• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

กล้ามเนื้อและข้อต่อ

กล้ามเนื้อและข้อต่อ

 

 

 


                 ภาพแสดงตาแหน่งและลักษณะภายในของข้อต่อต่างๆของร่างกาย
                           และภาพเล็กแสดงการเคลื่อนไหวของข้อต่อต่างๆ


1.ข้อไหล่ มีหลายแกนทำให้เคลื่อนไหวได้หลายอย่าง

2.ข้อศอก มีแกนเดียวคล้ายบานพับ

3.ข้อมือ มี 2 แกน

4.ข้อหัวแม่มือ มี 2 แกนคล้ายอานม้า

5.ข้อนิ้วมือ มีแกนเดียวคล้ายบานพับ

6.ข้อตะโพก มีหลายแกนทำให้เคลื่อนไหวได้หลายอย่าง
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------

การเคลื่อนไหวต่าง ๆ ของร่างกาย จำเป็นจะต้องอาศัยส่วนประกอบสำคัญอย่างน้อย 2 อย่าง ได้แก่ กล้ามเนื้อและข้อต่อ (ทั้งนี้ไม่ได้รวมถึงเส้นเลือดและเส้นประสาทที่มาเลี้ยง)
 

⇒กล้ามเนื้อ (Muscles)
กล้ามเนื้อในร่างกายของคนเรามีประมาณ 600 มัดหรือ 30-40 % ของน้ำหนักร่างกาย กล้ามเนื้อเหล่านี้จะเกาะอยู่ระหว่างกระดูก 2 ชิ้น เมื่อกล้ามเนื้อทำงานจะเกิดการหดตัว ทำให้ดึงกระดูกทั้ง 2 ชิ้น เข้ามาหากัน และโดยการอาศัยข้อต่อทำหน้าที่คล้าย ๆ กับบานพับ จึงทำให้ร่างกายของคนเรามีการเคลื่อนไหว และเคลื่อนที่ไปไหนมาไหนได้ตามความต้องการ
เมื่อกล้ามเนื้อทำงานเป็นเวลานาน ๆ จะทำให้เกิดอาการล้า เนื่องจากพลังงานส่วนใหญ่ถูกใช้ไปในการทำให้เกิดการหดตัว พักผ่อนชั่วระยะหนึ่งจะรู้สึกดีขึ้น แต่ถ้าได้รับอาหารที่เป็นแหล่งของพลังงาน เช่น น้ำตาลหรือกลูโคส จะช่วยให้กล้ามเนื้อมีกำลังเหมือนเดิม และหายเหนื่อยเร็ว คนที่วิ่ง หรือทำงานออกกำลังกาย จะทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น เพื่อให้มีออกซิเจนมาช่วยในการเผาไหม้อาหารให้เกิดพลังงานในการเคลื่อนไหว เปรียบได้กับเตาถ่าน ที่กำลังติดไฟหุงข้าวอยู่ ถ้ายิ่งพัดแรงก็จะได้ความร้อนสูงขึ้น เมื่อหมดถ่านไฟก็จะมอดลง จำเป็นต้องเติมถ่าน ซึ่งเป็นแหล่งของพลังงานอีกเช่นเดียวกับร่างกาย

 

⇒ข้อต่อ (Joints)
ข้อต่อเป็นส่วนของกระดูกที่มาต่อกัน โดยมีเอ็นยึดและหุ้มอยู่โดยรอบ เพื่อเสริมความแข็งแรง และช่วยในการเคลื่อนไหว ไม่ให้กระดูกหลุดออกจากกัน นักวิศวกรแบ่งข้อต่อ เป็น 3 แบบ คือ แบบบานพับ, ประตูหน้าต่าง แบบที่บิดได้เป็นเกลียว เหมือนเชือกมะนิลา และแบบที่หมุนอยู่ภายในแอ่ง โดยรอบทุกทิศทาง คล้ายปั่นจั่น หรือเครื่องผสมปูนซีเมนต์ สำหรับในวงการแพทย์ แบ่งตามลักษณะ และชนิดของเนื้อเยื้อได้ 3 ชนิด คือ
1. ข้อต่อชนิดเชื่อมติดกัน (Fibrous Joint) ข้อต่อชนิดนี้เชื่อมติดกัน ด้วยเยื้อพังผืด ซึ่งเคลื่อนไหวไม่ได้เลย หรือได้น้อยมาก เช่น ข้อต่อที่กระดูกกะโหลก

