• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

ดัดตนแก้เมื่อยเท้า-มือ


หนึ่งเล่าฤดูหก อาจารย์ยกเปนเค้ามูล เดือนห้าเดือนหกพูน ชื่อคิมหันตฤดูเดิม ผิไข้ในสองเดือน กำเดาดีย่อมเพิ่มเติม โทษเจ็ดหากฮึกเหิม ให้แสบอกเมื่อย ตีนมือ เสียดแทงนอนมิหลับ มักมวนท้องร้องครางฮือ อาเจียรแลรากรือ ทั้งสอึกวิกลร้าย ผิแพทย์ผู้จะแก้  กำหนดแน่ดังกล่าวหมาย จันทน์สองอย่าเคลื่อนคลาย  ทั้งแห้วหมูและแฝกหอม หญ้าตีนนกรากคัดมอน ทั้งหกสิ่งปรุงให้พร้อม ต้มกินอย่าได้ออม กำเดาดีเลือดดับสูญ คิมหันต์แลเตโช ให้เกิดโรคสิ้นทั้งมูล วินาศเปรียบปานปูน  มฤคเห็นสิงหะหาย


เดือนห้าเดือนหกนี้อากาศร้อนมากเพราะเป็นช่วงฤดูร้อน ทำให้เกิดอาการเจ็บไข้ได้ป่วยตามที่ผมคัดลอกมาจากศิลาจารึกที่วัดโพธิ์ เพื่อมาให้ผู้อ่านทราบว่าเรื่องร้อนของฤดูมีมาแต่โบราณแล้ว 

ถ้าผู้อ่านจะแก้อาการที่ผมเขียนมาข้างบนนี้ หากท่านจะต้มยากิน ก็เอาตัวยาตามที่ผมเขียนนี้มาต้มกิน  แต่ถ้าไม่อยากกินยาก็ใช้ท่านวดที่ผมเขียนมานี้แทน

ถ้าจะนวดแก้เมื่อยเท้า-มือ ก็ใช้ท่าดัดกายคลายโรค  ท่าเลขสี่ชี้ฟ้า ท่าฤาษีดัดตนแก้เกียจ 
หมอวิทิต วัณนาวิบูล เขียนลงหนังสือกดจุดหยุดโรคว่า ถ้านอนไม่หลับให้กดจุดตรงรอยบุ๋มใต้ฝ่ามือด้านนิ้วก้อย ก็จะช่วยให้หลับสบายดี 

ตำรานวดของขุนโยธาพิทักษ์ เขียนว่า ถ้านอนไม่หลับให้นวดแข้งซ้ายด้านใน


 

 

ข้อมูลสื่อ

363-012
นิตยสารหมอชาวบ้าน 363
กรกฎาคม 2552
นวดไทย
พิศิษฐ เบญจมงคงวารี