• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

จากหมอมาสู่ครูโยคะ

โยคะในฐานะที่เป็นปรัชญา ในฐานะที่เป็นแนวทางปฏิบัตินำเราไปสู่การมองชีวิตในหลายๆ แง่มุม และค่อยๆทำให้เราตระหนักรู้ความจริงที่ว่า ทางออกของปัญหาทางกายและจิตนั้นอยู่ในตัวเราเอง

ต่อไปนี้เป็นบทสัมภาษณ์ระหว่าง เดสิคชา ครูสอนโยคะที่มีชื่อเสียงแห่งอินเดียว กับ คุณหมอ โดลแมน แพทย์แผนตะวันตก ชาวเยอรมันที่ใช้โยคะบำบัดในการรักษาคนไข้ เนื้อหาว่าด้วยคุณประโยชน์ของโยคะในกระบวนการรักษาคนไข้ เนื้อหาว่าด้วยคุณประโยชน์ของโยคะในกระบวนการรักษา

คุณหมอเดสิคชาเป็นแพทย์แผนปัจจุบัน เป็นศัลยแพทย์ และยังรู้เรื่องของแพทย์แผนจีน รู้เรื่องการฝังเข็มและการใช้สมุนไทร ทำไมคุณหมอจึงเลือกโยคะ

หมอโดลแมนกล่าวว่า ผมพบว่าการรักษาผู้ป่วยในระบบแพทย์แผนปัจจุบัน ยังขาดอะไรบางอย่าง ซึ่งนั่นก็คือ ความเคารพต่อศักยภาพใจตัวของผู้ป่วย ส่วนแพทย์แผนจีนนั้น แม้จะมีวิถีทางที่คล้ายคลึงกับโยคะ โดยเฉพาะการยอมรับว่า มีบางสิ่งบางอย่างภายในตัวเราที่คอยดูแลตัวมันเอง แต่แพทย์แผนจีนเน้นไปทางการใช้ยาค่อนข้างมาก

สิ่งที่ผมทึ่งในโยคะก็คือ โยคะมองว่าทุกคนมีพลังบำบัดภายในอยู่แล้ว ทุกคนสามารถพัฒนาพลังที่อยู่ภายในนี้ได้ และคนแต่ละคนมีความรับผิดชอบต่อสุขภาพของตนเอง

ที่คุณหมอกล่าวว่า คนแต่ละคนมีความรับผิดชอบต่อสุขภาพของตนเองคุณหมอหมายความว่าอย่างไร
เมื่อคนไข้มาพบ ผมต้องฟังคนไข้ และทำความเข้าใจว่าทำไมเขาหรือเธอผู้นี้จึงมาหาผม และมีความประสงค์อะไร ผมพยายามทำความเข้าใจว่า คนไข้มีความสามารถอะไร มีศักยภาพแค่ไหน และมีข้อจำกัดอะไรบ้างจากนั้นจึงให้คำแนะนำในการฝึกที่คนไข้สามารถนำไปปฏิบัติได้เองที่บ้าน นี่คือการรับผิดชอบต่อสุขภาพของตนเอง ที่ผมหมายถึง

ทำไมจึงเป็นโยคะ ทั้งๆ ที่ชาวเยอรมันดูจะมีทุกสิ่งทุกอย่างครบแล้ว ผู้คนในใจในเรื่องการออกกำลังกายอย่างมาก ทั้งที่วิทยาการทางการแพทย์ก็ล้ำหน้า

ใช่ เรามีผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ มากมาย เรามีหมอ นักจิตวิทยา นักจิตบำบัด นักวิเคราะห์ นักให้คำปรึกษา-แนะนำ คนส่วนใหญ่เมือไปพบผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ รู้สึกว่าบรรดาผู้เชี่ยวชาญไม่สามารถทำให้เรารู้สึกดีได้อย่างเป็นภาพรวม

ยกตัวอย่างเช่น หากผมเป็นโรคหอบเรื้อรัง ผมอาจไปพบหมอที่จะให้ยาปฏิชีวนะ อาการหอบจะได้รับการรักษา แต่มันก็จะกลับมาเป็นอีก ในรูปแบบที่รุนแรงกว่าเดิม ดังนั้น ผู้คนรู้สึกว่าพวกเขาควรจะไปยังที่ที่ไม่ได้มองว่าปัญหาคือเพียงเรื่องของอาการหอบ แต่เป็นที่ที่มองว่ามันคือปัญหาของ “คนที่เป็นหอบ”

เราเรียกสิ่งที่เราทำอยู่นี้ว่า ระบบทางเลือกเพราะมันมีทางเลือก มากกว่าแค่เพียงระบบแพทย์แผนปัจจุบันเพียงอย่างเดียว

 

ข้อมูลสื่อ

272-003
นิตยสารหมอชาวบ้าน 272
ธันวาคม 2544
โยคะ
กวี คงภักดีพงษ์