• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

โยคะ สำหรับผู้มีปัญหาที่ไหล่

บรรพบุรุษของมนุษย์อาศัยอยู่บนต้นไม้ เคลื่อนไหวโดยใช้แขนและไหล่ในการห้อยกิ่งไม้ตลอดเวลา ธรรมชาติจึงออกแบบไหล่ให้สามารถเคลื่อนไหวได้โดยอิสระ สามารถหมุนไหล่ได้เกือบรอบทิศ

ไหล่ประกอบด้วย กลุ่มข้อต่อย่อย 5 ชิ้น เกาะกันไว้ห่าง ๆ เพื่อให้สามารถเคลื่อนไหวได้มาก (โดยมีเอ็นมารัดรอบข้อใหม่อีกข้อหนึ่ง) เบ้าไหล่บริเวณกระดูกต้นแขนนั้นเป็นแอ่นที่ตื้นมาก และด้วยลักษณะทางธรรมชาติเช่นนี้ ไหล่จึงเป็นข้อที่เกิดปัญหาได้ง่าย ดังที่เราเคยได้ยินปัญหาไหล่หลุด นอกจากนั้น ไหล่ยังมีปัญหาเรื่องไหล่ยึด ข้อไหล่เสื่อม เอ็นไหล่อักเสบ ฯลฯ

ไหล่ยึด
เมื่อย่างเข้าวัย 40 หลายคนมีอาการไหล่ยึด ซึ่งเกิดจากการยึดติดของเส้นเอ็นของข้อต่อบริเวณไหล่ ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวไหล่ได้ตามปกติ เช่น ไม่สามารถยกของขึ้นเหนือหัว หรือผมไม่ได้ หรือถูหลังตัวเองไม่ได้ เมื่อขยับไหล่ผู้ป่วยจะมีอาการปวด ทำให้ใช้ไหล่น้อยลง ส่งผลให้ไหล่ยิ่งยึดมากขึ้น

กลยุทธ์ในการป้องกัน และอาสนะที่ช่วยได้
-  การออกกำลังกายบริหารข้อไหล่ คือการรักษาอาการไหล่ยึดที่ดีที่สุด
-  ในเบื้องต้น การบริหารข้อไหล่อาจสร้างความปวด แต่ผู้ป่วยต้องยอมทนปวด
การบริหารแขนและคอแบบโยคะ อาจใช้ท่าหัววัว ท่าบิดสันหลัง โกนาอาสนะ ท่ายืดลำตัว

การบริหารแขนและคอ
ยืนตรง มีสติ รับรู้การยืดของไหล่มาจนถึงปลายนิ้วและรับรู้การดึงข้างลำคอ
ประสานนิ้วเข้าหากัน
เหยียดแขนไปทางด้านหน้า ( ระดับไหล่ )

                                                         
ท่าบริหารทำหัววัว
ไขว้มือข้างหนึ่งไปด้านหลัง งอข้อศอกขึ้น เหยียดมืออีกข้างขึ้นเหนือศีรษะ งอศอกลงเกี่ยวนิ้วมือทั้ง 2 ไว้ด้วยกัน

                                                           
หากแตะมือไม่ถึงให้ใช้ผ้าช่วยเวลาทำ ค่อย ๆ ขยับมือเลื่อนเข้าหากันวันละน้อย จากนั้นทำสลับข้าง
-  แพทย์มีเครื่องมือบางอย่างที่ช่วยได้ เช่น การรักษาอัลตราโชนิกส์ ฯลฯ
-  เราไม่มีทางหายปวดหากอาการ “ ยึด ” ยังอยู่ ดังนั้นอย่าให้ความปวดมาเป็นข้ออ้างที่จะไม่บริหาร
-  อย่าใช้ถุงร้อน ถุงเย็น ประคบไหล่ อาจช่วยได้ ( แล้วแต่กรณี )
เหยียดแขนไปทางด้านซ้าย ( ระดับไหล่ )
เหยียดแขนไปทางด้านขวา ( ระดับไหล่ )

                                                                 

ชูแขนเหนือศีรษะ

                                                                  

ลองพนมมือทางด้านหลัง

                                                            
การบริหารแขนและคอทุกแบบ ทำได้เท่าที่ทำได้ พอทนได้ ค่อยเป็นค่อยไป อย่าฝืน

ท่าเหยืยดลำตัว
วิธีทำ : นอนหงาย แขนทั้งสองเหยียดไปเหนือหัว หายใจเข้าพร้อมกับเหยียดตัวสุด เหยียดแขน เหยียดลำตัว เหยียดขา พร้อมทั้งเหยียดนิ้วมือนิ้วเท้าด้วย ผ่อนคลายลำตัว พร้อม ๆ กับการหายใจออก

                                               

-  การนวดไม่มีประโยชน์ต่ออาการไหล่ยึด
-  การบริหารทำต่อเนื่องอย่างน้อย 3 เดือน เพื่อไม่ให้อาการกลับมาอีก
-  บริหารข้อภายใต้คำแนะนำของผู้เชียวชาญ เช่น แพทย์หรือนักกายภาพบำบัด เพื่อบริหารไหล่ได้อย่างถูกต้อง

ท่าโกนาอาสนะ
วิธีทำ : ยืนตรงเท้าทั้งสองห่างจากกัน 2 ฟุต มือซ้ายเท้าเอว เอียงตัวและศีรษะไปด้านขวา ขณะเอียงลงควรให้แผ่นหลังตรง และค่อย ๆ เลื่อนแขนขวาลงไปที่เข่า แขนซ้ายค่อย ๆ เลื่อนขึ้นมาที่รักแร้ จากนั้นทำสลับข้าง

                                                      

-  ต้องเป็นกรณีพิเศษจริง ๆ แพทย์จึงจะรักษาอาการไหล่ยึดด้วยการผ่าตัด
-  การออกกำลังกายสม่ำเสมอกัน กินยาตามคำแนะนำของหมอ คือวิธีรักษาที่เหมาะสมที่สุด
 

ข้อมูลสื่อ

270-003
นิตยสารหมอชาวบ้าน 270
ตุลาคม 2544
โยคะ
กวี คงภักดีพงษ์