2. ข้อต่อชนิดเชื่อมด้วยกระดูกอ่อน (Cartilaginous Joint) เป็นข้อต่อที่มีการเคลื่อนไหวได้บ้าง มีกระดูกอ่อน แทรกอยู่ระหว่างกลาง พบได้ที่ข้อต่อของกระดูกสันหลัง และที่หัวเหน่า ทำให้มีการขยับได้

 

              

 

ภาพแสดงกล้ามเนื้อต่าง ๆที่ช่วยในการเคลื่อนไหวของร่างกาย
1. กล้ามเนื้องอแขนและข้อศอก (Biceps) กล้าม
2. กล้ามเนื้องอขาหนีบและเหยียดหัวเข่า (Quadriceps)
3. กล้ามเนื้อเหยียดแขน ( Triceps)
4. กล้ามเนื้อตรงหน้าท้อง (Rectus abdominis)
5. กล้ามเนื้อหน้าอก (Pectoralis)
6. กล้ามเนื้อน่อง (Gastrocnemius )
7. กล้ามเนื้อหัวไหล่ (Deltoid)
8. กล้ามเนื้อข้างขา (Peroneus)

--------------------------------------------------------------------------------------------------------

3. ข้อต่อชนิดเชื่อด้วยถุงน้ำไขข้อ (Synovial Joint) เป็นข้อต่อซึ่งมีช่องว่างเกิดขึ้นภายใน มีน้ำสำหรับหล่อลื่น คล้ายจารบีอยู่ในถุงหุ้ม ทำหน้าที่คล้ายยางกันฝุ่นรอบกระปุกเกียร์รถยนต์ หรือลูกหมาก ได้แก่ ข้อหัวไหล่, ข้อศอก, ข้อมือ, ข้อตะโพก, ข้อเข่า, ข้อเท้า และข้อที่มีการเคลื่อนไหวได้มาก ๆ ข้อต่อชนิดนี้ มีความสำคัญมาก และอาจได้รับอันตรายได้มากเช่นเดียวกัน

 

⇒ความผิดปกติของข้อต่อ
เมื่อใดก็ตามที่ถุงหุ้มข้อต่ออักเสบ จะทำให้น้ำสำหรับช่วยในการหล่อลื่นเสียไป การเคลื่อนไหวของข้อต่อจะไม่สะดวกหรือเชื่อมติดกัน โดยเฉพาะรายที่ได้รับแรงกระแทกจากอุบัติเหตุ หรือเท้าแพลง จากส้นร้องเท้าสูง จะทำให้เอ็นยึดข้อเท้าหย่อนหรือฉีกขาด หรือเกิดจากการเล่นกีฬาต่าง ๆ ทำให้ข้อไหล่ หรือข้อเข่า หลุดและแตกเป็นต้น โดยปกติผู้ที่มีความรู้ทางกายวิภาค สามารถดึงกลับเข้าที่ได้ เข้าเฝือกไม่กี่วัน ก็จะหายได้เป็นปกติ ถ้ารักษาไม่ถูกวิธีหรือปล่อยทิ้งไว้ อาจทำให้เกิดการผิดปกติ เมื่ออายุมากเข้า จะมีการปวดตามข้อ

โรคต่าง ๆ ที่พบเกี่ยวกับข้อต่อไม่ปกติได้แก่ ข้ออักเสบ, ข้อเสื่อม, โรคเก๊าท์ ไข้รูห์มาติค, โรคปวดข้อรูห์มาตอยด์, โรคเอสแอลอี มีอาการปวดบวมแดง ร้อนตามข้อ คล้าย ๆ กับข้อเท้าแพลง หรือมือซ้น

 

ข้อมูลสื่อ

20-002
นิตยสารหมอชาวบ้าน 20
ธันวาคม 2523
ดร.นที คัคนานตดิลก