• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

การบริหารร่างกายของผู้สูงอายุ

การเริ่มต้นที่ดีควรเริ่มด้วยการตัดภารกิจหรืออาการฟุ้งซ่านรำคาญใจออกจากจิตใจ เพราะการบริหารร่างกายขณะที่มีจิตใจฟุ้งซ่านอยู่นั้น จะทำให้การบริหารร่างกายไม่สมบูรณ์ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ เช่น ทำด้วยความหลงลืม เหนื่อยง่าย ในที่สุดอาจเบื่อหน่ายและเลิกราไป

ในการบริหารร่างกายนั้น ควรบริหารร่างกายโดยเริ่มต้นอย่างช้าๆ และให้หยุดทำทันที ถ้าท่านรู้สึกว่ามีอาการไม่สบายหรือผิดปกติ ให้กำลังใจกับตัวท่านเอง โดยการเพิ่มท่าบริหารร่างกายทีละน้อย และหายใจลึกๆเสมอ

หยุดพักเป็นช่วงสั้นๆ เพื่อไม่ให้เกิดอาการวิงเวียน หรือหยุดพักในขณะเปลี่ยนท่า และข้อสำคัญห้ามหักโหมหรือทำอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะท่าที่ต้องออกกำลังสู้แรงต้านทาน จะเกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ รวมทั้งมีผลต่อการทำงานของหัวใจ การอุ่นเครื่องที่ถูกต้องจะช่วยป้องกันการบาดเจ็บได้


                                                     

การบริหารไหล่
ท่านี้เหมาะสำหรับ ผู้สูงอายุที่ต้องนอนอยู่บนเตียง หรือนั่ง หรือเดินโดยใช้เครื่องช่วยพยุง เพื่อเพิ่มการเคลื่อนไหวของไหล่และความตึงตัวของกล้ามเนื้อไหล่และต้นแขน

การปฏิบัติ

1. นั่งห้อยแขนลงข้างลำตัว แกว่งแขนทั้งสองข้างไปข้างหน้าหมุนเป็นวงกลม (ดูรูปที่ 1)
หมุนย้อนทางเดิม
เพิ่มกำลังกล้ามเนื้อไหล่และต้นแขนพร้อมกับเพิ่มการเคลื่อนไหวของไหล่

2. กางแขนออกให้เสมอไหล่ หมุนแขนไปข้างหน้าเป็นวงกลม จากวงเล็กค่อยๆใหญ่ขึ้น โดยไม่ลำบากต่อท่าน (ดูรูปที่ 2)


                                        

ท่ากอด
ท่านี้เหมาะสำหรับ ผู้สูงอายุที่ต้องนอนบนเตียง หรือนั่ง หรือเดินโดยใช้เครื่องช่วยผยุง เพื่อยืดบริเวณหลังส่วนบน ไหล่และต้นแขน

การปฏิบัติ

1. นั่ง เอาแขนทั้งสองข้างโอบกอดตัวเองให้แน่น (ดูรูปที่ 3)


                                                  


2. เหยียดแขนออกและแกว่งไปข้างหลังช้าๆ ให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ (ดูรูปที่ 4) ทำซ้ำ


                                                    

ท่าว่ายน้ำบนบก
ท่านี้เหมาะสำหรับ ผู้สูงอายุที่ต้องนอนบนเตียง หรือนั่ง หรือเดินโดยใช้เครื่องช่วยผยุง เพื่อเพิ่มกำลังและการเคลื่อนไหวของไหล่และต้นแขน

การปฏิบัติ

1. ท่าว่ายน้ำไปข้างหน้า ยกแขนแบบว่ายน้ำไปข้างหน้า โดยการยกแขนขึ้นเหนือศีรษะแล้ววาดไปด้านหน้าผ่านด้านข้างของลำตัว ทำสลับแขนทั้งสองข้างพร้อมกัน (ดูรูปที่ 5)


                                                    


2. ท่าตีกรรเชียง ยกแขนว่ายไปด้านหลัง ทำทั้งสองแขน สลับไปพร้อมๆกัน (ดูรูปที่ 6)


