• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

การป้องกันโรคเอดส์ในออสเตรเลีย

ขณะนี้ในประเทศออสเตรเลียได้มีโครงการรณรงค์เพื่อสุขภาพที่สำคัญ 2 โครงการด้วยกันคือ
1. โครงการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่
2. โครงการรณรงค์ป้องกันโรคเอดส์

ณ ที่นี้จะขอเล่ารายละเอียดเกี่ยวกับโครงการรณรงค์ป้องกันโรคเอดส์
โรคเอดส์หรือที่เรียกว่า “โรคภูมิต้านทานบกพร่อง” เป็นโรคที่มีการติดเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ผู้ป่วยโรคนี้จะถูกไวรัสทำลายภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิดการติดเชื้อโรคชนิดอื่นๆ หรือเกิดมะเร็งของหลายอวัยวะตามมาอันเป็นผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิต ขณะนี้ยังไม่มีวิธีการใดที่สามารถรักษาโรคนี้อย่างได้ผล ดังนั้นผู้ป่วยทุกรายจึงเสียชีวิตในที่สุด โรคนี้ระบาดเป็นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา หลังจากนั้นมีรายงานการระบาดของโรคนี้ในประเทศแถบทวีปยุโรป ทวีปแอฟริกา และทวีปออสเตรเลีย

9 เมษายน 2530 คือวันปฐมฤกษ์สำหรับการรณรงค์ป้องกันโรคเอดส์ทั่วประเทศออสเตรเลีย รัฐบาลออสเตรเลียยอมควักกระเป๋าเพื่อดำเนินโครงการนี้ด้วยเงินงบประมาณจำนวน 54 ล้านบาท!

ทำไมรัฐบาลออสเตรเลียจึงให้ความสำคัญต่อโครงการนี้มากนัก?
1. จากผลการวิจัยพบว่าปัจจุบันคนออสเตรเลียราว 2 ล้านคน หรือเกือบ 1 ใน 10 (ทั้งประเทศมีประชากร 12 ล้านคน) กำลังตกอยู่ในภาวะเสี่ยงอย่างยิ่งต่อการติดโรคเอดส์

2. โรคเอดส์เป็นโรคที่รักษาไม่หาย ผู้ป่วยทุกรายต้องตาย จนถึงปัจจุบันในบรรดาผู้ป่วยที่อยู่ในระยะสุดท้ายของโรคจำนวน 442 คน ได้ตายไปแล้วกว่าครึ่งหนึ่ง (238 คน)

ฉากแรกของภาพยนตร์เริ่มด้วยการจับคนจำนวน 10 คน ต่างเพศต่างวัย มารวมกันที่ปลายรางโบว์ลิ่ง (เหมือนกับการจัดขวดโบว์ลิ่งวางบนปลายรางนั่นแหละ) แล้วมีปีศาจหน้าเป็นกะโหลกคลุมหัวและลำตัวด้วยชุดดำ มือหนึ่งถืออาวุธ อีกมือหนึ่งถือลูกโบว์ลิ่งสีดำ(ดูภาพประกอบ) บรรยากาศในฉากมีควันฟุ้งกระจายท่ามกลางความมืด ปีศาจตนนั้นโยนลูกโบว์ลิ่งพุ่งไปหาฝูงชน 10 คนนั้น ในครั้งแรกชนถูกคน 8 คนล้มลงเสียชีวิต
เหลือหญิงผู้หนึ่งอุ้มลูกสาวไว้ในอ้อมกอด สีหน้าของคนทั้งสองบ่งชี้อาการตื่นตระหนกสุดขีด แล้วโบว์ลิ่งลูกที่ 2 ก็ถูกโยนเข้าใส่ 2 แม่ลูกล้มลงเสียชีวิตในที่สุด

ภาพยนตร์นี้ต้องการทำให้ผู้ชมเห็นความน่ากลัวขอโรคเอดส์ อันเป็นภัยที่คุกคามทุกชีวิตในสังคม
หลังจากการแพร่ภาพทางทีวี ในวันแรกก็มีการสำรวจความเห็นของผู้ชม ปรากฏว่ามีทั้งผู้สนับสนุนและคัดค้านการแพร่ภาพดังกล่าว ฝ่ายสนับสนุนให้เหตุผลว่า ภาพยนตร์ช่วยให้ตระหนักถึงภัยอันน่าสะพรึงกลัวของโรคเอดส์ ฝ่ายคัดค้านก็ว่ามันน่ากลัวเกินไป ไม่เหมาะสำหรับเด็ก บางคนถึงกับพูดว่ามันทำให้ลูกของเขาฝันร้าย บางคนพูดว่าน่าตลกขบขันเสียมากกว่า

คำขวัญของการรณรงค์คือ “Prevention is the only one we’ve got” แปลว่า “การป้องกัน คือทางรอดที่เรามีอยู่”

