• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

คุณทำได้... ฟื้นฟูสมรรถภาพมือและแขน (ตอนที่ ๔)

ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่มือและแขน เช่น กระดูกหัก เส้นเอ็นขาด หรือคนที่เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต ทำให้มือและแขนอ่อนแรง การฟื้นฟูเพื่อให้สามารถใช้มือและแขนในชีวิตประจำวันได้ มีความสำคัญต่อคุณภาพชีวิตของคนไข้

การฝึกบริหารมือและแขนโดยใช้อุปกรณ์ง่ายๆ
การฝึกความแข็งแรงและความคล่องแคล่วในการใช้มือและแขน โดยการประยุกต์ใช้อุปกรณ์ใกล้ตัว สำหรับฝึกเองที่บ้าน
๑.การขยำและคลี่กระดาษ เพื่อฝึกความแข็งแรง ความคล่องแคล่ว และความสัมพันธ์ของนิ้วมือและอุ้งมือ
 

        


 

การขยำกระดาษด้วยมือ
 

  

การคลี่กระดาษด้วยมือ
 

๒.การใช้ยางยืด ฝึกความแข็งแรงกล้ามเนื้อเหยียดนิ้วมือ
 

  


๓.การใช้ที่หนีบผ้า ฝึกความแข็งแรงกล้ามเนื้อนิ้วมือ


 

๔.การใช้ลูกบอลฝึกหยิบจับ กำมือ
 

  

 

๕.การกำเมล็ดถั่ว ฝึกความสามารถการกำไว้ได้ของอุ้งมือ นิ้วนาง และนิ้วก้อย โดยหยิบเมล็ดถั่วด้วยนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ กำไว้ในมือ แล้วหยิบเมล็ดถัดไป หยิบและกำไว้จนเต็มฝ่ามือ
 

 

๖.การฝึกหยิบจับวัตถุขนาดต่างๆ
 

  

 

การดัดแปลงอุปกรณ์
เพื่อให้สามารถใช้มือและแขนได้ ในขณะที่มือและแขนยังอ่อนแรง ซึ่งเป็นวิธีการฟื้นฟูที่ดีและลดการพึ่งพาผู้อื่น
การใช้สายรัดมือรัดอุปกรณ์ที่จะใช้งานติดกับฝ่ามือในกรณีมืออ่อนแรง เช่น ดินสอ ช้อน
 

  
 

ถ้าหยิบจับหรือถืออุปกรณ์ชิ้นเล็กๆ ลำบาก ควรพันด้ามให้ใหญ่ขึ้นด้วยวัสดุที่นุ่ม เพื่อให้หยิบจับหรือถือได้ง่าย
 

 

การฝึกใช้มือและแขนในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน
ควรให้ฝึกเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

  

  

   

 

 

ปัจจัยความสำเร็จ
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางมือและแขน เป็นงานสำคัญงานหนึ่ง ซึ่งต้องทำงานประสานกันระหว่างแพทย์ นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด และที่สำคัญคือ ความมุ่งมั่นหมั่นฝึกฝนของคนไข้  รวมทั้งการสนับสนุนกำลังใจจากญาติและผู้ดูแล
เคลื่อนขยับทีละข้อไม่ท้อแท้      เหยียดมือแบหยิบกำทำให้ได้
เจ็บจะทนผลจะดีอยู่ที่ใจ            สองมือใช้ลิขิตชีวิตนี้

 

 


 

ข้อมูลสื่อ

392-034
นิตยสารหมอชาวบ้าน 392
ธันวาคม 2554
เรื่องน่ารู้
นพ.สุรชัย ปัญญาพฤทธิ์พงศ์