• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

มะเขือพวง

มะเขือพวง

 

                                  


⇒ชื่ออื่น

จะเคาะค่ะ , ตะโกงลาโน (มลายู-สงขลา); ปอลอ, ปอลือ (แม้ว-ภาคเหนือ) ; มะเขือละคร,หมากแค้ง (นครราชสีมา) ; มะแคว้งกูลัว, มะแคว้งกูลา (เชียงใหม่) ; มะแว้ง, มะแว้งช้าง (ภาคใต้) ; รับจงกลม (เขมร-นคราชสีมา); จุยเกีย, เจ็กมิ่งจำ (จีน)


⇒ชื่อวิทยาศาสตร์
Solanum torvum Sw. วงศ์ Solanaceae


⇒ลักษณะ
เป็นพุ่มไม้ขนาดเล็ก สูง 1-3 เมตร ทั้งต้นมีขนลักษณะคล้ายดาวปกคลุมทั่วไป ลำต้น ตั้งแข็งแรง แตกกิ่งก้านสาขามาก กิ่ง ก้าน และใบมีหนามสั้น
ใบรีใหญ่ออกสลับกัน ปลายใบแหลม ตัวใบสองข้างไม่เท่ากัน ใบยาว 10-20 ซม. ขอบใบหยักเล็กน้อย
ดอก ออกเป็นช่อคล้ายร่มจากง่ามใบหรือปลายกิ่ง
ดอกย่อย มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ สีขาวมีเกสรตัวผู้ 5 อันออกติดกับกลีบดอกบริเวณปากหลอดอับเรณูสีเหลืองยาวประมาณ 6 มม. รังไข่มี 2 ห้อง
ผล กลมไม่มีขน เส้นผ่าศูนย์กลางยาวประมาณ 1 ซม. ผลแก่สีเหลืองเข้มถึงส้ม ภายในมีเมล็ดมาก
มะเขือพวงพบปลูกเก็บผลขาย หรือขึ้นเองตามที่รกร้าง ในป่าตามไหล่เขาเป็นพืชทนแล้ง


⇒ส่วนที่ใช้
ทั้งต้นหรือใบ ผล และราก ใช้เป็นยา
ทั้งต้นหรือใบ ใช้สดหรือล้างสะอาดหั่นเป็นท่อน ตากแห้งเก็บไว้ใช้
ผล ใช้สด หรือตากแห้งเก็บไว้ใช้
ราก ใช้สด


⇒สรรพคุณ
ทั้งต้น ใบ และผล รสจืด เย็นและมีพิษเล็กน้อย ทำให้เลือดหมุนเวียนดี แก้ปวด ฟกช้ำ ตรากตรำทำงานหนัก กล้ามเนื้อบริเวณเอวฟกช้ำ ไอเป็นเลือด ปวดกระเพาะ ฝีบวมมีหนอง และอาการบวมอักเสบ
ราก ใช้พอกเท้าแตกเป็นร่องเจ็บ


⇒วิธีและปริมาณที่ใช้
ทั้งต้น ใบ หรือ ผล แห้ง 10-15 กรัม ต้มน้ำกิน ใช้ภายนอกตำพอก


⇒หมายเหตุ
ผล ใช้เป็นอาหารตำน้ำพริกหรือแกงกิน และต้มน้ำกินแก้ไอเด็ก
เมล็ด เผาสูบเอาควันรมแก้ปวดฟัน
ราก ใช้พอกแก้เท้าแตกเป็นร่องเจ็บ
ใบสด ในคาเมรูนส์ใช้ห้ามเลือด ใช้เป็นยาสงบประสาท พอกให้ฝีหนองแตกเร็วขึ้น แก้ปวดทำให้ฝียุบ แก้ชัก หืด ปวดข้อ โรคผิวหนัง ขับปัสสาวะ ขับเหงื่อ และแก้ซิฟิลิส
ในออสเตรเลีย มีคนคาดว่า พืชนี้เป็นพิษต่อสัตว์เลี้ยง

นอกจากนี้ มะเขือพวงยังใช้เป็นตอของต้นมะเขือเทศ เพื่อแก้โรคแบคทีเรียที่เกาะกินรากต้นมะเขือเทศ.
 

ข้อมูลสื่อ

42-006
นิตยสารหมอชาวบ้าน 42
ตุลาคม 2525
อื่น ๆ
ภก.ชัยโย ชัยชาญทิพยุทธ