• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

สินค้าไม่ปลอดภัย ผู้ขายต้องรับผิดเต็มๆ

"ป้าไปซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้ามาจากเมืองจีน ป้านำไปใช้ ควันพุ่งออกมา ป้าตกใจดึงปลั๊กไฟออกมาแทบไม่ทัน นี่ดีนะ ป้าไม่โดนไฟดูดตายไปก่อน ป้าจะทำยังไงดีล่ะ"Ž

นักท่องเที่ยวไปเที่ยวต่างจังหวัด ไปซื้อส้มที่ใส่ถุงตาข่าย 8 ลูก ราคา 70 บาท กลับถึงที่พัก แกะส้มใบแรกมันแกนๆ หนาๆ พอหยิบอีกลูก ข้างในเสียกินไม่ได้ ไปเที่ยววันเสาร์ อาทิตย์กลับเป็นวันหยุดโทร.ไปที่ ส.ค.บ.จังหวัดไม่มีคนทำงาน

"ห้างฯ อาเช็ง ซื้อเครื่องจักรจากตัวแทนนำเข้า ซื้อสินค้าจากต่างประเทศ ชำระเงินไปแล้ว และรอเครื่องจักร พอเครื่องจักรมาตัวแทนบริษัทที่ขายเครื่องจักร ได้ทดลองเครื่องให้ ก็ใช้ได้

เครื่องจักรใช้ได้ไม่กี่วัน ก็เสีย โทร.ไปที่บริษัทตัวแทนจำหน่าย เขาบอกว่าไม่รับผิดชอบ เพราะสินค้าอยู่ในมือผู้ซื้อแล้ว ใครไปทำอะไรอย่างไรไม่รู้ ไม่ใช่ความบกพร่องของบริษัท"Ž

นี่คือส่วนหนึ่งของเหตุการณ์จริง มีผู้บริโภคจำนวน มากที่ประสบปัญหาความไม่ซื่อสัตย์ ความไม่รับผิดชอบ ของพ่อค้า ที่นำสินค้าที่ไม่มีคุณภาพไปจำหน่าย อย่างกรณี...

ผลไม้ เช่น ส้มชนิดต่างๆ ที่มีการบรรจุหีบห่อไว้เรียบร้อยแล้ว ผู้ซื้อไม่สามารถเปิดเพื่อตรวจสอบได้ ส้มจากพ่อค้ามือแรกถึงพ่อค้าแม่ค้าในแผงขายปลีกมีอายุยาวนานเท่าไหร่ ไม่มีใครรู้

เครื่องใช้ไฟฟ้า พ่อค้าไปรับมาสินค้าไม่ดีจากจีนไปขาย ไม่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ
เจ้าหน้าที่ไม่จัดการตามกฎหมาย ปล่อยให้สินค้าขายกันทั้งประเทศ เกิดความเสียหายขึ้น

พ่อค้าต้องรับผิด แต่เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องรับผิดด้วยใช่ไหม
เครื่องจักรที่ผลิตในต่างประเทศ เมื่อสั่งซื้อมาแล้ว ใช้ไม่ได้ แต่ไม่สามารถคืนสินค้าและเรียกค่าเสียหายได้ เพราะผู้ขายบอกว่าสินค้าอยู่ในมือผู้ซื้อแล้ว ขายขาดไปแล้ว เสียในมือผู้ซื้อผู้ขายไม่ต้องรับผิด
นี่ยังไม่พูดถึงยารักษาโรค ยาสูบ สุรา ที่เป็นสินค้าที่ไม่ปลอดภัยวางจำหน่ายอยู่ ใครจะรับผิดชอบ

ขณะนี้มีพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 ประกาศราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2551 แต่มีผลใช้บังคับวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2552 ก็ยังดีที่ได้ออกมาใช้บังคับ แม้คนซื้อจะขาดทุนไปอีกหนึ่งปี

ต่อไปนี้ผู้ซื้อที่เป็น ผู้เสียหาย ซึ่งหมายถึง "ผู้ได้รับความเสียหายอันเกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย"Ž สามารถฟ้องร้องต่อศาลแผนกคุ้มครองผู้บริโภคได้ เมื่อเกิดความเสียหายขึ้น

ความเสียหาย หมายถึง "ความเสียหายที่เกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัยไม่ว่าจะเป็นความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย สุขภาพ อนามัย จิตใจ หรือทรัพย์สิน ทั้งนี้ไม่รวมถึงความเสียหายต่อตัวสินค้าที่ไม่ปลอดภัยนั้น"Ž