                                                     

ท่าตบมือ
ท่านี้เหมาะสำหรับ ผู้สูงอายุที่ต้องนอนบนเตียง หรือนั่ง หรือเดินโดยใช้เครื่องช่วยผยุง เพื่อเพิ่มกำลังและการเคลื่อนไหวของไหล่และแขน

การปฏิบัติ
1. ปล่อยแขนลงข้างลำตัว หงายฝ่ามือออก ยกแขนขึ้นเหนือศีรษะจนฝ่ามือตบกัน (ดูรูปที่ 7) ทำซ้ำ


                                                    


2. ต่อไป เริ่มใหม่โดยปล่อยแขนลง พลิกฝ่ามือเข้าใน ยกแขนขึ้นเหนือศีรษะจนหลังมือแตะกัน (ดูรูปที่ 8) ทำซ้ำ


                                                   

การดัดนิ้วและฝ่ามือ
ท่านี้เหมาะสำหรับ ผู้สูงอายุที่ต้องนอนบนเตียง หรือนั่ง หรือเดินโดยใช้เครื่องช่วยผยุง เพื่อยืดข้อมือและนิ้ว

การปฏิบัติ

1. ประสานมือ ที่บริเวณหน้าอก (ดูรูปที่ 9)


                                                   

2. แล้วเหยียดมือออกเต็มที่ หมุนข้อมือให้ฝ่ามือออกนอกตัว (ดูรูปที่ 10) ทำซ้ำ


                                                                    

ถ้าประสานมือไม่ได้หรือลำบากให้วางมือซ้อนกันขณะทำการบริหาร


ท่าก้มตัว

ท่านี้เหมาะสำหรับ ผู้สูงอายุที่นั่ง หรือเดินโดยใช้เครื่องช่วยผยุง เพื่อยืดเส้นยืดสาย และเพิ่มกำลังบริเวณหลังส่วนล่าง

การปฏิบัติ
เริ่มจากท่านั่ง ค่อยๆก้มตัวลง ห้อยแขนลงข้างๆขา ทิ้งศีรษะก้มลง และปล่อยตัวตามสบาย (ดูรูปที่ 11)
ค่อยเงยตัวขึ้นตรงอย่างช้าๆ ทำซ้ำ


                                                     

ก้มตัวหาเข่า
เพื่อเพิ่มกำลังและยืดหลัง

การปฏิบัติ

เริ่มจากท่านั่ง ประสานมือรอบหัวเข่า โน้มตัว โดยเฉพาะช่วงบนเข้าหาเข่า รูป 11 กลับสู่ท่านั่งเดิมอย่างช้าๆ แล้วโน้มตัวหาเข่าอีกข้างหนึ่ง (ดูรูปที่ 12)
โน้มตัวหาเข่าแต่ละข้าง 5 ครั้ง


                                                         

ท่าก้มแตะพื้น
ท่านี้เหมาะสำหรับ ผู้สูงอายุที่นั่ง หรือเดินโดยใช้เครื่องช่วยผยุง เพื่อยืดและเพิ่มกำลังส่วนหลัง

การปฏิบัติ
เริ่มจากท่านั่ง ค่อยๆก้มตัวเท่าที่ทำได้ จนสามารถเอามือแตะพื้น (ดูรูปที่ 13) ทำซ้ำ


                                                        

แขม่วท้อง
ท่านี้เหมาะสำหรับ ผู้สูงอายุที่นั่ง หรือเดินโดยใช้เครื่องช่วยผยุง เพื่อเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อหน้าท้อง

การปฏิบัติ
นั่งตัวตรง แขม่วท้องจนกระทั่งส่วนหลังบริเวณเอวแนบติดกับเก้าอี้ ห้ามกลั้นหายใจ (ดูรูปที่ 14)


                                                        

 

ข้อมูลสื่อ

106-024
นิตยสารหมอชาวบ้าน 106
กุมภาพันธ์ 2531
อื่น ๆ