• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

สัตว์และแมลงมีพิษ : การปฐมพยาบาล (ตอนที่4) ”งูกัด”


                              


“งูมีพิษ
” และ “งูไม่มีพิษ” เมื่อกัดจะมีความแตกต่างกันในลักษณะของแผล ดังนี้
งูไม่มีพิษ จะเห็นเป็นรอยถลอก หรือรอยถาก ๆ เท่านั้น
งูมีพิษ จะมี “รอยเขี้ยว” เป็นจุดสองจุด และมีเลือดออกซิบ ๆ

เมื่อถูก “งูกัด” ให้ปฏิบัติดังนี้
1. บอกให้ผู้ที่ถูกงูกัด อย่าตกใจ

2. ใช้ผ้า หรือเชือก หรือสายยาง รัดเหนือแผลห่างจากรอยเขี้ยวงูประมาณ 1 คืบ และคลายออกทุก ๆ
15 นาที โดยคลายนานครั้งละ 1 นาที เพื่อให้เลือดสามารถไหลเวียนไปสู่ปลายของอวัยวะที่ถูกกัด เช่น แขน หรือขาได้

3. ล้างแผลด้วยสบู่ และน้ำสะอาด หลาย ๆ ครั้ง

4. นำผู้ที่ถูกงูกัดพร้อมงูที่จับได้ส่งสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุด เช่น สถานีอนามัย โรงพยาบาล

5. ข้อห้ามที่ไม่ควรกระทำ คือ
5.1 กรีดแผล เพระอาจติดเชื้อเพิ่มขึ้นอีก
5.2 ใช้ปากดูดเลือด เพราะพิษงูจะเข้าสู่ร่างกายของผู้ดูดได้เช่นกัน
5.3 ให้เครื่องดื่มที่กระตุ้นประสาท เช่น น้ำชา กาแฟ สุรา เพราะจะทำให้พิษกระจายเข้าสู่หลอดเลือดเร็วเข้า
5.4 ให้ยากระตุ้นประสาท
 

( อ่านต่อฉบับหน้า )

ข้อมูลสื่อ

120-009
นิตยสารหมอชาวบ้าน 120
เมษายน 2532
พยาบาลในบ้าน
ดร.จริยาวัตร คมพยัคฆ์