คำแนะนำสำหรับป้องกันโรคเอดส์คือ
1. ให้ยุติหรือหลีกเลี่ยงการสำส่อนทางเพศ
2. ให้ยุติหรือหลีกเลี่ยงการร่วมเพศกับผู้ที่ฉีดยาเสพติด
3. ให้ใช้ถุงยางอนามัยขณะร่วมเพศในกรณีที่ไม่อาจงดเว้นการสำส่อนทางเพศหรือการร่วมเพศกับผู้ที่ฉีดยาเสพติด
4. ให้งดเว้นการฉีดยาโดยใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน (มุ่งหมายสำหรับพวกติดยาเสพติด เพราะเป็นคนกลุ่มเดียวที่กำลังใช้วิธีดังกล่าว)

3. จำนวนผู้ที่ติดเชื้อโรคเอดส์ในระยะไม่แสดงอาการมีทั้งสิ้นราว 50,000 คน(คนกลุ่มนี้จัดว่าเป็นผู้ที่มีโอกาสแพร่โรคไปสู่ผู้อื่นมากที่สุด)

4. ในการรักษาและวินิจฉัยผู้ป่วยแต่ละรายสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายถึง 9 แสนบาท! (นับจากวินิจฉัยว่าป่วยจนกระทั่งตาย)

กล่าวโดยสรุปคือ รัฐบาลออสเตรเลียเห็นว่า โรคเอดส์เป็นโรคที่ร้ายแรงถึงชีวิต ไม่มีทางรักษา กำลังระบาดและสิ้นเปลืองเงินทองอย่างมากในการรักษาทั้งๆที่รักษาทั้งๆที่รักษาไม่ได้ผล ดังนั้น จึงต้อง “ป้องกัน” ไม่ให้คนเป็นโรคนี้

ในการรณรงค์เขาได้แบ่งเป็น 2 ขั้นตอนสำคัญคือ
1. ทำให้สังคมตื่นตัว จุดมุ่งหมายหลักของขั้นตอนนี้คือ ต้องการกระตุ้นให้ประชาชนหันมาสนใจปัญหานี้ เพื่อจะได้อยากรู้ว่าจะป้องกันโรคได้อย่างไร
2. สอนวิธีป้องกัน เมื่อประชาชนตื่นตัวแล้วพวกเขาก็จะแสวงหาวิธีป้องกัน รัฐบาลก็ตอบสนองโดยให้ความรู้ว่าจะป้องกันโรคได้อย่างไร

ทั้ง 2 ขั้นตอนนี้ไม่ได้แยกจากกันโดยเด็ดขาด ในระยะแรกขณะที่สังคมยังไม่สนใจปัญหา เขาก็เน้นที่การกระตุ้นให้ตื่นตัว ขณะเดียวกันก็สอนวิธีป้องกันไปด้วย
การรณรงค์อาศัยการเผยแพร่ข่าวสารผ่านสื่อมวลชนทุกรูปแบบอันได้รับความสนใจและกล่าวขานกันมากคือ การแพร่ภาพทางทีวีในรูปแบบขางภาพยนตร์ยาว 60 วินาที

จะเห็นได้ว่าคำแนะนำเหล่านี้เป็นการสอนให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เป็นภัยต่อสุขภาพ นั่นคือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเป็นสาเหตุสำคัญอันหนึ่งของการติดโรคเอดส์ แม้ว่ายังไม่มีวิธีรักษาโรคเอดส์แต่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมก็สามารถป้องกันโรคเอดส์ได้เป็นอย่างดี

กรณีของโรคเอดส์จึงเป็นอุทาหรณ์ที่ชี้ให้เราเห็นว่า พฤติกรรมของคนเราเกี่ยวข้องอย่างแนบแน่นกับการเกิดโรค ลำพังแต่เพียงอาศัยวิทยาการสมัยใหม่ไม่สามารถรักษาและป้องกันโรคได้เต็มที่

ในปัจจุบันประเทศไทยเรานับว่ายังโชคดีที่ไม่มีการระบาดของโรคเอดส์เท่าที่มีรายงานผู้ป่วยโรคนี้จำนวน 6 ราย ทั้ง 6 รายได้เสียชีวิตไปหมดแล้ว อย่างไรก็ตามเรายังคงมีโรคอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยทางพฤติกรรมอีกมาก เช่น กามโรค อุบัติเหตุ โรคความดันเลือดสูง โรคหัวใจขาดเลือด เป็นต้น

ดังนั้นคนไทยจึงสมควรที่จะสนใจในการดูแลรักษาสุขภาพของตนเองด้วยการงดเว้นพฤติกรรมอันไม่เหมาะสม เช่น การสูบบุหรี่ การสำส่อนทางเพศ การกินอาหารมากเกินจำเป็น การขับรถโดยประมาท เป็นต้น

เพียงเท่านี้เราทุกคนก็อาจมีสุขภาพที่ดีตามควรแก่อัตภาพ
 

ข้อมูลสื่อ

97-013
นิตยสารหมอชาวบ้าน 97
พฤษภาคม 2530
อื่น ๆ