• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

อาหารสมุนไพรในทัศนะจีน

ยิน-หยาง เป็นทฤษฎีพื้นฐานทางการแพทย์ของจีน เป็นด้านของสรรพสิ่งที่ตรงกันข้าม ด้านทั้งสองนี้จะต่อต้านกัน ขณะเดียวกันก็ควบคุมและเป็นเอกภาพแก่กัน

                        

                                                       สัญลักษณ์ ยิน-หยาง

ในทัศนะแนวคิด-แนวปฏิบัติของจีนเกี่ยวกับการใช้ อาหารสมุนไพร เพื่อส่งเสริมสุขภาพเสริมพลังงาน ป้องกันและบำบัดรักษาโรคนั้น ขึ้นกับทฤษฎี “ยิน-หยาง” ซึ่งเป็นปรัชญาพื้นฐานของการแพทย์จีน และ “เหตุแห่งโรค”


ในแง่ ยิน-หยาง จีนสรุปลักษณะของ ยิน-หยาง โดยทั่วไปว่า
หยาง หมายถึง ดวงอาทิตย์ ฟ้า กลางวัน ไฟ ความร้อน ความแห้ง แสงสว่าง บวก ผู้ชาย ฯลฯ
 ยิน หมายถึง ดวงจันทร์ ดิน กลางคืน น้ำ ความเย็น ความชื้น ความมืด ลบ ผู้หญิง ฯลฯ

หยางมีแนวโน้มที่จะแผ่ออก ไหลขึ้นสู่เบื้องบน ส่วนยินมีแนวโน้มที่จะหดตัว ไหลลงเบื้องล่าง และ “สรรพสิ่งล้วนประกอบด้วยด้านตรงข้ามคือ ยิน-หยาง ด้านสองด้านนี้ขัดแย้งกัน และเป็นหนึ่งเดียวกัน” ทฤษฎีนี้ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในการแพทย์จีน ไม่ว่าในด้านกายวิภาคศาสตร์ สรีระวิทยา เหตุแห่งโรค อาการป่วย การวิเคราะห์อย่างรอบด้าน ยา อาหาร ฯลฯ การป้องกันและรักษาโรคของจีนมีหลักสำคัญคือ “การปรับยินและหยางให้เข้าสู่สมดุลย์” เมื่อ ยิน-หยาง สมดุลย์ ร่างกายก็จะปกติ


ในแง่ “เหตุแห่งโรค” แพทย์จีนแบ่งออกเป็น 3 พวกใหญ่ๆ คือ
1.เหตุจากปัจจัยภายนอก ได้แก่ ลม เย็น ร้อน ชื้น แห้ง ไฟ
2.เหตุจากปัจจัยภายใน ได้แก่ อารมณ์ สุขนิสัยต่างๆ ในการกิน นอน เพศสัมพันธ์ ฯลฯ
3.เหตุไม่ใช่ทั้งภายนอกและภายใน ได้แก่ พลัดตกหกล้ม บาดแผลจากของมีคม งูหรือสัตว์อื่นๆ กัด ฯลฯ

 

ก่อนที่จะใช้อาหารสมุนไพร เพื่อป้องกันและรักษาโรคนั้น เราจะต้องเข้าใจความคิดของจีนในแง่

1.ร่างกายของมนุษย์ ประกอบด้วย ยิน-หยาง ในอัตราส่วนที่ต่างกัน เช่น บางคนมียินมากว่าหยาง ร่างกายจัดอยู่พวกยิน เมื่อกินของเย็น เช่น มะระ แตงโม ก็จะรู้สึกไม่สบาย แต่ ถ้ากินจำพวกพริกไทย ตะไคร้ ก็จะรู้สึกสบาย ในทางกลับกันคนที่ร่างกายจัดอยู่ในพวกหยาง เมื่อกินขิง พริกไทย จะรู้สึกอึดอัดไม่สบาย แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นกินอาหารพวกมะระ แตงโม จะรู้สึกสบาย

2.ทางด้านโรค แพทย์จีนได้แบ่งอาการป่วยเป็นยิน-หยาง โรคยิน จะมีอาการหนาว เย็น กลัวหนาว ไม่มีแรง ชีพจรเต้นช้า โรคหยาง จะมีอาการเจ็บคอ คอแห้ง กระหายน้ำ ชีพจรเต้นเร็ว

3.อาหาร อาหารและ/ หรือสมุนไพรแต่ละชนิดจะประกอบด้วยยิน-หยางในอัตราส่วนที่ต่างกัน เช่น มะระมีในยินมากว่าหยาง มะระจึงเย็น (รสขมเป็นยินหรือยาเย็น) พริกไทย ขิง มีหยางมากกว่ายิน จึงร้อน (รสเผ็ดจัด เป็นหยางหรือยาร้อน)


ทั่วๆ ไปถือว่า อาหารมีรสเค็มขม หรือเปรี้ยว จัดอยู่ในพวกยิน อาหาที่มีรสเผ็ด หวาน จัดอยู่ในพวกหยาง รายละเอียดให้ดูตารางที่ 1 

 ตารางการจำแนกอาหาร-สมุนไพรตามคุณสมบัติ ยิน -หยาง

                 พวกยิน

  พวกกลางๆ

     พวกหยาง

              (ทำให้เย็น)

