• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

ป้องกันการตายกะทันหัน อาการแสดงของโรคหัวใจที่คุณไม่เคยได้ยินมาก่อน

ป้องกันการตายกะทันหัน อาการแสดงของโรคหัวใจที่คุณไม่เคยได้ยินมาก่อน

ผู้ป่วยที่ไปถึงโรงพยาบาลทันเวลาร้อยละ 85 จะรอดตาย และยิ่งไปถึงเร็วเท่าใด อาการแทรกซ้อนก็จะยิ่งน้อยลงเท่านั้น ปวดขากรรไกร ข้ออ่อนปวกเปียก ปวดข้อศอก ปวดหลัง ลักษณะเหล่านี้เป็นอาการแสดงของโรคหัวใจได้หรือไม่

นายแพทย์ฮาโรล์ด คาร์พแมน แห่งมหาวิทยาลัยการแพทย์ลอสแองเจลิส แคลิฟอร์เนีย กล่าวในหนังสือเล่มใหม่ที่ชื่อ “การป้องกันโรคหัวใจ” (Preventing Heart Disease) ดังนี้ว่า ในขณะที่อาการปวดหน้าอกซึ่งเรารู้จักกันดีว่าเป็นอาการแสดงของโรคหัวใจ แต่คนที่ตายกะทันหัน (ด้วยโรคหัวใจแบบต่างๆ) หรือกำลังอยู่ในภาวะโรคหัวใจกำเริบอาจไม่มีอาการปวดหน้าอกเป็นอาการแสดงก็ได้ ตราบที่อาการปวดหน้าอกถี่ๆ หรือปวดอย่างรุนแรงทำให้ผู้ป่วยต้องถูกนำเข้าถูกนำเข้าห้องฉุกเฉิน

อาการอย่างอื่นก็ต้องระวังเช่นกัน เช่น อาการปวดฟัน ปวดขากรรไกร ปวดคอ ไหล่ หลัง แขน นิ้ว แม้แต่อาการเล็กๆน้อยๆ เช่น จังหวะการหายใจสั้นๆ ข้ออ่อนล้าไม่มีแรง หรืออาการใจสั่นที่เป็นอยู่บ่อยๆ โดยเฉพาะในรายที่ออกกำลังเพียงนิดหน่อยแล้วมีอาการ ผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการตายกะทันหันมากที่สุด ก็คือ ผู้ป่วยที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ มีการสูบบุหรี่ มีความดันเลือดสูง และมีระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูง

ถ้าอาการดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันทันทีและรุนแรง และผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจอยู่แล้ว ให้รีบนำส่งโรงพยาบาล และต้องเตรียมการไว้ให้ดี ถ้าอาการแสดงของโรคหัวใจกำเริบขึ้นมาถึงภาวะวิกฤติจะช่วยไม่ทัน เพราะปรากฏว่าผู้ป่วยที่มีอาการแสดงของโรคหัวใจไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ตายก่อนที่จะถูกส่งไปถึงโรงพยาบาล ซึ่งตามปกติจะต้องส่งเข้าห้องฉุกเฉินให้ทันภายใน 4 ชั่วโมงหลังจากที่มีอาการ ผู้ป่วยที่ไปถึงโรงพยาบาลทันเวลาร้อยละ 85 จะรอดตาย และยิ่งไปถึงเร็วเท่าใด อาการแทรกซ้อนก็จะยิ่งน้อยลงเท่านั้น

(จาก Preventing sudden dealth, Health front : Prevention, 1989 ; 11 (41) : 12,14)

ข้อมูลสื่อ

130-004
นิตยสารหมอชาวบ้าน 130
กุมภาพันธ์ 2533
เบญจมาภรณ์ เจือประเสริฐ