• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

วัคซีนเอดส์ระยะที่ ๓ ฝีมือคนไทย

กว่าจะมาเป็นวัคซีนรักษาโรคร้ายให้ทุกคนได้อย่างที่เห็น ต้องผ่านการทดลองละเอียดทั้งในห้องปฏิบัติการ ในสัตว์ทดลอง และสุดท้ายในมนุษย์ วัคซีนเอดส์ก็เช่นกัน ซึ่งในปัจจุบันได้มีการทดลองในมนุษย์(ระยะที่ ๓)
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข จัดงานแถลงข่าว "ความก้าวหน้าและแผนการดำเนินงานประจำปี ๒๕๔๙ โครงการเอดส์ทดลองระยะที่ ๓" โดยมี นายพินิจ จารุสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในพิธี
"เชื้อเอชไอวีที่ระบาดอยู่ในประเทศไทยเป็นสายพันธุ์อี ซึ่งมีเพียงร้อยละ ๓ ของสายพันธุ์ทั่วโลก และต่างจากสายพันธุ์ที่พบในประเทศผู้ผลิตวัคซีนส่วนใหญ่ เป็นสาเหตุให้ประเทศไทยจะต้องดำเนินการวิจัย และพัฒนาวัคซีนอันเหมาะสมกับสายพันธุ์ที่ระบาดอยู่ในประเทศ" นายพินิจ กล่าว
การพิสูจน์ว่าสารชีวภาพที่ผลิตขึ้นสามารถนำมาใช้เป็นวัคซีนเอดส์ได้หรือไม่นั้น จำเป็นต้องผ่านการศึกษาวิจัย ๓ ขั้นตอนดังนี้
๑. การศึกษาในห้องปฏิบัติการ เป็นการศึกษาคุณสมบัติทางเภสัชภัณฑ์ทางกายภาพ และทางเคมี
๒.การศึกษาในสัตว์ทดลอง เป็นการศึกษาทางเภสัชวิทยา เภสัชจลนศาสตร์ และพิษวิทยาในสัตว์ทดลอง ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีสัตว์ชนิดใดที่มีการติดเชื้อเอชไอวี
๓.การศึกษาในมนุษย์ แบ่งออกเป็น ๓ ระยะ
ระยะที่ ๑ ใช้อาสาสมัครประมาณ ๑๐-๕๐ คน ที่มีสุขภาพแข็งแรงไม่ติดเชื้อใดๆ เพื่อตรวจสอบความปลอดภัยในสารที่อาจนำมาเป็นวัคซีนเอดส์
ระยะที่ ๒ ใช้อาสาสมัครประมาณ ๕๐-๔๐๐ คน เพื่อรวบรวมข้อมูลความปลอดภัย และสร้างภูมิคุ้มกันที่ร่างกายมีต่อเอดส์ทดลองให้มากขึ้น
ระยะที่ ๓ การศึกษาประสิทธิผลของวัคซีนในภาคสนาม โดยใช้อาสาสมัครจำนวนมาก และระยะเวลาประมาณ ๓ ปี เพื่อศึกษาประสิทธิผลในการป้องกันการติดเชื้อ หรือชะลอความรุนแรงของเชื้อเอชไอวี
จำนวนอาสาสมัครทั้งหมด ๑๖,๐๐๐ คน ที่โครงการฯได้มานั้น เป็นชาวระยอง ๔,๕๘๘ คน จังหวัดชลบุรี ๔,๑๓๔ คน และมาจากจังหวัดอื่น ๗,๖๗๘ คน
การใช้วัคซีนเอดส์เป็นกลไกสำคัญที่ช่วยประหยัดงบประมาณของประเทศในการรักษาพยาบาลได้มากมาย

ข้อมูลสื่อ

323-004-4
นิตยสารหมอชาวบ้าน 323
มีนาคม 2549
พญ.เพ็ญพรรณ วัฒนไกร
กองบรรณาธิการ