• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

โรคที่สามารถรักษาด้วยการฝังเข็ม

โรคที่สามารถรักษาด้วยการฝังเข็ม



เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.2522 องค์การอนามัยโลก ได้จัดให้มีการประชุมสัมมนาเรื่อง “การฝังเข็ม” ขึ้นที่นครปักกิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 15 คนจาก 12 ประเทศ ที่ประชุมได้ข้อสรุปว่า โรคที่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีฝังเข็มได้แก่

1. ระบบทางเดินหายใจ
ไซนัสอักเสบชนิดเฉียบพลัน                          จมูกอักเสบชนิดเฉียบพลัน
ไข้หวัด                                                           ต่อมทอนซิลอักเสบเฉียบพลัน
หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน                             หอบหืด (ได้ผลในเด็ก และคนที่ไม่มีโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ)

2. โรคตา
เยื่อบุตาอักเสบเฉียบพลัน                               จอภาพตาอักเสบ (Central retinitis)
สายตาสั้นในเด็ก                                             ต้อกระจกชนิดที่ไม่มีโรคแทรกซ้อน

3. ช่องปาก
ปวดฟัน                                                           เหงือกอักเสบ
อาการปวดหลังถอนฟัน                                   คออักเสบ(Pharyngitis)

4. ระบบทางเดินอาหาร
การเกร็งตัวของกล้ามเนื้อหลอดอาหาร                                    สะอึก  
กระเพาะอักเสบเฉียบพลันและเรื้อรัง                                        กระเพาะหลั่งกรดมากเกินไป
แผลในลำไส้เล็กส่วนต้นเรื้อรัง(ช่วยลดอาการปวด)                 ท้องผูก
แผลในลำไส้เล็กส่วนต้นเฉียบพลัน( ไม่มีโรคแทรกซ้อน )        ลำไส้เล็กส่วนท้ายไม่ทำงาน
ลำไส้ใหญ่อักเสบ เฉียบพลันและเรื้อรัง
บิดจากเชื้อชิกาลล่า ท้องร่วง

5. ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ
ปวดหัว                                                                                   ลมตะกัง ( ไมเกรน )
ปวดประสาทหน้า (Trigeminal neuralgia)
โรคปากเบี้ยว (Facial palsy)                                               (ในช่วง 3-6 เดือนแรก)
อาการชาจากการกระแทก
โรคของปลายประสาท โรคโปลิโอ (ใน 6 เดือนแรก)
โรคเมเนียร์ (Meniere disease)
กระเพาะปัสสาวะไม่ทำงาน                                                     เนื่องจากความผิดปกติของระบบประสาท
ปัสสาวะรดที่นอน
ปวดในช่องระหว่างซี่โครง
อาการเกี่ยวกับคอและแขน ไหล่ติด (Frozen shoulder)
ข้อศอกติด (Tennis elbow)
รากประสาทขาถูกกดทับหรือไขอาติคา (Sciatica)
ปวดหลัง
ข้ออักเสบ

 

ข้อมูลสื่อ

14-016
นิตยสารหมอชาวบ้าน 14
มิถุนายน 2523
อื่น ๆ
อื่น ๆ