

           0.05 %

           0.25 %

           0.5 %

           0.05 %

           0.05 %

           0.1 %


โดยทั่วไปแพทย์มักเลือกยาชนิดฤทธิ์อ่อนใช้ก่อน เมื่อไม่ได้ผล จึงค่อยขยับไปใช้ชนิดที่มีฤทธิ์ปานกลาง และชนิดฤทธิ์แรงตามลำดับ

ผลแทรกซ้อนจากการใช้ยาสตีรอยด์ชนิดทา คือ
ก. เมื่อใช้ทาเฉพาะที่
1. คนที่ทายาติดต่อกันเป็นเวลานาน เช่น ใช้ยาทาแก้ฝ้าซึ่งมักผสมสตีรอยด์ หรือทายาชนิดฤทธิ์
แรงบนผิวหนังเด็ก ซึ่งเป็นผิวหนังที่บอบบาง มักทาให้ผิวหนังบางเป็นมันหรือบุ๋มลงไป และย่นเหมือนกระดาษ มวนบุหรี่ และมีเส้นเลือดฝอยที่ผิวขยายตัวจนเห็นได้ชัดบนผิวหนัง มีจ้ำเลือดปรากฏใต้ผิวหนัง

2. ผิวหนังบริเวณข้อพับ, รักแร้ มักแตกปริเมื่อใช้ยาที่มีฤทธิ์ปานกลางทาที่บริเวณเหล่านี้ติดต่อกันนานกว่า 1 เดือน

3. ทำให้เกิดสิวหัวดำ หรือตุ่มหนองสิว เมื่อทาแบบละเลงเป็นบริเวณกว้างที่หน้า, หน้าอก และหลังติดต่อกันได้ระยะหนึ่ง

4. อาการสิงหน้าแดง และการอักเสบตามแก้ม จมูก และรอบริมฝีปาก

5. เกิดต้อหิน (มีอาการปวดตา, ตามัว, ตาแดง) ได้ ถ้าทารอบตา

6. เกิดการกำเริบหรือแทรกซ้อนของการติดเชื้อแบคทีเรีย, เชื้อรา และเชื้อไวรัส

7. มีขนขึ้นผิดปกติที่บริเวณทายา

8. ผิวสีซีดกว่าเดิม

ข. ใช้ทั่วร่างกาย

คนที่ทายาเป็นปริมาณมาก หรือห่อหุ้มบริเวณที่ทายาด้วยพลาสติก ซึ่งทำให้ยาถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายมากจนเกิดปัญหาเช่นเดียวกับการกินยา จะทำให้ต่อมหมวกไตถูกรบกวน, หน้าบวมฉุ, ผิวหนังแตกปริ เป็นต้น

ข้อควรระวังระหว่างใช้ยา
1. ถ้าใช้ยานี้ทาบริเวณร่มผ้าในเด็ก อย่าสวมผ้ากันเปียกที่เป็นพลาสติกให้ เพราะจะทำให้ตัวยาถูกดูดซึมเข้าร่างกายมากเกินไป

2. อย่าใช้ยานานและบ่อยกว่า ที่แพทย์แนะนำ

3. ระวังอย่าให้ยาเข้าตา, รูจมูก และปาก

4. ไม่ควรทาเครื่องสำอาง หรือยาอื่นใดบนผิวหนังส่วนที่กำลัง ใช้สตีรอยด์ทา

5. เวลาทายาแต่ละครั้ง ควรทาเพียงบาง ๆ เพราะการทายาหนาเกินไป นอกจากจะเป็นการสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุแล้ว ยังทำให้ร่างกายดูดซึมยาเข้าไปมากเกินควร

6. สำหรับโรคผิวหนังที่มีขุยหนา หรือผิวค่อนข้างหยาบด้าน ซึ่งมักจะเป็นเรื้อรัง เมื่อทายาจึงควรคลึงบริเวณดังกล่าวสักครู่ เพื่อให้เนื้อยาซึมเข้าไปได้ดี

7. กรณีที่เป็นยาสตีรอยด์ที่ใช้กับเยื่อบุช่องปาก เช่น ยาลดการอักเสบของแผลแอฟทัส (Aphtous ulcer) ในปาก ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “แผลร้อนใน” ให้ใช้วิธีกดเนื้อยาให้แผ่เป็นแผ่นฟิล์มติดแน่นกับก้นแผล แทนที่จะทาแบบที่ใช้กับผิวหนัง

8. ถ้าลืมทายาตามเวลาที่แพทย์แนะนำ ให้รีบทาทันทีที่นึกได้ และไม่จำเป็นต้องทาให้หนาเพิ่มเป็นพิเศษ แม้เวลาที่นึกได้จะไปตรงกับกำหนดการทาครั้งต่อไปก็ตาม

 

ข้อมูลสื่อ

115-008
นิตยสารหมอชาวบ้าน 115
พฤศจิกายน 2531
108 ปัญหายา