โรคโภชนาการ เกิดจากการที่ร่างกายได้รับอาหารที่ไม่เป็นประโยชน์ ไม่ถูกต้อง ไม่เพียงพอ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการขาดอาหารบางอย่าง ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดโรคได้
โรคโภชนาการ มีอะไรบ้าง ?
1. โรคขาดโปรตีนและกำลังงาน (โรคขาดอาหาร)
มักพบในเด็กแรกเกิดถึง 5 ขวบ
สาเหตุ เพราะ
- ไม่กินนมแม่ตั้งแต่แรกเกิด
- ถูกเลี้ยงด้วยนมข้นหวานตั้งแต่แรกเกิด
- ไม่ได้กินอาหารเสริมอย่างถูกต้องและเหมาะสมตามวัย
- ไม่ได้สารอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ นม ไข่ ไขมัน และถั่วต่างๆ อย่างเพียงพอ
ผลเสีย
- เด็กจะสมองไม่ดี การเรียนรู้ช้ากว่าปกติ
- ร่างกายจะไม่เติบโตเท่าที่ควร (ตัวเล็กกว่าปกติ)
- ติดโรคง่าย ร่างกายอ่อนแอ
- เฉื่อยชา เหม่อลอย
ป้องกัน
- เด็กทุกคนควรได้รับนมแม่อย่างน้อย 3 เดือนหลังคลอด
- ควรได้อาหารเสริมอย่างถูกต้อง หลังจาก 3 เดือน (อาหารเสริม เช่น ข้าวบดไข่แดง ข้าวบดตับ ข้าวบดเนื้อสัตว์ต่างๆ ข้าวบดผัก ข้าวบดถั่ว เป็นต้น)
- ควรได้รับอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ นม ไข่ ถั่ว ไขมัน อย่างเพียงพอ
2. โรคขาดไวตามิน เอ
พบมากในเด็กตั้งแต่ 2-3 เดือน ถึง 5 ขวบ
สาเหตุ เพราะ
- ถูกเลี้ยงด้วยนมข้นหวานตั้งแต่เล็กเป็นประจำ
- ไม่ได้กินนมแม่
- ขาดอาหารจำพวกที่มีไวตามินเอ เช่น เนื้อสัตว์ ตับ ผัก ไข่แดง ผลไม้สีเหลือง แดง ส้ม และเขียว
ผลเสีย
- ตามัวในเวลากลางคืน
- ตาบอดแสง
- เคืองตา ถูกแสงน้ำตาไหล
- ตาบอด
ป้องกัน
ควรรับประทานอาหารจำพวก ไข่ นม ตับ ผักใบเขียว ผักใบเหลือง และผลไม้ เช่น มะละกอสุก ผักบุ้ง ตำลึง มะเขือเทศ คะน้า เป็นต้น
3. โรคโลหิตจาง
พบมากในหญิงมีครรภ์ หญิงให้นมบุตร และหญิงวัยเจริญพันธุ์
สาเหตุ
- ร่างกายขากธาตุเหล็ก ในหญิงมีครรภ์และให้นมบุตรต้องการธาตุเหล็กมากเพื่อเด็กในครรภ์และการสร้างน้ำนม ส่วนใหญ่ในหญิงวัยเจริญพันธุ์ต้องการธาตุเหล็กเพราะมีการเสียเลือดประจำเดือน
ผลเสีย
- ร่างกายมีเลือดน้อย ทำให้อ่อนเพลียง่าย
- ความต้านทานโรคน้อย
ป้องกัน
- ควรรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กมากขึ้น เช่น ตับ ไข่แดง ผักใบเขียวเข้ม
4 .โรคเหน็บชา
พบมากในผู้หญิงหลังคลอดที่อยู่ไฟ มีการงดอาหารแทบทุกชนิด และคนใช้แรงงานที่รับประทานข้าวแต่อย่างเดียวโดยไม่ได้รับอาหารที่มีไวตามินบี 1
สาเหตุ
- ขาดวิตามินบี 1
ผลเสีย
- ร่างกายอ่อนเพลีย
- แขนขาไม่มีแรง
ป้องกัน
รับประทานอาหารที่มีไวตามินบี 1 อย่างเพียงพอ เช่น เนื้อหมู เครื่องในสัตว์ ไข่แดง ข้าวซ้อมมือ
ข้อสังเกต
แม่ที่ขาดวิตามินบี 1 จะทำให้น้ำนมมีไวตามินบี 1 น้อย ไม่พอกับที่ลูกต้องการ ทำให้เกิดโรคเหน็บชาในเด็กได้ และอาการที่เกิดกับเด็กนี้มีอันตรายถึงตายได้เพราะจะมีผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ
5.คอพอก
พบในคนที่ขาดธาตุไอโอดีน ซึ่งมีมากในเกลือทะเลและอาหารทะเลต่างๆ
สาเหตุ
ร่างกายขาดธาตุไอโอดีน
ผลเสีย
- ต่อมธัยรอยด์โต (เป็นก้อนพองที่ลำคอ)
- ติดขัดในการกลืนอาหาร และหายใจไม่สะดวก
ป้องกัน
ควรรับประทานอาหารเกลือทะเลหรืออาหารทะเล เช่น ปลา, กุ้ง, ปลาหมึก เป็นต้น
ข้อสังเกต
แม่ที่เป็นคอพอกระหว่างตั้งครรภ์ และให้นม ทำให้ลูกมีการขาดธาตุไอโอดีน จะทำให้เด็กมีลักษณะแคระแกร็น เป็นใบ้ หูหนวก และปัญญาอ่อน
6.โรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ
พบมากในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี โดยเฉพาะทางภาคเหนือและอีสาน
สาเหตุ
- การเลี้ยงทารกโดยให้กินข้าวมาก ได้รับอาหารจำพวกโปรตีนน้อย และไม่ได้กินนมแม่
- รับประทานผักที่มีสารอ็อกซาเลต ซึ่งทำให้เกิดเป็นนิ่วได้ เช่น ผักโขมน้อย ผักแพว ผักกระโดน ฯ
ผลเสีย
- เจ็บปวดและทรมานในเวลาขับถ่ายปัสสาวะ
- ปัสสาวะเป็นเลือด
ป้องกัน
ควรรับประทานอาหารพวกเนื้อสัตว์ ถั่วต่างๆ และงดกินผักที่มีสารอ็อกซาเลตซึ่งจะทำให้เกิดก้อนนิ่วได้
7.โรคปากนกกระจอก
พบทั่วไปทุกภาคตามชนบท มักพบในเด็กนักเรียน
สาเหตุ
ขาดไวตามินบี 2 ซึ่งมีมากในอาหารพวกเครื่องในสัตว์ ผักใบเขียว
ผลเสีย
- เป็นแผลที่มุมปาก
- ริมฝีปากบวมเจ่อ
- เบื่ออาหารทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย
- ตาสู้แสงสว่างไม่ได้
ป้องกัน
ควรรับประทานอาหารจำพวกเครื่องในสัตว์ และผักใบเขียวเพิ่มขึ้น
- อ่าน 51,721 ครั้ง
พิมพ์หน้านี้