• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

การฟื้นฟูกลไก กาย-จิตปราณายามะปราณายามะ

การฟื้นฟูกลไก กาย-จิตปราณายามะปราณายามะ


กำลังเริ่มเป็นที่กล่าวถึง มีรูปแบบการฝึกอันหลากหลาย โดยมีลักษณะสำคัญคือ การตั้งใจกำกับลมหายใจ บางคนเรียกปราณายามะว่า การฝึกลมหายใจ

เมื่อใช้คำว่าการฝึกลมหายใจ ผู้ที่คุ้นเคยกับแนว คิดแบบตะวันตกอาจนึกไปถึงการฝึกสูดลมหายใจลึกๆ เพื่อให้ได้ปริมาณออกซิเจนมากๆ ซึ่งนั่นไม่ใช่ปราณายามะ ที่เรากำลังพูดถึง
ปราณายามะอันมีรูปแบบการฝึกหลากหลาย ล้วนเน้นไปที่สภาวะแห่งกุมภกะ ได้แก่ ช่วงที่เราหยุดการหายใจชั่วคราว (ระหว่างลมหายใจเข้า-ออก) ในศาสตร์หฐโยคะ ปราณายามะเป็นที่รู้จักกันในชื่อของกุมภกะ ดังจะเห็นได้จากตำราหฐประทีปิกะ บทที่ 1 ประโยคที่ 56 57 ระบุว่า "หฐโยคะประกอบไปด้วยการฝึก อาสนะ กุมภกะ มุทรา และนาดานุสันทนา ไปตามลำดับ"

กุมภกะสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะ
1. อภยันตรา หรือพูรนากุมภกะ คือช่วงที่เราหยุดหายใจหลังจากที่เราเพิ่งสูดลมหายใจเข้าไปอย่างเต็มที่ เป็นสภาวะที่ปอด หรือถุงลมในปอดเต็มไปด้วยลมหายใจ เป็นสภาวะที่ความกดอากาศภายในปอดสูงกว่าความกดอากาศภายนอก

2. ภยา หรือสุญญากุมภกะ คือการหยุดลมหายใจ หลังจากที่เราหายใจออกไปจนหมดปอด เป็นช่วงที่ความ กดอากาศในปอดน้อยกว่าความกดอากาศภายนอก

3. เควาลากุมภกะ หรือสภาวะหยุดหายใจระหว่างกลาง คือหยุดหายใจขณะที่ความกดอากาศใน ปอดเท่าๆ กับความกดอากาศภายนอก การหยุดหายใจ แบบที่ 3 นี้ จะค่อยๆ เกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ หลังจากที่เราฝึกหยุดหายใจ 2 แบบแรก

หฐโยคะระบุให้เราฝึกปราณายามะควบคู่ไปกับการ ฝึกพันธะ (เรื่องพันธะดูคำอธิบายฉบับที่ 335 ประจำ เดือนมีนาคม พ.ศ.2550) กล่าวคือ การฝึกควบคุมลมหายใจเข้า (พูรากะ) จะกระทำควบคู่ไปกับมูละพันธะ ซึ่งเป็นการเกร็งกล้ามเนื้อหูรูดที่ทวาร ขมิบทวารเข้าสู่ภายใน

การฝึกหยุดลมหายใจ (กุมภกะ) จะกระทำควบคู่ไปกับจาลันดะพันธะ คือการเกร็งคอ เก็บคางลงจดแนบ ทรวงอก ที่บริเวณแอ่งไหปลาร้าใต้คอ (jugular notch) ซึ่งทำให้เกิดแรงกดมากที่บริเวณข้างคอทั้ง 2 ด้าน (carotid sinuses) การควบคุมลมหายใจออก (เรชากะ) จะทำควบคู่ไปกับอุทธิยานะพันธะ คือการเกร็งล็อกที่บริเวณช่องท้อง โดยเฉพาะที่บริเวณท้องน้อยใต้สะดือ พร้อมๆ กับการยกกะบังลมขึ้นสูงติดปอด

