• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

การกดและนวดจุด รักษาป้องกันสายตาสั้น

 
โดยทั่วไปถ้าใครสายตาสั้น วิธีแก้ไขก็คือ การตัดแว่นใส่

แต่ถ้าท่านมีเวลาหรือรู้สึกสนใจจะลองใช้วิธีการกดและนวดจุดตามแบบของจีน ในการบริหารตาดูบ้างก็ได้ เขาบอกว่าจะช่วยให้สายตาดีขึ้นได้ไม่มากก็น้อย

ใครลองแล้วได้ผลอย่างไร ถ้าจะเขียนมาเล่าสู่กันฟัง ก็คงจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งครับ
 


การกดและนวดจุด เพื่อรักษาสายตาสั้น
1. จุดหลัก :

เทียนอิง : อยู่ใต้จุด จ่านจู่ 0.3 นิ้ว

2. จุดประกอบ :
จ่านจู่ :
อยู่ตรงรอยบุ๋มตรงหัวคิ้ว
ยวี่เยียว : อยู่ตรงกลางคิ้วพอดี (เหนือรูม่านตา)
ซือจู๋คง : ตรงรอยบุ๋มบริเวณหางคิ้ว
ถงจื่อเหลียว : ห่างจากปลายหางตา 0.5 นิ้ว
ซื่อป๋าย : ใต้รูม่านตา 1 นิ้ว
จิงหมิง : ตรงรอยบุ๋มหัวคิ้ว 

วิธีกดและนวด :
ใช้หัวแม่มือกดและนวดจุดหลัก
ทั้งสองข้างก่อน แล้วจึงใช้นิ้วชี้กดและนวดจุดประกอบ (ให้หันปลายนิ้วออกนอกลูกตา เพื่อป้องกันนิ้วแทงตา) ในการกดและนวด นิ้วจะต้องตรงและใช้กำลังข้อการกดและนวดจะต้องทำอย่างช้าๆ และเบาๆ ก่อน แล้วจึงค่อยๆ เร็วและหนักขึ้น หลังจากนั้นก็ค่อยๆ ลดความเร็วและความหนักลง จนหยุด การกดและนวดควรใช้กำลังที่เหมาะสมคืออยู่ในระดับที่เกิดคามรู้สึกเมื่อยหรือหนักๆ ก็พอ 

เวลาในการกดและนวด :
ทั้งหมดใช้เวลา 10 นาที จุดหลัก 5 นาที จุดประกอบ 5 นาที (จ่านจู่ ยวี่เยียวและซือจู๋คง จุดละ 20 วินาที, ถงจื่อเหลียว 1 นาที, ซื่อป๋าย 2 นาที, จิงหมิง 1 นาที) ทำวันละ 1-2 ครั้ง จนกว่าจะดีขึ้นหรือหายไป

หมายเหตุ : การนับเวลาอาจใช้วิธีการนับ 1,2,3,….จนถึง 60 เป็น 1 นาที วิธีนี้สามารถทำเองหรือให้คนอื่นทำให้ก็ได้


การกดและการนวด เพื่อบริหารตา

 

 ท่าที่ 1.
ใช้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองกดลงบนจุดเทียนอิง นิ้วที่เหลือให้วางเหนือคิ้วเป็นรูปโค้งไปตามคิ้ว

 

 

ท่าที่ 2.
ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ (มือซ้ายหรือขวาก็ได้แล้วแต่ถนัด) กดและนวดจุกจิงหมิง วิธีกด ต้องกดและนวดดันขึ้น
 

 

ท่าที่ 3.
ใช้นิ้วทั้งสอง กดและนวดจุดซื่อป๋าย
 

ท่าที่ 4.
ใช้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองกดและนวดจุดไท่หยง (จุดนี้อยู่ห่างจากหางตา 1 นิ้ว) และใช้ข้อที่สองของนิ้วชี้ นวดรอบๆขอบตา โดยนวดจากล่างขึ้นบน (หมายเลข 1,5) และ จากบนลงล่าง (หมายเลข 2,3,4,6)

 
ข้อควรระวัง :
1. ไม่ควรไว้เล็บยาว อาจทำให้ทิมตาได้
2. ขณะกดและนวดจุด ควรหลับตา
3. เวลากดและนวด ไม่ควรกดแรงเกินไป ทั้งนี้เพื่อป้องกันการถลอกของผิวหนังอันอาจจะทำให้เกิดการอักเสบได้ ควรกดและนวดในขนาดที่รู้สึกหนักๆ หรือเมื่อยก็พอ
4. เมื่อเป็นโรคตา เช่น ตาอักเสบเป็นโรคผิวหนังบริเวณใกล้ตา ควรหยุดชั่วคราว

การกดและนวดจุดเพื่อการบริหารตาจะช่วยคลายกล้ามเนื้อบริเวณตา ทำให้โลหิตหมุนเวียนดี ขึ้นวิธีการนี้อาจนำไปประยุกต์ใช้ในโรงเรียน อาจจะใช้จังหวะดนตรีช่วย โดยใช้เวลาบริหารจุดละ 1 นาที ตามจังหวะดนตรี ทำวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น จะเป็นการช่วยรักษาสายตานักเรียนให้อยู่ในสภาพดีได้ด้วย

 

ข้อมูลสื่อ

29-005
นิตยสารหมอชาวบ้าน 29
กันยายน 2524
สารคดีแพทย์
วิทิต วัณนาวิบูล