• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

โยคะ สำหรับผู้มีปัญหาหลังและข้อ หมอนรองกระดูกหลังส่วนล่างเคลื่อน

กล้ามเนื้อหลังและกล้ามเนื้อหน้าท้องที่ทำหน้าที่พยุงกระดูกสันหลัง ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อคือตัว รับแรงกระแทก (โช้กอัพ) ที่ดี สติในการเคลื่อนไหวอย่างเหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้เกิดความสมดุลของกล้ามเนื้อ ทั้งในขณะหดตัว เหยียดตัว และผ่อนคลาย
 
หมอนรองกระดูก คือ กระดูกอ่อนชั้นกลางระหว่างกระดูกสันหลัง ทำหน้าที่เป็นตัวรับแรงกระแทก สาเหตุที่ทำให้หมอนรองกระดูกมีปัญหามาจากอิริยาบถผิดท่า อายุขัย กล้ามเนื้อที่ทำงานประสานกันได้ไม่ดี กล้ามเนื้อที่ไม่ยืดหยุ่น ฯลฯ
 
เมื่อกล้ามเนื้ออ่อนแอ กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน หมอนรองกระดูกก็ต้องรับน้ำหนักมากเกินปกติ อันก่อให้เกิดปัญหา หากกำหนดว่าขณะยืนปกติมีแรงกดที่หมอนรองกระดูกเป็น 100 หน่วย เราสามารถเปรียบเทียบแรงที่กดทับลงบนหมอนรองกระดูกเป็นดังนี้ นอนหงายเป็น 25 หน่วย นอนตะแคงเป็น 75 หน่วย นั่งบนเก้าอี้ที่มีพนักเป็น 150 หน่วย ยืนก้มตัว (หลังงอ) เป็น 150 หน่วย นั่งบนเก้าอี้ที่ไม่มีพนักเป็น 175 หน่วย ยกของโดยงอหลัง(ซึ่งเป็นวิธีที่ผิด) เป็น 225 หน่วย นั่งบนวัตถุผิวโค้ง (ทำให้เราต้องคอยเลี้ยงตัว) เป็น 275 หน่วย การยกน้ำหนักเป็น 300 หน่วย
 
การเสื่อมตามอายุขัย ผนวกกับการใช้งานที่ไม่ถูกต้อง ทำให้หมอนรองกระดูกผิดปกติ ผลก็คือ แม้เราทำอะไรเล็กๆ น้อยๆ เช่น จาม ก้มตัว ยกของ ก็ทำให้หมอนนั้นเคลื่อนโผล่ออกมาจากตำแหน่งปกติเดิมของมัน ไปกดทับเส้นประสาทรอบๆ ก่อให้เกิดอาการปวดหรือชาที่หลังรวมไปถึงบริเวณขาทั้ง 2 ข้าง ทั้งนี้และทั้งนั้น การวินิจฉัยด้วยแพทย์ผู้ชำนาญ คือ ปัจจัยสำคัญของการหาสาเหตุ

                                  

          

ข้อมูลสื่อ

268-002
นิตยสารหมอชาวบ้าน 268
สิงหาคม 2544
โยคะ
กวี คงภักดีพงษ์