พันธะเหล่านี้จะทำประกอบไปกับการฝึกควบคุมลมหายใจทุกรอบ จากคำอธิบายเช่นนี้จะเห็นได้ว่า ปราณายามะไม่ได้เน้นที่การเพิ่มค่าออกซิเจนหรือการลดความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ แต่เป็นการควบคุมแรงกดดันภายในปอด แรงกดดันภายในช่องทรวงอก และแรงกดดันในช่องท้อง เป็นการคงสภาวะแรงกดดันนี้ไว้ให้ได้นานพอประมาณ

ดังนั้น การหายใจเข้า การหยุดลมหายใจ การหายใจออกล้วนถูกควบคุมในปราณายามะ ในแต่ละส่วนใช้เวลาหลายวินาที ซึ่งการหน่วงเวลาให้เนิ่นนานออกไปสักครู่ไม่ใช่เพียงลักษณะของปราณายามะเท่านั้น แต่เป็นลักษณะของเกือบทุกเทคนิคในโยคะ ตำราดั้งเดิมกำหนดช่วงเวลา อัตราส่วนเวลาของปราณายามะ ทั้ง 3 ส่วน ดูเหมือนว่าจะมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้ฝึกรู้ศักยภาพของตนเอง ไม่ฝืนปฏิบัติมากเกินควร ซึ่งอาจจะส่งผลเสียต่อกลไกระบบหายใจอันละเอียดอ่อน และส่งผลกระทบไปยังส่วนอื่นๆ โดยรวม

เทคนิคปราณายามะค่อนข้างซับซ้อน แต่ละรูปแบบมีกฎเกณฑ์ที่เฉพาะเจาะจง เช่น ความแรงของลม ระยะเวลา การใส่ใจไปที่ร่างกายจุดใดจุดหนึ่งเป็นการเฉพาะ ระหว่างการหายใจ เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้ สำหรับนักเรียนที่สนใจฝึกโยคะอย่างจริงจัง ในตำราโยคะบำบัด เล่มนี้ จะไม่ได้ให้รายละเอียดของการฝึก จะอธิบายเฉพาะลักษณะการฝึกโดยรวมของปราณายามะ

การฝึกปราณายามะ

ก่อนที่เราจะศึกษาวิธีการฝึกปราณายามะ เราเริ่ม จากการหายใจปกติเสียก่อน
การหายใจโดยทั่วไปมีอยู่ 3 แบบ แม้จะไม่ได้มีการตั้งชื่อเรียกเป็นการเฉพาะ ได้แก่

1. การหายใจด้วยทรวงอก ซึ่งจะมีการยกเฉพาะ ทรวงอกขึ้นขณะหายใจ โดยที่ช่องท้องขยับแต่น้อยหรือไม่ขยับ และการเคลื่อนไหวของกะบังลมเป็นไปเพียงเล็กน้อย

2. การหายใจด้วยหน้าท้อง หรือการหายใจด้วย กะบังลม ซึ่งการเคลื่อนไหวจะเกิดอย่างชัดเจนที่บริเวณผนังหน้าท้อง ท้องพองขณะหายใจเข้าและท้องยุบขณะหายใจออก ในการหายใจแบบนี้ กะบังลมจะเคลื่อนตัวมากที่สุด

3. หายใจแบบเต็ม ซึ่งเป็นการผสมทั้ง 2 ส่วนเข้าด้วยกัน เบื้องต้น แอ่นอกสูดลมหายใจเข้า จากนั้นกะบังลมเคลื่อนตัวตกลงจนสุด ท้องพองออกมา ส่วนตอนหายใจออกจะกลับกันคือ ช่องท้องแฟบยุบลง กะบังลมเคลื่อนตัวขึ้น แล้วทรวงอกค่อยๆ บีบตัวยุบลงไล่ลมหายใจออกจนสุดการหายใจโดยทั่วไปจะอยู่ใน

การหายใจ 3 แบบที่ว่านี้ ขึ้นอยู่กับเพศ นิสัย และการฝึกของแต่ละคน ผู้หญิงโดยปกติจะหายใจด้วยทรวงอก ขณะที่โดยปกติ ผู้ชายหายใจด้วยหน้าท้อง

ข้อมูลสื่อ

336-010
นิตยสารหมอชาวบ้าน 336
เมษายน 2550
โยคะ
กวี คงภักดีพงษ์