     ( ทำให้ร้อน)

มะระ                    ฟักเขียว

บวบ                    หัวผักกาดขาว

ผักกาดขาว         หน่อไม้

ดอกไม้จีน           เหง้าบัว

ผักบุ้ง                  มะเขือเทศ

คึ่นช่าย               เห็ดหูหนู

เห็ดฟาง              ถั่วเขียว

เก็กฮวย               บัวบก

แตงโม                อ้อย

มะละกอ              แห้ว

ทับทิม                 ส้ม

ส้มโอ                  สับประรด

มะขาม                สาลี่

แอบเปิ้ล              มังคุด

เนื้อตะพาบ          เหี้ย

เนื้อเต่า                ปลาไหล

เนื้อแมว               หอย

เนื้อกระต่าย         จับเลี้ยง* 

       ข้าว

       ข้าวโพด

       เม็ดบัว

       น้ำผึ้ง

       เนื้อหมู

       เนื้อห่าน

       นกพิราบ

     ข้าวเหนียว

     หอม

     กระเทียม

     พริก

     พริกไทย

     ขิง

     ข่า

     กะเพรา

     โหระพา

     ตะไคร้

     เงาะ

     ลำไย

     มะม่วง

    เนื้อมะพร้าว

     ลิ้นจี่

     ทุเรียน

     ขนุน

     เนื้อแพะ

     เนื้อสุนัข

     เนื้อไก่

     เนื้องู(ส่วนใหญ่)

 *จับเลี้ยง- ยาเย็นที่ผสมหลายอย่าง เช่น
-ดอกสายน้ำผึ้ง             -ใบหม่อน
-รากหญ้าคา                -แห่โกวเช่า
-ชะเอม                         -ดอกงิ้ว
-เม็ดเพกา                      -ใบบัว
-ใบไผ่                            -ฯลฯ


4.ฤดูกาล เป็นสาเหตุอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดโรค จีนแบ่งฤดูกาลต่างๆ เป็น “ยิน-หยาง” ดังนี้
ฤดูหนาวและฝน        จัดเป็น  ยิน
ฤดูร้อน                     จัดเป็น   หยาง

ในชีวิตประจำวัน นอกจากการการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศและสุขนิสัยในการดำรงชีวิต ซึ่งจะกระทบต่อความแข็งแรงของร่างกาย อาหารก็เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งในการส่งเสริมสุขภาพอนามัยตลอดจนป้องกันและรักษาโรค เช่น ในฤดูร้อน หยางในธรรมชาติและร่างกายมักมากกว่ายิน จึงทำให้เกิดโรคหยาง มีอาการเจ็บคอ คอแห้ง ไอ ปวดหัว เป็นไข้ ชีพจรเต้นเร็ว เป็นต้น ถ้าเรากินอาหารพวกกิน (เย็น)เช่น ฟักเขียว มะระ ผักบุ้ง หรือแตงโม จะเป็นการเพิ่มยิน ช่วยทำให้ยิน-หยางเกิดสมดุลย์ อาการป่วยดังกล่าวจะหายไป ดังนั้นในหน้าร้อนถ้ากินอาหารพวกยินมากกว่าหยาง จะเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดอาการดังกล่าวขึ้นได้ ส่วนหน้าหนาวก็ตรงกันข้าม


วิธีสังเกตว่าร่างกายของเราเป็นยินหรือหยาง
การสังเกตเริ่มแรก เด็ก ผู้ชาย คนผอม มักเป็นหยาง ส่วนผู้สูงอายุ ผู้หญิง คนอ้วน มักเป็นยิน นอกจากนั้นต้องพิจารณาสภาวะของร่างกายคือ :-

1.ในสภาพปกติ ถ้ากินอาหารพวกหยางแล้ว มีอาการคอแห้ง เจ็บคอ แสดงว่า รา่งกายอยู่ในพวกหยาง คนประเภทนี้ควรกินอาหารพวกยิน (เย็น) ส่วนผู้ที่กินอาหารพวกยินแล้วเกิดอาการท้องร่วง ท้องอืด หรือมึนหัว แสงดว่าร่างกายอยู่ในพวกยิน ควรกินอาหารพวกหยาง (ร้อน) สุขภาพจึงเป็นปกติ

2.การเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล ในฤดูร้อน หยางในธรรมชาติมากกว่า ดังนั้นคนที่ร่างกายจัดอยู่ในพวกหยาง จึงควรกินอาหารพวกยินให้มากขึ้น และลดอาหารพวกหยางลง (หรือกินอาหารยินในอัตราที่มาก
กว่าหยาง
) ถ้าเป็นคนที่ร่างกายจัดอยู่ในพวกยิน ควรกินอาหารพวกยินให้น้อยลง และเพิ่มอาหารพวกหยางขึ้น (หรืออาหารพวกหยาง ในอัตราที่มากกว่ายิน) ส่วนฤดูหนาวก็กลับกัน

 

ข้อมูลสื่อ

31-011
นิตยสารหมอชาวบ้าน 31
ตุลาคม 2524
สารคดีแพทย์
วิทิต วัณนาวิบูล