• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

มาฝึกโยคะกันเถอะ

มาฝึกโยคะกันเถอะ

โยคะ (Yoga) เป็นวิชาหนึ่งของพวกโยคี (Yogi) แห่งอินเดียหรือ “ลัทธิโยคี” (Yogic) มีส่วนผสมเป็นมนุษย์อยู่ 7 ชั้น คือ

ชั้นที่ 1 ร่างกาย

ชั้นที่ 2 เจตภูมิหรือกายนิยม

ชั้นที่ 3 ปราณหรือลมหายใจ

ชั้นที่ 4 สัญญา

ชั้นที่ 5 ปัญญา

ชั้นที่ 6 ดวงจิต

ชั้นที่ 7 ดวงวิญญาณ

เรามาฝึกโยคะกันเฉพาะชั้นที่ 1 หรือเรียกว่าชั้นประถมปีที่ 1 ก็แล้วกันครับ ถ้าจะฝึกกันถึงชั้นที่ 7 หรือ ป.7 กระผมก็จบมาเพียงชั้นที่ 1 หรือ ป.1 เท่านั้น และก้อ ป.1 นี้ก็จบไม่ค่อยจะสมบูรณ์ด้วยครับ ความจริงแล้ว “ท่า” ตามหลักของโยคะมีเป็นร้อยเป็นพันเท่าด้วยกัน ถ้าท่านเจ็บไข้ได้ป่วย ไม่อยากให้หมอฉีดยาไม่อยากกินยาแผนปัจจุบัน ไม่อยากกินยาแผนโบราณ ไม่อยากกินยาแผนสมุนไพร ไม่อยากให้ผิวหนังของคุณถูกยาพอก ยาทา ยาถู และยานวด เรามาลองฝึกโยคะป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ หรือรักษาโรคภัยไข้เจ็บด้วยวิธีโยคะ ก็คงจะดีเหมือนกันครับ กระผมขอขอบพระคุณ ท่านศาสตราจารย์ ศรี นรยัน ศาสตร์แห่งคณะอายุรเวท (แพทย์แผนโบราณ) มหาวิทยาลัยลัคเนา ประเทศอินเดียที่ได้ประสิทธิประสาทวิชาโยคะ ชั้นที่ 1 ให้กระผมไว้ ณ ที่นี้ด้วย

 

ข้อควรทราบก่อนการฝึกโยคะ 10 ข้อ คือ

1. คนที่สุขภาพไม่สมบูรณ์ คนสูงอายุ หรือคนป่วยหนักไม่ควรจะรับการฝึก

2. คนเป็นโรคโลหิตจาง ควรฝึกเฉพาะท่านอนพักผ่อนเท่านั้น รวมทั้งหญิงที่มีระดูด้วย (ท่า ก. 17)

3. คนเป็นโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง อย่าฝึกเลย ถ้าอยากฝึกเหลือเกินก็ต้องให้แพทย์ตรวจก่อน ถ้าไม่อยากให้แพทย์ตรวจ หรือไม่มีแพทย์จะตรวจ คงฝึกได้เพียงท่าดอกบัวงาม (ท่า ก ทำอย่างสบายๆ อย่าหักโหม)

5. คนอายุ 30 ปีขึ้นไปควรเลิกท่ายกขาขึ้นเสียทั้งหมดควรใช้ท่านั่งดีกว่า

6. คนอายุ 40 ปีขึ้นไป ควรทำเฉพาะท่านั่ง และนอนแบบง่ายๆ

7. ผู้เริ่มต้นควรฝึกท่าง่ายๆ ก่อนแล้วค่อยทำท่ายากๆ ต่อไป

8. เวลาเช้าและเวลาเย็นเป็นเวลาที่เหมาะที่จะฝึกโยคะและไม่ควรฝึกเวลาหลังอาหารเย็นและเวลากลางคืน

9. ผู้ฝึกควรให้ท้องว่างในขณะทำการฝึก หลังจากนั้น 1 ชั่วโมงจึงทานอาหารหนักได้

10. สถานที่ฝึกต้องเป็นเอกเทศ มีแสงสว่าง และ อากาศถ่ายเทได้สะดวก

หมายเลข 1 ถึง หมายเลข 12 เป็นท่าสุริยันนมัสการ เริ่มต้น 5 นาที มากที่สุด 30 นาที ทุกๆ ท่าทำให้สุขภาพสมบูรณ์ และเหมาะสำหรับผู้เริ่มฝึกมากที่สุด

 

 

หมายเลข ก.1 : ท่าดอกบัวงาม

เริ่มต้น 5 นาทีมากที่สุด 30 นาที ทำให้การหมุนเวียนของกระแสเลือดในบริเวณอวัยวะเพศเป็นปกติ บำรุงประสาทบริเวณหลัง บรรเทาโรคหัวใจ โรคปอด โรคผิวหนัง ไอ ไขข้ออักเสบ และช่วยให้การย่อยอาหารดีขึ้น

 

หมายเลข ก.2 : ท่ายืดตัวไปข้างหน้า

เริ่มต้น 1 นาทีมากที่สุด 10 นาที ทำให้กล้ามเนื้อส่วนล่างบริเวณสะโพก และเชิงกรานเป็นปกติดี ตลอดทั้งการหมุนเวียนของกระแสเลือดสม่ำเสมอ อวัยวะภายในเป็นปกติ ทำให้อาหารย่อยดี กล้ามเนื้อที่ท้องเป็นปกติและแก้โรคเบาหวาน

 

