• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

เต้านม

 

ภาพทางซ้ายมือ
แสดงให้เห็นว่า เต้านมจะใหญ่หรือเล็ก จะสร้างน้ำนมและหลั่งน้ำนมได้นั้น จำเป็นต้องอาศัยต่อมใต้สมอง เป็นผู้บังคับบัญชา


ต่อมใต้สมอง (รูปอักษร ก) จะสร้างฮอร์โมนมากระตุ้นให้รังไข่ (รูปอักษร ข) เติบโต (ในรูปจะเห็นไข่เป็นเม็ดขาวๆ ) พร้อมกันนั้นก็ยังมีอิทธิพลทำให้ไข่ตกจากรังไข่ไปอยู่ที่ปีกมดลูก เพื่อเตรียมการผสม พันธุ์ (รูปอักษร ค) และในที่สุด รังไข่ก็ฝ่อไป (รูปอักษร ง)


รังไข่แม้จะถูกต่อมใต้สมองกระตุ้นให้เติบโต (ลูกศรหมายเลข 1 และ 2) แต่มันก็ไม่ได้เติบโตเฉยๆ รังไข่นี้ยังกลับสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน (ฮอร์โมนนี้เองที่เรียกกันว่า ฮอร์โมนเพศหญิง) อีกด้วย ฮอร์โมนเอสโตรเจนนี้เป็นตัวทำให้ต่อมน้ำนมในเต้านมเจริญเติบโตขึ้น (ลูกศรหมายเลข 3 และ 4)


ถ้ากลับไปดูในรูปอักษร ค ซึ่งเป็นรูปที่รังไข่ได้ตกหายไปแล้วนั้น จะเห็นว่าแม้รังไข่นั้นไข่จะตกแล้ว แต่ตัวรังไข่เองยังมีส่วนช่วยสร้างฮอร์โมน ( ดูลูกศรหมายเลข 5 )ขึ้นอีกด้วย เรียกโปรเจสเตอโรน ซึ่งทำให้เนื้อเยื่อต่างๆ รวมทั้งต่อมน้ำนมในเต้านมเจริญเติบโตขึ้นเพื่อให้เต้านมสามารถเตรียมการเลี้ยงลูกน้อยที่จะเกิดใหม่ได้


ขบวนการลึกลับซับซ้อนตั้งแต่เต้านมธรรมดาจนถึงสามารถมีน้ำนมขึ้นได้นี้เอง ทำให้ผู้หญิงบางคนรู้สึกตึงแน่นที่เต้านมก่อนมีรอบเดือน ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับตอนที่ตั้งครรภ์ นี่คือ คำตอบสำหรับคำถามที่ว่า ทำไมหนูจึงนมคัดตอนมีรอบเดือนกับตอนตั้งครรภ์ ?


เต้านม
เป็นส่วนหนึ่งของผิวหนังที่มีการเจริญเติบโตเพิ่มมากขึ้น ในผู้หญิงเต้านมจะเจริญเป็นต่อมสร้างน้ำนมสำหรับเลี้ยงดูลูก เต้านมทั้ง 2 ข้าง อยู่บริเวณด้านหน้าของทรวงอกระหว่างกระดูกซี่โครงที่ 2 ถึง 6 (คนเรามีซี่โครง 12 คู่ ไม่นับไหปลาร้า)ปกติมีรูปร่างกลมรีเหมือนรูปไข่มีส่วนเล็กยื่นไปทางรักแร้ เรียกว่า ส่วนหาง เต้านมทั้งสองข้างจะมีขนาดเท่ากัน และหัวนมทั้ง สองข้างอยู่ในระดับเดียวกัน ผิวหนังรอบๆ หัวนมมีสีชมพูอ่อน แต่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลประมาณเดือนที่สองของการตั้งครรภ์ครั้งแรก และจะเป็นสีน้ำตาลอยู่เช่นนี้ตลอดไป หัวนมจะนูนขึ้นจากผิวหนังรอบๆ ประมาณ 1 เซนติเมตร


ภายในเต้านมแบ่งออกเป็นต่อมน้ำนมประมาณ 15-20 ต่อม แต่ละต่อมจะมีท่อน้ำนมมาเปิดที่หัวนม นอกจากนั้นยังมีไขมัน และเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่รวมกันคล้ายเป็นสายเอ็นที่ยึดเหนี่ยวเต้านมกับหน้าอก


ขนาดเต้านมจะเล็กหรือใหญ่ขึ้นอยู่กับฮอร์โมนเพศที่ร่างกายสร้างขึ้นมา เมื่อเด็กหญิงเจริญเติบโตเป็นวัยสาว ไข่ในรังไข่เริ่มเจริญเติบโตขึ้นจากการกระตุ้นด้วนฮอร์โมนที่หลั่งจากต่อมใต้สมอง ทำให้ระดับฮอร์โมนเพศหญิง (เอสโตรเจน) ในร่างกายมีระดับสูงขึ้น ท่อน้ำนมเหล่านี้จึงเจริญใหญ่โตขึ้น


เมื่อหญิงสาวเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ คือมีรอบเดือนและมีการตกไข่ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจากรังไข่ ภายหลังการตกไข่ มีส่วนช่วยให้เนื้อเยื่ออื่นๆ ในเต้านมเติบโตมากขึ้น และบางครั้งมีน้ำคั่งมากขึ้น จากการที่มีการเจริญเติบโตของไข่และการตกไข่ ฮอร์โมนเพศเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนทำให้ผู้หญิงบางคนรู้สึกตึงแน่นที่เต้านมก่อนมีรอบเดือนหรือในระหว่างการตั้งครรภ์ ฮอร์โมนเพศเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนทำให้การเจริญเติบโตของต่อมท่อน้ำนมและเนื้อเยื่ออื่นๆ เพิ่มขึ้น การสร้างน้ำนมและหลั่งน้ำนมในระยะให้นมยังต้องอาศัยฮอร์โมนอื่นๆ จากต่อมใต้สมอง เช่น ฮอร์โมนโปแลคติน


เต้านมมีขนาดเปลี่ยนแปลงไปตามระดับฮอร์โมนเพศหญิงในร่างกาย บางรายอาจกังวลว่ามีเต้านมเล็กจนทำการฉีดสารบางอย่างเข้าไปในเต้านม ซึ่งอาจทำให้มีโอกาสเป็นเนื้องอกได้มากขึ้น กว่าการปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติของมันเอง


เต้านมมีหลอดเลือดมาเลี้ยง และท่อน้ำเหลืองติดต่อกับต่อมน้ำเหลืองบางแห่ง เช่นที่รักแร้ ในรายที่เป็นมะเร็งเต้านม จะมีการกระจายของมะเร็งเต้านมมาที่ต่อมน้ำเหลืองนี้ ดังนั้นการผ่าตัดมะเร็งของเต้านมจึงอาจต้องเอาต่อมน้ำเหลืองเหล่านี้ออกด้วย


จากความรู้เกี่ยวกับร่างกายของเราและการเปลี่ยนแปลงของร่างกายช่วยให้เราสังเกตได้เมื่อมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับเต้า นมของตนเอง เช่น ขนาดเต้านมทั้งสองข้างไม่เท่ากัน หัวนมบอดไม่นูนขึ้นจากผิวหนัง คลำพบก้อนในเต้านมหรือต่อมน้ำเหลือง ที่รักแร้โตขึ้น เป็นต้น

 


 

ข้อมูลสื่อ

30-001
นิตยสารหมอชาวบ้าน 30
ตุลาคม 2524