• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

ไต

ไต

 

                              


ไตของคนมีลักษณะคล้ายเมล็ดถั่วดำ อยู่ภายในช่องท้องค่อนไปทางหลัง ขนาดโตเท่ากำปั้น หรือโตกว่าเล็กน้อย ยาวประมาณ 4 นิ้วครึ่ง กว้างประมาณ 2 นิ้ว และหนาประมาณ 1 นิ้วครึ่ง ไตขวาต่ำกว่าข้างซ้ายประมาณครึ่งนิ้ว


หน้าที่ 

-
กำจัดของเสียที่เป็นของเหลวและขับถ่ายออกมาเป็นปัสสาวะประมาณ 40-60 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลือจะถูกกำจัดออกทางเหงื่อและการระเหยจากการหายใจ
- รักษาปริมาณน้ำในร่างกายให้อยู่ในภาวะสมดุล
- รักษาระดับเกลือแร่ของร่างกายให้คงที่
- รักษาความเป็นกรดเป็นด่างให้คงที่
- ดูดซึมและเก็บสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
- ช่วยควบคุมความดันโลหิต
- มีส่วนช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง

 


⇒ โครงสร้าง

ภายในไตประกอบด้วยหน่วยกรอง (renal corpuscle) ขนาดเล็กมากมาย จากหน่วยกรองจะเป็นท่อขดไปขดมาเรียกว่า คอเล็คติ้ง ทูบูล(collecting tubule) มีประมาณล้านสองแสนท่อ แต่ละท่อยาวประมาณ 2 นิ้ว ถ้านำมาต่อกันจะมีความยาวตั้งแต่ 50-100 ไมล์หรือ 80-160 กิโลเมตร

ท่อเหล่านี้จะนำปัสสาวะที่กรองแล้วไปสู่กรวยไต (renal pelvis) (ซึ่งเป็นบริเวณที่อาจจะพบหินปูนบ่อย ๆ ที่เรียกว่า เป็นนิ่วที่กรวยไต)

จากนั้นปัสสาวะจะผ่านไปยังท่อไต (ureter) ไปสู่กระเพาะปัสสาวะ (urinary bladder) ต่อไป

ที่หน่วยกรอง (renal corpuscle) ประกอบด้วนส่วนที่มีลักษณะเป็นถ้วยเรียกว่า โบว์แมนแค็ปซูล (Bownman’s capsule) และมีเส้นเลือดฝอยขดอยู่ภายใน ถ้วยนี้เรียกว่า โกลเมอรูลัส (glomerulus) ซึ่งจะนำเลือดมาสู่ไตเพื่อกรองของเหลวออกประมาณวันละ 1 ลิตร หรือนาทีละ 15 หยดและถูกขับออกมาเป็นปัสสาวะ
 

ข้อมูลสื่อ

37-001
นิตยสารหมอชาวบ้าน 37
พฤษภาคม 2525
ดร.นที คัคนานตดิลก