• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

โยคะบำบัด

โยคะบำบัด


บทที่ 3 การปรับสภาพของกลไก กาย-จิตมุทรา และ พันธะ

มุทราและพันธะคือเทคนิคพิเศษที่มีอยู่ในหฐโยคะ เทคนิคต่างๆ แทบทั้งหมดของมุทรา-พันธะประกอบด้วยการกดล็อกเส้นประสาท-กล้ามเนื้อเฉพาะจุด รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงความกดดันภายในร่างกายอย่างมาก (ดูภาพประกอบ) การฝึก มุทรา-พันธะมีผลโดยตรงต่อความแข็งแรงของอวัยวะภายใน การหลั่งของต่อมต่างๆ รวมถึงต่อมไร้ท่อ และปมประสาทสำคัญๆ บางจุด

ในตำราดั้งเดิม มีการกล่าวอ้างว่ามุทรา-พันธะช่วย ลดการขับปัสสาวะและอุจจาระ โดยเฉพาะเทคนิคที่ชื่อว่า มูละพันธะ และอุทธิยานะพันธะ ซึ่งเป็นการสร้างแรง กดดันในพื้นที่เล็กๆ ที่เฉพาะเจาะจง ในช่องท้องหรือช่องทรวงอก แรงกดดันที่ว่านี้มากน้อยแตกต่างกันไปขึ้นกับความสามารถของผู้ปฏิบัติเมื่อไม่นานมานี้ มีการค้นพบ คอร์ติโซน และคาร์บอนิก แอนไฮเดรส ซึ่งเป็นเอนไซม์จากสมอง ทำหน้าที่ คล้ายฮอร์โมนอะดรีนาลิน คือควบคุมการสันดาปของน้ำในร่างกาย จากการศึกษาในห้องทดลองพบว่า พันธะและมุทราบางชนิด เช่น ศีรษะอาสนะ สวางค์อาสนะ (โปรดสังเกตว่า ผู้เขียนจัด ศีรษะอาสนะ สวางค์อาสนะ อยู่ในกลุ่มมุทรา) ฯลฯ ทำให้เกิดผลต่อความกดดันในช่องท้องส่วนล่าง ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับการทำงานของ คอร์ติโซน กล่าวคือ เทคนิคพันธะ-มุทราทำให้เกิดผลเช่นเดียวกันกับการใช้คอร์ติโซนเพื่อบำบัดรักษา ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมคือ เมื่อให้คนไข้ที่มีค่าอิโอสิโนฟิเลีย (อาการที่เลือดขาดเม็ดเลือดขาว) สูง 70% c.mm. มาฝึกศีรษะอาสนะแทนการกินยา เป็นเวลา 6 เดือน ค่าอิโอสิโนฟิเลีย ลดลงเหลือ 12-17% c.mm. ในทางทฤษฎี พอจะกล่าวได้ว่า การฝึกพันธะ-มุทรา ทำให้เกิดแรงกดดันในช่องท้อง ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายผลิตคอร์ติโซนเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดผลดีต่อร่างกายแบบเดียวกับที่เราได้รับจากฮอร์โมนอะดรีนาลิน

อย่างไรก็ตาม เรายังคงต้องศึกษาทดลอง เพื่อให้มีหลักฐานยืนยันมากขึ้น ก่อนที่จะสรุปได้อย่างเต็มปากเต็มคำ คำอธิบายข้างต้นมุ่งหวังที่จะแสดงให้เห็นแนว ทางการวิจัยทางด้านโยคะที่กว้างและหลากหลาย ในขอบเขตของการบำบัดรักษา

จะเห็นได้ว่า แม้การฝึกมุทรา-พันธะจะดูเรียบง่าย แต่ผลที่เกิดขึ้นกับผู้ฝึกค่อนข้างซับซ้อน จึงควรฝึกมุทรา-พันธะด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง เปรียบได้กับการรักษาอย่างเฉพาะเจาะจงด้วยยาสมัยใหม่ (ไม่ใช่แค่การส่งเสริมสุขภาพทั่วๆ ไป แบบที่เราได้รับจากการฝึกอาสนะ) ผลที่เกิดขึ้นทางสรีรวิทยานั้นมีมาก ดังนั้น หากทำเกินไปแม้เพียงเล็กน้อย อาจทำให้ผู้ฝึกมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายได้

ดังที่ได้เคยกล่าวก่อนหน้า มุทรา-พันธะจึงไม่น่าจะเหมาะกับเด็ก ผู้ฝึกควรเริ่มฝึกเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นไปแล้ว เช่น วัยรุ่นชายอายุราว 16 ปีขึ้นไป วัยรุ่นหญิงอายุ 14 ปีขึ้นไป ทั้งนี้ทั้งนั้น ขึ้นกับสภาวะของผู้ฝึกแต่ละคนด้วย


 
การฝึกมุทราขณะทำปราณายามะเรียกว่าพันธะ ซึ่งช่วยล็อก กำกับแรงกดดันให้ไปในทิศทางที่เฉพาะเจาะจง
D.E. Deep Exhalation ช่วงหายใจออกสุด
U Uddiyana อุทธิยานะ
M.N. Madhyama Nauli นาอุลิ (แบบอยู่ตรงกลาง มัธยามะ)
R. relaxation ช่วงผ่อนคลาย
D.I. Deep Inhalation ช่วงหายใจเข้าสุด

เครื่องวัดการเคลื่อนไหวในลักษณะเป็นคลื่น kymographic แสดงผลแรงกดดันที่เปลี่ยนแปลงขณะทำอุทธิยานะและนาอุลิ ในภาพแสดงให้เห็นว่า อุทธิยานะทำให้แรงกดดันในช่องท้องลดลง 35 มิลิเมตรปรอท ส่วนนาอุลิทำให้แรงกดดันในช่องท้องลดลง 55 มิลลิเมตรปรอท จากการวัดอุทธิยานะสามารถลดแรงกดดันในช่องท้องลงได้ 20-80 มิลิเมตรปรอท และนาอุลิสามารถทำให้แรงกดดันในช่องท้องลดลงได้ 50-120 มิลิเมตรปรอท

ข้อมูลสื่อ

335-011
นิตยสารหมอชาวบ้าน 335
มีนาคม 2550
โยคะ
กวี คงภักดีพงษ์