• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

รักษาโรคท้องผูก ด้วยนิ้วมือ

   


วิธีกดจุดรักษาท้องผูก

ตำแหน่งจุด จุดอิ๋งเซียง อยู่ข้างจมูก (ดูรูปที่ 1)
จุดอิ๋งเซียงเป็นจุดบนเส้นลมปราณลำไส้ใหญ่ มีแนวเส้นทอดจากโคนนิ้วชี้ด้านนอกขึ้นไปตามแขนด้านนอก ผ่านไหปลาร้าไป คอ ปาก สู่โหนกแก้มด้านตรงข้าม และมีแขนงแยกจากไหปลาร้าไปสู่ปอดและลำไส้ใหญ่ (รูปที่ 2)

  

 

วิธีกดจุด
ใช้นิ้วชี้กดตรงจุดอิ๋งเซียงทั้ง 2 ข้างพร้อมๆ กันพอรู้สึกชา นานประมาณ 5-10 นาทีเมื่อต้องการถ่าย (อาจรู้สึกเจ็บหรือชาบริเวณที่กดบ้าง) หากบริเวณที่กดเล็กเกินไปทำให้กดลำบากก็ให้ใช้วิธีนวดโดยนวดรอบๆ จุด (ดูรูปที่ 3) หรืออาจใช้นิ้วหัวแม่มือกดทำนองเดียวกันโดยไขว้มือก็ได้ (ดูรูปที 4)
 

  


รายงานจากการทดลองที่ใช้กับผู้ป่วย 16 ราย (แม้จะมีผู้ป่วยน้อยแต่ก็ได้ผลถึง 94%) ผู้ป่วยส่วนใหญ่หลังจากกดจุดอิ๋งเซียงแล้ว ก็จะเกิดความรู้สึกอยากถ่ายและถ่ายอุจจาระออกมาได้ มีผู้ป่วยรายหนึ่งมีอาการท้องผูกเรื้อรังมา 10 ปี โดยท้องผูก 4-7 วัน จึงจะถ่ายสักครั้ง การถ่ายแต่ละครั้งต้องกินเวลานานและทรมานมาก หลังจากใช้วิธีกดจุดแล้ว แม้จะไม่ถ่ายทุกวัน แต่ก็ทำให้การถ่ายอุจจาระเป็นปกติไม่เจ็บปวดทรมาน สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูกเรื้อรัง เช่น คนชรา ผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ ผู้ที่เป็นริดสีดวงทวาร หลังจากใช้วิธีนี้รักษาแล้ว จะทำให้ระยะเวลาที่เกิดท้องผูกลดน้อยลง และถ่ายได้คล่องขึ้น


การกดจุดเพื่อบำบัดอาการท้องผูก จึงมีวิธีปฏิบัติที่ง่ายและประหยัดที่ทุกคนสามารถทำเองได้ โดยไม่ต้องพึ่งยาถ่าย

จากนิตยสาร  LIFE AND HEALTH ( ชีวิตและสุขภาพ)จัดพิมพ์ที่ฮ่องกงฉบับเดือนพฤษจิกายน 2523

 

ข้อมูลสื่อ

26-004
นิตยสารหมอชาวบ้าน 26
มิถุนายน 2524
สารคดีแพทย์
วิทิต วัณนาวิบูล