สัญญาณ การตั้งครรภ
“ฉันกำลังจะได้เป็นแม่”
“ฉันจะตั้งครรภ์หรือไม่” เป็นคำถามแรกที่เกิดขึ้นในใจของผู้หญิงทุกคนในทันทีที่เริ่มมีอาการผิดแปลกไปจากปกติ วิทยาการสมัยใหม่ช่วยให้การวินิจฉัยการตั้งครรภ์ได้ผลเร็วมากเกือบจะทันทีที่มีการปฏิสนธิด้วยการตรวจสอบง่าย ๆ บางประการก็สามารถตอบคำถามที่สงสัยได้ แต่ก็มีบางสิ่งที่ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับการตรวจสอบการตั้งครรภ์
เรามักจะได้ยินคำถามบ่อย ๆ ว่า “จำเป็นหรือไม่ที่ผู้หญิงที่เริ่มตั้งครรภ์ทุกคนต้องมีอาการแสดงให้รู้ว่าเริ่มตั้งครรภ์”
คำตอบคือ ไม่จำเป็นที่คนเริ่มตั้งครรภ์ทุกคนต้องแสดงอาการอย่างใดอย่างหนึ่งออกมา บางคนเริ่มตั้งครรภ์แต่ไม่มีอาการแสดงแต่อย่างใดให้ปรากฏเลย
อาการแสดงของการเริ่มตั้งครรภ์ก็มีมากมายและหลากหลายในแต่ละบุคคล อาการแสดงเหล่านี้ไม่ใช่ข้อที่จะบ่งชี้แน่นอนว่าเกิดจากการตั้งครรภ์ แต่ก็ไม่ใช่อาการที่ไร้ความหมายโดยสิ้นเชิง
การวินิจฉัยการตั้งครรภ์ของแพทย์มักจะใช้อาการแสดงออกที่พบบ่อยประกอบกับการตรวจร่างกาย และการทดสอบบางอย่าง โดยเฉพาะการวินิจฉัยการตั้งครรภ์ในระยะต้น ๆ ทั้งนี้ตามหลักวิชาการสิ่งที่จะใช้บอกการตั้งครรภ์ที่แน่นอนคือ เสียงเต้นของหัวใจเด็ก ซึ่งจะฟังได้ยินด้วยเครื่องฟังชนิดพิเศษเมื่อตั้งครรภ์ได้ 10-12 สัปดาห์ และถ้าใช้หูฟังธรรมดาก็จะได้ยินเมื่อตั้งครรภ์ 18-20 สัปดาห์
ดังนั้นในระยะต้น ๆ ของการตั้งครรภ์ เราจึงมีเพียงอาการแสดงของการตั้งครรภ์ เราจึงมีเพียงอาการแสดงของการตั้งครรภ์ที่จะใช้เป็นข้อวินิจฉัยทางการแพทย์ และได้มีการจัดแบ่งกลุ่มอาการแสดงเหล่านี้เป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มอาการชี้บ่ง ซึ่งเป็นกลุ่มอาการแรกพบของการตั้งครรภ์ และมักจะพบได้จากสาเหตุอื่น ๆ เช่น ความเครียด หรือการเจ็บป่วย ซึ่งเป็นกลุ่มอาการที่ไม่อาจจะสรุปเป็นข้อวินิจฉัยได้ และกลุ่มอาการน่าจะเป็นนี้มักจะเกิดร่วมกับกลุ่มอาการชี้บ่ง และเป็นกลุ่มอาการที่ได้จากการตรวจร่างกายของแพทย์ จึงมีความชัดเจนมากขึ้นที่จะวินิจฉัยการตั้งครรภ์ด้วยกลุ่มอาการน่าจะเป็น
แต่อย่างไรก็ดี การวินิจฉัยทางการแพทย์จะสมบูรณ์ต่อเมื่อตรวจพบอาการแสดงที่แน่ชัดประการใดประการหนึ่งในตารางที่ 3 ซึ่งถือเป็นกลุ่มอาการชี้ชัดหรือแน่นอน ส่วนรายละเอียดและข้อเปรียบเทียบของอาการแสดงที่อาจจะเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ได้แสดงไว้ในตาราง 1,2 และ 3
ตารางที่ 1 กลุ่มอาการชี้ล่งว่าอาจจะตั้งครรภ์
อาการแสดง | ระยะเวลาที่เกิดอาการ | สาเหตุอื่นที่ไม่ใช่การตั้งครรภ์ |
1.การขาดประจำเดือน | ทันทีที่เริ่มตั้งครรภ์ |
การเดินทาง, ย้ายที่อยู่ ,ความเครียด ร่างกายเหนื่อยล้า ,กลัวการตั้งครรภ์ ใช้ยาคุมกำเนิด, ระยะให้นมบุตร,การเพิ่มหรือการลดน้ำหนักมากๆ,โรคอ้วน,โรคของระบบต่อมไร้ท่อ เช่น เบาหวาน |
