• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

หืด


ถ้าท่านผู้อ่านติดตาม “ประสบการณ์รอบทิศ” มาตลอด จะสังเกตได้ว่าที่ผ่านมรเราได้นำความรู้เรื่องสมุนไพรจากต้นไม้ต้นเดี่ยวๆ มาใช้รักษาโรคแต่มาในฉบับนี้เราขอบเปลี่ยนบรรยากาศโดยการเสนอตำรับยาที่มีตัวยาผสมกันหลายตัวจาก พระเทพสุธี เจ้าอาวาสวัดนงคราม ฝั่งธนบุรี ซึ่งทานหลวงลุงผู้นี้รู้จักคุ้นเคยกับโครงการฯ จึงได้ให้ตำรายาแก้โรคหืดมา ส่วนผสมที่ใช้มี

ฝางเสน ใช้หนัก 2 บาท 2 สลึง
แก่นแสมสาร ใช้หนัก 6 บาท 2 สลึง
เถาวัลย์เปรียง ใช้หนัก 2 บาท 2 สลึง
ใบมะคำไก่ ใช้หนัก 2 บาท 2 สลึง
หัวแห้วหมู ใช้หนัก 2 บาท

วิธีทำก็ไม่ยาก ใส่ยารวมลงหม้อใส่น้ำให้ท่วมยา ต้มจนเดือดแล้วทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที เพื่อให้ยาสุกดี ยานี้ใช้กินต่างน้ำให้หมดภายในวันนั้น (แต่สำหรับคนที่มีธาตุอ่อนถ้ากินมากจะทำให้ถ่ายมาก จึงควรกินครั้งละ ครึ่งถึง 1 แก้ว เช้า-เย็น) พอวันรุ่งขึ้นก็ใส่น้ำให้ท่วมยา ต้มใหม่ให้เดือดแล้วทิ้งไว้สัก 5 นาที แล้วกินเหมือนวันแรกต้มไปกินไปจนยาจืด (ประมาณ 5 วัน) แล้วจึงเปลี่ยนยาใหม่

โรคหืดในทัศนะของแพทย์โบราณถือว่า เกิดจากการมีเสมหะกำเริบ คือ มีเสมหะมาก และร่างกายไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย การแก้ต้องแก้ที่จุดสำคัญของโรค ได้แก่ คอและหน้าอก ตำรับยานี้สามารถแก้ได้ เพราะ แก่นแสมสาร กับ เถาวัลย์เปรียง สรรพคุณถ่ายเสมหะที่กำเริบออกไป ในมะคำไก่ บำรุงปอด ฝางเสน บำรุงปอดและขับเสมหะ ส่วน หัวแห้วหมู จะไปเพิ่มธาตุไฟในการย่อยอาหาร (ทำให้เสมหะซึ่งเป็นธาตุน้ำลดน้อยลง)

นี่คือแผนเดิมเขาว่าไว้ ถ้ามาพูดถุงแพทย์สมัยใหม่ สาเหตุของโรคหืดนั้น ก็คือ โรคภูมิแพ้ อย่างหนึ่งนั่งเอง ซึ่งเกิดจาก แพ้อากาศ ความเย็น ฝุ่น ละอองเกสรดอกไม้ หรือสารต่าง ๆ ร่างกายก็จะปล่อยสารฮิสตามินออกมา ทำให้หลอดลมบีบรัดตับตันขึ้น การหายใจเข้าออกก็จะลำบาก ต้องหายใจแรง ๆ เพื่อเอาอากาศเข้าปอดดังนั้นอาการหืดหอบก็จะตามมา

พูดถึงสาเหตุทางแผนใหม่ ก็ขอพูดถึงผลการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่กล่าวอ่างถึงการแก้หืดหอบได้

หัวแห้วหมู มีการทดลองนำน้ำยาดองเหล้าจากหัวแห้วหมูให้หนูที่เป็นโรคหืดกิน ปรากฏว่าหลอดลมของหนูขยายขึ้น บรรเทาอาการหอบหืดได้และยังสามารถต่อต้านสารฮิสตามีนได้

ส่วนตัวยาอื่นยังไม่มีรายงานการทดลองว่าแก้โรคหืดได้
เป็นยังไงบ้างครั้ง อ่านแล้วอย่างเพิ่มเหนื่อยหอบตามโรคนะครับ ฉบับนี้ดูจะเป็นวิชาการมากหน่อย (ไม่หน่อยหรอกทั้งเรื่องเลยแหละ) แต่เราก็ต้องการให้ได้รู้กันว่าเป็นมาอย่างไร มีอะไรอ้างอิง จะไดช่วยกันค้นคว้าทดลองหรือนำไปใช้กันได้ต่อๆ ไป ด้วยความเข้าใจ