หมายเลข ก.3 : ท่าขจัดจมูก

เริ่มต้น 1 นาทีมากที่สุด 5 นาทีประโยชน์ที่ได้รับ คือ ทำให้ภายในเป็นปกติ

 

หมายเลข ก.4 : ท่าเพชรประกายแสง

เริ่มต้น 2 นาที มากที่สุด 20 นาทีช่วยให้กระเพาะปัสสาวะหรือมดลูกทำงานดีขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณท้องหย่อน

 

หมายเลข ก.5 : ท่าบั่นท้อง

เริ่มต้น 2 นาที มากที่สุด 10 นาที ประโยชน์ที่ได้รับคือ ทำให้อาหารย่อยง่าย แก้ท้องผูก ทำให้ตับ ม้าม ตับอ่อน และไตทำงานดีขึ้นตลอดทังหญิงที่มดลูกผิดกติจะได้รับประโยชน์จากท่านี้

 

หมายเลข ก.6 : ท่าทุกส่วนของร่างกาย

เริ่มต้นครึ่งนาที มากที่สุด 5 นาที ทำให้การหมุนเวียนของเลือดในต่อมธัยรอยด์เป็นปกติ ทำให้สุขภาพสมบูรณ์ แก้ท้องผูก ริดสีดวงทวาร เบาหวาน โรคนอนไม่หลับและช่วยให้อวัยวะเพศแข็งแรง

 

 

หมายเลข ก.7 : ท่าเพชรอับแสง

เริ่มต้น 2 นาที มากที่สุด 20 นาทีแก้โรคท้องผูก บำรุงประสาท บริเวณตะโพก ลดแก๊สในกระเพาะและช่วยให้กระดูกสันหลังเป็นปกติ

 

หมายเลข ก.8 : ท่าพญางูเห่า

เริ่มต้น 1 นาที มากที่สุด 10 นาที ทำให้ระบบการสูบฉีดหัวใจและกล้ามเนื้อบริเวณลิ้นปี่เป็นปกติ

 

หมายเลข ก.9 : ท่าพญาครุฑ

เริ่มต้น 1 นาที มากที่สุด 10 นาที ช่วยให้ปอดทำงานดีขึ้นและช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณลิ้นปี่ทำงานเป็นปกติ

 

หมายเลข ก.10 : ท่าธนู

เริ่มต้นครึ่งนาที มากที่สุด 5 นาที หลังอาหารแล้ว เป็นการทำลายแก๊สในท้องได้ กับกระตุ้นความรู้สึกทั่วไป

 

หมายเลข ก.11 : ท่าตรีศูล

เริ่มต้น 1 นาที มากที่สุด 10 นาทีทำให้ระบบประสาทหลังดีขึ้นกล้ามเนื้อบริเวณท้องหย่อน เจริญอาหาร และแก้โรคท้องผูก

 

หมายเลข ก.12 : ท่าคันไถ

เริ่มต้น 1 นาที มากที่สุด 10 นาที ประโยชน์ที่ได้รับเหมือนกับท่าพญาครุฑ (ก. 9) ท่าพญางูเห่า (ก. 8) และท่าตั๊กแตน (ก. 17)

 

 

หมายเลข ก.13 : ท่าผายลม

เริ่มต้น 2 นาที มากที่สุด 30 นาที ทำให้ร่างกายสงบ ลดความตึงเครียดของอวัยวะทุกส่วน ทำให้การไหลเวียนของเลือดสม่ำเสมอและทำให้การเต้นของหัวใจเป็นปกติ

 

หมายเลข ก.14 : ท่ามัจฉาพาเพลิน

เริ่มต้น 1 นาที มากที่สุด 10 นาทีทำให้การหายใจเป็นปกติ บำรุงกล้ามเนื้อส่วนคอและสะบัก ต่อมควบคุมสมอง และไขสันหลังทำงานดีขึ้น

 

หมายเลข ก.15 : ท่ามัจฉามอง

เริ่มต้น 1 นาที มากที่สุด 10 นาที ประโยชน์ที่ได้รับเหมือนท่ามัจฉาพาเพลิน (ก. 14)

 

หมายเลข ก.16 : ท่าเอาหัวลงพื้น

เริ่มต้นครึ่งนาที มากที่สุด 5 นาที ประโยชน์ที่ได้รับเหมือนกับท่าทุกส่วนของร่างกาย (ก. 6)

 

หมายเลข ก.17 : ท่าตั๊กแตน

เริ่มต้น 1 นาที มากที่สุด 30 นาที ทำให้กล้ามเนื้อที่สะโพกหย่อนและทำให้หลังไม่โกง

 

หมายเลข ก.18 : ท่าไหว้แม่ธรณี

เริ่มต้น 2 นาที มากที่สุด 20 นาที ทำให้ระบบภายในท้องปกติ และแก้โรคท้องผูกได้อีกด้วย

 

หมายเลข ก.19 : ท่านกยุงรำแพน

เริ่มต้น ครึ่ง นาที มากที่สุด 3 นาที ประโยชน์ที่ได้รับเหมือน ท่าพญาครุฑ (ก.13) ท่าพญางูเห่า (ก.8)

ท่าตั๊กแตน (ก.17)

 

หมายเลข ก.20 : ท่านอนพักผ่อน

เริ่มต้น 2 นาที มากที่สุก 30 นาที ประโยชน์ที่ได้รับเหมือนกับท่าผายลม (ก.13) และแก้ความดันโลหิต โรคหัวใจ โลหิตจาง โรคลำไส้ใหญ่ และอาหารไม่ย่อย กับ หืด

ข้อมูลสื่อ

3-015
นิตยสารหมอชาวบ้าน 3
กรกฎาคม 2522