ความเสียหายต่อจิตใจ นำสืบได้ หมายถึง "ความเจ็บปวด ความทุกข์ทรมาน ความหวาดกลัว ความวิตกกังวล ความเศร้าโศกเสียใจ ความอับอาย หรือความเสียหายต่อจิตใจอย่างอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน"Ž

ความหมายของสินค้าที่ไม่ปลอดภัย หมายถึง สินค้าที่ก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุจากความบกพร่องในการผลิตหรือการออกแบบ หรือไม่ได้กำหนดวิธีใช้ วิธีเก็บรักษา คำเตือน หรือข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า หรือกำหนดไว้แต่ไม่ถูกต้องหรือไม่ชัดเจนตามสมควร ทั้งนี้โดยคำนึงถึงสภาพของสินค้า รวมทั้งลักษณะการใช้งานและการเก็บรักษาตามปกติธรรมดาของสินค้าอันพึงคาดหมายได้

นำเข้า
หมายถึง "นำหรือสั่งสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย"
Ž
ผู้ประกอบการ หมายถึง "(1) ผู้ผลิต หรือผู้ว่าจ้างให้ผลิต (2) ผู้นำเข้า (3) ผู้ขายสินค้าที่ไม่สามารถระบุตัวผู้ผลิต ผู้ว่าจ้างให้ผลิต หรือผู้นำเข้าได้ (4) ผู้ซึ่งใช้ชื่อ ชื่อทางการค้า เครื่องหมายการค้า เครื่องหมาย ข้อความหรือแสดงด้วยวิธีใดๆ อันมีลักษณะที่จะทำให้เกิดความเข้าใจได้ว่าเป็นผู้ผลิต ผู้ว่าจ้างให้ผลิตหรือผู้นำเข้า"
Ž
ใครต้องรับผิด มาตรา 5 ผู้ประกอบการทุกคนต้องร่วมรับผิดต่อผู้เสียหายในความเสียหายที่เกิดจากสินค้าไม่ปลอดภัย และสินค้านั้นได้มีการขายให้แก่ผู้บริโภคแล้ว ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของผู้ประกอบการหรือไม่ก็ตาม

การพิสูจน์ มาตรา 6 เพื่อให้ผู้ประกอบการต้องรับผิดตามมาตรา 5 ผู้เสียหายหรือผู้มีสิทธิฟ้องคดีแทนมาตรา 10 ต้องพิสูจน์ว่าผู้เสียหายได้รับความเสียหายจากสินค้าของผู้ประกอบการและการใช้หรือการเก็บรักษาสินค้านั้นเป็นไปตามปกติธรรมดา แต่ไม่ต้องพิสูจน์ว่าความเสียหายเกิดจากการกระทำของผู้ประกอบการผู้ใด

ผู้ประกอบการไม่ต้องรับผิดก็ได้ ถ้าพิสูจน์ได้ว่า มาตรา 7 ผู้ประกอบการไม่ต้องรับผิดต่อความเสียหายอันเกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย หากพิสูจน์ได้ว่า

(1) สินค้านั้นมิได้เป็นสินค้าที่ไม่ปลอดภัย (2) ผู้เสียหายได้รู้อยู่แล้วว่าสินค้านั้นเป็นสินค้าไม่ปลอดภัย หรือ (3) ความเสียหายเกิดขึ้นจากการใช้หรือการเก็บรักษาสินค้าไม่ถูกต้องตามวิธีใช้ วิธีเก็บรักษา คำเตือน หรือข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าที่ผู้ประกอบการได้กำหนดไว้อย่างถูกต้องและชัดเจนตามสมควรแล้ว

สินค้ามีอันตรายและไม่ปลอดภัยวางจำหน่าย ผู้ซื้อไปใช้เจ็บป่วย แต่รัฐผู้อนุญาตให้มีสินค้าตามมาตรา 7(2) คนใช้รู้ว่าไม่ปลอดภัย ไปใช้เองฟ้องเอาอะไรไม่ได้ รัฐต้องเก็บเงินจากการเก็บภาษีประชาชนไปเยียวยา แต่รัฐปล่อยให้พ่อค้ากำไร แถมยังอ้างว่าเก็บภาษีสรรพสามิตแล้ว เก็บภาษีเพิ่มจากผู้ใช้แล้ว มีคำเตือนแล้ว อยากซื้อใช้ก็ต้องรับผิดชอบตัวเอง ใช่ แต่ที่ผ่านมาหน่วยงานที่ต้องรักษาดูแลก็เป็นของรัฐไม่ใช่หรือ? รู้แล้วใช่ไหมว่าสินค้านั้นคืออะไร?

ข้อมูลสื่อ

360-018
นิตยสารหมอชาวบ้าน 360
เมษายน 2552
อื่น ๆ
มณีรัตน์ (มยุรี) ภัคดุรงค์