• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

ตำรายาพื้นบ้าน


หนึ่งในปัจจัยสี่ที่จำเป็นในการครองชีพให้อยู่รอดมาได้จนกระทั่ง ทุกวันนี้ก็คือยารักษาโรค เข้าใจว่าประชาชนชาวไทยได้ใช้สมุนไพรเป็นยาบำบัดรักษาโรคมาเป็นเวลาช้านาน หากแต่ไม่มีหลักฐานที่ปรากฏให้ทราบได้ชัด เราเพิ่งมีหลักฐานเมื่อวัฒนธรรมของประเทศอินเดียขยายเข้ามาสู่ประเทศไทย นอกจากศาสนา วัฒนธรรม และประเพณีแล้ว ยังนำเอายารักษาโรคเข้ามาด้วย ซึ่งมีหลักฐานแน่ชัดตามคัมภีร์อายุเวทของอินเดีย เพราะชื่อสมุนไพรที่ใช้ประกอบการบำบัดรักษาโรคมีเค้าชื่อเป็นภาษาบาลี หรือสันสกฤตอยู่ไม่น้อย
ส่วนมากสมุนไพรได้จากพืชเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งส่วนต่าง ๆของพืชที่เรานำมาประกอบเพื่อบำบัดรักษานั้นได้แก่ ใบ ดอก ผล เมล็ด เปลือก ราก และเนื้อไม้ เป็นต้น

ก่อนที่เราจะนำสมุนไพรมาใช้ประกอบในการบรรเทาหรือรักษาโรคนั้น เราควรจะทราบประเภทต่าง ๆ ของสมุนไพร ซึ่งแยกตามรสชาติต่าง ๆ ของตัวยา เช่น รสเย็น รสร้อน รสมัน รสจืด รสฝาด รสเปรี้ยว รสขม รสหวาน รสเมา ฯลฯ ซึ่งแต่ละประเภทก็มีสรรพคุณในการรักษาโรคต่าง ๆ กัน
 

รสเย็น
ส่วนมากมีสรรพคุณทางแก้พิษไข้ บำรุงจิตใจให้ชุ่มชื้น ลดความร้อย เช่นรากชะลูด ดอกมะลิ รากบัวหลวง เป็นต้น
 

รสร้อน
มีสรรพคุณทางผายลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้จุกเสียดแน่น ขับเลือดลมให้วิ่งทั่วกาย เช่น ใบกะเพรา การบูร เป็นต้น
 

รสมัน
มีสรรพคุณทางบำรุงไขข้อ บำรุงเส้นเอ็น บำรุงร่างกาย ทำให้ร่างกายอบอุ่น เช่นเมล็ดงา เมล็ดมะม่วงหิมพานต์
 

เรามาทำความรู้จักกับสมุนไพรชนิดต่างๆ และสรรพคุณในการรักษาโรคกันดีกว่า 

สมุนไพรต่าง ๆ ที่กล่าวมาทั้งหมด ล้วนให้ทั้งคุณและโทษ สมุนไพรที่ออกฤทธิ์ยาแรง ถ้ากินมาก ๆ ก็เป็นอันตรายได้เหมือนกัน

ขอขอบคุณอาจารย์ประเสริฐ พรหมณี อดีตนายกสมาคมแพทย์แผนโบราณ แห่งประเทศไทย ที่ได้กรุณาตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการของบทความนี้

 

 

 

ข้อมูลสื่อ

70-008
นิตยสารหมอชาวบ้าน 70
กุมภาพันธ์ 2528
ศิริจรรยา ลิ้มวงศ์