เอาละ มาฟังชาวบ้านดีกว่า
"หอบและไอติดตอกันเป็นชุดมา 4-5 ปี เวลาไอมีเสลดมาก" คุณนาค แป้นทองหลาง ทำนาอยู่บ้านโคกหนองไผ่ อ.โนนไทย เมืองโคราช กล่าวขำๆ ว่า

“ครั้นจะเดินไปไหมมาไหนก็เหนื่อย ตอนเป็นใหม่ๆ ก็หาหมอตมคลินิกตามโรงพยาบาลในจังหวัด แต่อาการไม่ดีขึ้น พอปี 2522 เดือนกุมภาพันธุ์ หันมาลองกินยาตำรับนี้ ต้มกินทั้ง เช้า เย็น 2 วันห่อ กินได้ 5 ห่อ อาการยังไม่ดีขึ้น พอเดือนกรกฎาคม ตัดสินใจกินใหม่ คราวนี้ห่อหนึ่งกินซัก 5-7 วัน อาการเริ่มดีขึ้น รูสึกกินอาหารได้อร่อย กินข้าวได้มากขึ้น พอกินครบ 5 ห่อ อาการไอและหอบหายไปได้ครับ
คุณนาค เป็นคนอดทน มีความพยายามดี ลองถึงสองครั้งสองคราผลออกมาก็คุ้มอยู่นะครับ”

สำหรับอีกท่านนั้น เป็นแม่พิมพ์ของชาติ (ครู) สอนอยู่ที่โรงเรียน สาธิตจุฬา แผนกมัธยม กรุงเทพนี่เอง
“เมื่อหน้าฝนปี 19 ไปเดินเขาเที่ยวป่า เดินอยู่ดี ๆ รู้สึกหายใจไม่ค่อยออก หอบ ต้องนั่งพักจึงหาย หลังจากอากรกำริบ เป็นมากขึ้น พอ 1 ปีผ่านไป ได้หาหมอ ร.พ. จุฬาฯ และต้องกินยาแก้หืดตลอดปี อาการก็ยังเป็นมากอยู่ ขนาดเดินเข้าซอยสั้นๆ ยังเหนื่อยแทบแย่ ตั้งแต่นั้นมา ที่บ้านต้องมีถังออกซิเจนไว้ช่วยหายใจ

คุณอรชร ทิ้งช่วงพักหายใจแล้วกล่าวต่ออย่างคูสอนศิษย์ว่า
“พอเดือนธันวาคม ปี 22 มีการหอบบ่อยมาจนต้องเข้า ร.พ. ทุกๆ 10 วัน จนครั้งหนึ่งหอบมากหมดสติไป หมอต้องช่วยฉีดยาบำรุงหัวใจหัวใจหยุดเต้น พอราวเดือนมกราคม 23 ก็ได้ลองกินยาต้มดู แต่ครั้งนั้นได้กินควบกับยาแผนปัจจุบัน กินวันละ ครึ่งถึง 1 แก้ว (ประมาณ 125 ซีซี) กินได้ 4 เอน รู้สึกอาการดีขึ้นมาก ตอนหลังจึงกินแต่ยาต้มอีก 2 เดือน อาการดีขึ้นอีก เดินไกลๆ ไม่ค่อยเหนื่อย ถ้าเหนื่อยก็เพียงนั่งพักสักครู่ก็หาย ไม่ต้องหายามากินช่วยเหมือนแต่ก่อน กินยานี้แล้วรู้สึกง่วง แต่ก็เจริญอาหารดีค่ะ ”

เจ้าโรคหอบหืด เป็นกันแล้วทรมานมาก จะรักษากันทีก็นานกว่าจะหาย

คุณผู้อ่านกำลังเป็นอยู่หรือเปล่า ถ้าเป็นอยู่รีบปรึกษานะครับ ถ้าไม่เป็นหรือรักษาหายแล้วเราก็ดีใจด้วย เพราะพระพุทธองค์ท่านตรัสไว้ว่า “ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ”

หมายเหตุ

1. ถ้าหาตัวยาได้ไม่ครบตามตำรับจะใช้เพียง ฝางเสนกับหัวแห้วหมูก็ได้
2. ถ้ากินยานี้แล้วถ่ายมากผิดปกติให้ลด แก่นแสมสารลง เพิ่มฝางเสนแทน
3. ถ้ากินยาตำรับนี้สัก 1 เดือนแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ให้หยุดกินยานี้เพราะยาคงไม่ถูกกับโรค
 

ข้อมูลสื่อ

56-010
นิตยสารหมอชาวบ้าน 56
ธันวาคม 2526
ภก.สุพจน์ อัศวพันธุ์ธนกุล