2.คลื่นไส้ อาเจียน( ไม่จำเป็นต้องมีอาการในเวลาตื่นนอนตอนเช้า ) | 2-8 สัปดาห์ ภายหลังการปฏิสนธิ |
อาหารเป็นพิษ ,ความเครียด ,โรคติดต่อ หรือการเจ็บป่วยอื่นๆ |
3.ปัสสาวะบ่อย | ประมาณ 6-8 สัปดาห์ หลังการปฏิสนธิ | การติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ,ความวิตกกังวล,โรคเบาหวาน, ใช้ยาขับปัสสาวะ |
4.เต้านมขยายและมีอาการตึงคัด |
พบเป็นอาการแรกก่อนอาการแสดงอื่น ๆประมาณ 2-3 วันหลังการปฏิสนธิ |
ใช้ยาคุมกำเนิด,อาการเตือนก่อนการมีประจำเดือน |
5.การเปลี่ยนแปลงสีผิวของช่องคลอดและปากมดลูก* | 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ | อาการเตือนก่อนการมีประจำเดือน |
6.การเปลี่ยนสีผิวของลานนมและการเพิ่มขนาดของเต้านม | 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ |
การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนผลสืบเนื่องจากการตั้งครรภ์ครั้งก่อน |
7.รอยแตกสีชมพู หรือสีคล้ำของผิวหนังหน้าท้องและบริเวณเต้านม | 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ |
การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนผลสืบเนื่องจากการตั้งครรภ์ครั้งก่อน |
8.เบื่ออาหาร | 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ | การขาดอาหาร,ความเครียด,อาการเตือนก่อนการมีประจำเดือน |
9.เส้นสีดำกลางลำตัวที่ผิวหนังหน้าท้องจากระดับสะดือถึงหัวเหน่า | เดือนที่4 หรือ 5 ของการตั้งครรภ์ |
การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนผลสืบเนื่องจากการตั้งครรภ์ครั้งก่อน |
* เป็นอาการที่แพทย์ใช้เป็นข้อวินิจฉัยการตั้งครรภ์ในการตรวจร่างกาย
ตารางที่ 2 กลุ่มอาการน่าจะเป็นและอาการที่พบในกรณีอื่น ๆ ที่ไม่ใช่การตั้งครรภ์ อาการ ระยะเวลาที่เกิดอาการ สาเหตุอื่น 1.มดลูกและปากมดลูกอ่อนนุ่มกว่าปกติ* 2-3 สัปดาห์หลังการปฏิสนธิ การมีประจำเดือนคลาดเคลื่อนล่าช้ากว่าปกติ 2.มดลูกโตและหน้าท้องขยายใหญ่* ตั้งครรภ์ 8-12 สัปดาห์ เนื้องอกของมดลูก 3.การหดรัดตัวเป็นครั้งคราวของกล้ามเนื้อมดลูก เริ่มในทันทีที่มีการตั้งครรภ์และอาการเพิ่มมากขึ้นตามอายุครรภ์ การเคลื่อนไหวของลำไส้, อาการมีลมมากในทางเดินอาหาร
* เป็นอาการที่แพทย์ใช้เป็นข้อวินิจฉัยการตั้งครรภ์ในการตรวจร่างกาย
ตารางที่ 3 อาการแสดงชี้ชัดว่าตั้งครรภ์
อาการแสดง | ระยะเวลาที่เกิดอาการ | สาเหตุอื่น |
1.ตรวจด้วยคลื่นเสียงพบตัวเด็ก (อัลตราซาวนด์) | 4-6 สัปดาห์หลังการปฏิสนธิ | ไม่มี |
2.ฟังเสียงเต้นของหัวใจเด็ก | 10-12 สัปดาห์ ** |
ไม่มี |
3.ตรวจพบการเคลื่อนไหวของเด็กจากการคลำทางหน้าท้องแม่ | หลังการตั้งครรภ์ 16 สัปดาห์ขึ้นไป | ไม่มี |
** ระยะเวลาที่พบขึ้นอยู่กับเครื่องมือที่ใช้
- อ่าน 82,912 ครั้ง
พิมพ์หน้านี้