• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

ความก้าวหน้าของอินเตอร์ฟีรอน

อินเตอร์ฟีรอนมีความสามารถในการต้านไวรัสอย่างรุนแรง และยังสามารถยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์ปกติและเซลล์มะเร็ง ซึ่งบริษัทยาในญี่ปุ่นได้ผลิตเป็นยาเพื่อรักษามะเร็งออกมาแล้ว

กระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ ประเทศญี่ปุ่น ได้อนุญาตให้มีการใช้เบต้าอินเตอร์ฟีรอน (beta interferon) แล้ว และมีแนวโน้มว่าจะมีการอนุญาตให้ใช้แอลฟา อินเตอร์ฟีรอน (alpha interferon) อีกด้วย
อินเตอร์ฟีรอนทั้งสองชนิดนี้เมื่อใส่เข้าไปในเซลล์เพาะเลี้ยงหรือฉีดเข้าไปในร่างกาย จะไปจับกับพื้นผิวเซลล์ตรงตำแหน่งที่จำเพาะตำแหน่งเดียวกัน ส่วนแกมมา อินเตอร์ฟีรอน (gamma interferon) ที่กำลังอยู่ในระหว่างการทดลองทางคลินิกนั้นจะไปจับกับพื้นผิวเซลล์ตรงตำแหน่งที่ต่างกันออกไป
จากการทดลองปรากฏว่าอินเตอร์ฟีรอนจะยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสในเซลล์โดยยับยั้งการสังเคราะห์กรดนิวคลิอิกของไวรัส ทำให้กรดนิวคลิอิกที่มีอยู่แล้วเสียหายและยับยั้งการสังเคราะห์
โปรตีนของไวรัส กลไกทั้ง 3 อย่างนี้อาจเกิดขึ้นได้ในทันทีทันใด

ความสามารถในการต่อต้านไวรัสอย่างรุนแรงนี้ทำให้อินเตอร์ฟีรอนเป็นเป้าหมายสำคัญที่จะถูกเลือกนำมาใช้ในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสในอนาคต ยิ่งไปกว่านั้นอินเตอร์ฟีรอนยังมีฤทธิ์ต้านมะเร็ง แม้ว่ากลไกในการต่อต้านจะยังไม่ทราบกระจ่างชัดก็ตาม แต่ก็ทราบว่าอินเตอร์ฟีรอนสามารถยับยั้งการแบ่งตัวของทั้งเซลล์ปกติและเซลล์มะเร็ง เนื่องจากเซลล์มะเร็งแบ่งตัวได้เร็วกว่า จึงถูกกระทบมากกว่า นอกจากนั้น อินเตอร์ฟีรอนยังมีผลโดยตรงต่อเม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่ทำลาย (natural killer cells) จึงทำให้มันโจมตีเซลล์มะเร็งอย่างเข้มแข็งยิ่งขึ้น

บริษัทยาในญี่ปุ่นผลิตเบต้าอินเตอร์ฟีรอน “ฟีรอน” (feron) สำหรับรักษาไวรัสตับอักเสบบีสองสายพันธุ์ ทั้งนี้ได้ทำการผลิตขั้นอุตสาหกรรม เพื่อรักษามะเร็งจากผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีมาก่อนแล้ว จากผลการทดลองทางคลินิกได้แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยที่มีอาการหนักมาก 3 ใน 10 คน มีอาการดีขึ้นภายหลังการรักษาได้ 2 สัปดาห์

ส่วนแอลฟา อินเตอร์ฟีรอน ที่กำลังจะผลิตออกจำหน่ายตามมานั้น กล่าวกันว่ามีผลดีในการรักษา multiple mycloma และมะเร็งที่ไต ยิ่งไปกว่านั้นบริษัทยาตั้งใจจะใช้ยานี้ในการรักษาไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังและมะเร็งเม็ดเลือดขาวด้วย

เมื่อมีโรคใหม่เกิดขึ้น ยาชนิดใหม่ก็ถูกผลิตตามมา เป็นวัฏจักรอยู่เช่นนี้เรื่อยไปไม่รู้จักจบสิ้นตามกฎของธรรมชาติ


 

ข้อมูลสื่อ

98-004-4
นิตยสารหมอชาวบ้าน 98
มิถุนายน 2530
รศ.จันทร์เพ็ญ วิวัฒน์