• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

กลไกการห้ามเลือด

กลไกการห้ามเลือด


 


 

 ก. เมื่อผิวหนังเป็นแผลทำให้เซลล์เนื้อเยื่อ ( 1 ) และหลอดเลือด ( ฝอย ) ( 2 ) ขาด ทำให้มีเลือดไหลออกมา

 

 

 

 

 ข. เลือด ( 3 )จะไหลออกมาตามรอยแผล ขณะเดียวกันจะเกิดกระบวนการทำให้มีเซลล์ชนิดหนึ่ง ( 4 ) ออกมาทำหน้าที่สร้างเส้นใย (5 ) ซึ่งจะสานเป็นร่างแหช่วยกันเลือดไหล

 

 

 

 ค. เนื้อเยื่อที่ขาด ( 6 ) ก็จะค่อยๆเจริญมาปิดที่บริเวณบาดแผลส่วนเลือด ( 7 ) ที่ออกมาจะค่อยๆแข็งกลายเป็นสะเก็ดแผล

 

 

 

ง. เนื้อเยื่อเจริญดีแล้ว สะเก็ดแผล ( 8 ) ก็จะหลุดไป ส่วนภายในจะเป็นแผลเป็น ( 9 )เกิดอยู่ข้างใต้และเส้นเลือด ( ฝอย )ที่ขาด ( 10 )ก็จะเจริญใหม่ 

 

 

 


ท่านคงทราบดีว่าเลือดเป็นของเหลวชนิดหนึ่งและมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อชีวิต เลือดเป็นตัวที่จะนำอาหารกับพลังงานไปหล่อเลี้ยงเซลล์ต่างๆ และขณะเดียวกันก็นำเอาของเสียกลับ เพื่อขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย
ดังนั้น เลือดจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเซลล์ส่วนต่างๆของร่างกายเกือบทั้งหมด( ยกเว้น เล็บ ผม กระจกตาดำ ) และเมื่อมีเลือดอยู่เกือบทุกส่วนของร่างกายจึงมีโอกาสไหลออกจากร่างกายได้โดยไม่ยากนัก หากเกิดบาดแผลขึ้นในส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
ธรรมชาติจึงได้สร้างสิ่งมหัศจรรย์ขึ้นเพื่อป้องกันการรั่วไหลของเลือดโดยไม่จำเป็น สิ่งนั้นก็คือ กลไกการห้ามเลือด ( ดูรายละเอียดจากภาพ )
เมื่อมีบาดแผลเกิดขึ้นที่ผิวหนังและมีเลือดไหลออกมา ร่างกายก็จะเกิดปฏิกิริยาทำให้เลือดหยุดไหลโดยมีการแข็งตัวของเลือดเพื่ออุดรอยแตกของเส้นเลือด ถ้าคลำดูจะรู้สึกเป็นไตแข็งๆที่บริเวณบาดแผล
ถ้าบริเวณบาดแผลสกปรกมากจะมีเชื้อโรคหรือเชื้อจุลินทรีย์ ก็จะทำให้เชื้อโรคเหล่านั้นเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล

ในการต่อสู้ป้องกันตามธรรมชาตินี้ ถ้าหากเชื้อจุลินทรีย์มีน้อย ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงก็จะชนะและหายเร็ว ถ้าเชื้อจุลินทรีย์มีมาก ร่างกายต้านทานไม่ไหวก็จะทำให้เกิดเป็นพิษขึ้นในร่างกาย ซึ่งจะทำลายเซลล์และเนื้อเยื่อของร่างกายและมีอาการเป็นไข้ จึงจำเป็นต้องอาศัยการรักษาทางยาต่อไปเพื่อช่วยต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆเหล่านั้น.

 
 

การเเข็งตัวของเลือดเกิดจากจากสิ่งต่างๆที่อยู่ในเลือดได้แก่ เกล็ดเลือด น้ำเลือด( พลาสม่า )
ในเลือดจะมีสารที่มีส่วนที่ทำให้เลือดแข็งตัว คือ โปรตีนไฟบริโนเจน ก่อนมีบาดแผล ( รูป ก)เมื่อมีบาดแผล
(รูป ข ) เกล็ดเลือดจะกระจายอยู่ที่บริเวณบาดแผล และสารต่างๆในเลือด เช่น  โปรตีนไฟบริโนเจน  จะเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นลำดับจนเกิดเป็นเส้นใยไฟบรินขึ้น
(รูป ค ) ซึ่งเส้นใยไฟบรินนี้จะช่วยให้เกิดกระบวนการแข็งตัวของเลือดบริเวณบาดแผล ทำให้เลือดหยุดไหล (รูป ง )


 

ข้อมูลสื่อ

47-001
นิตยสารหมอชาวบ้าน 47
มีนาคม 2526
ดร.นที คัคนานตดิลก