• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

วิถีชีวิตคือการถักทอจิตอย่างต่อเนื่องไปจนถึงที่สุด

เราได้คุยกันถึงองค์ประกอบของวิถีโยคะ อันประกอบด้วย ก) เป้าหมายในการพัฒนาจิตที่ชัดเจน ข) การตระหนักถึงจุดตั้งต้นที่เราแต่ละคนกำลังยืนอยู่ และ ค) การเดินไปตามทาง ด้วยความเพียร เราได้คุยกันถึงความสำคัญของยามเช้า ซึ่งนอกจากจะเป็นอรุณของวันใหม่แล้ว ยังเป็นรุ่งแรกของวิถีโยคะด้วย คราวนี้เรามาพิจารณามรรคาแห่งโยคะกัน

ดังที่ได้กล่าวมาโดยตลอด ผู้เขียนชักชวนให้ผู้สนใจโยคะจริงจัง ศึกษาโยคะในเชิงวิชาการ โดยเฉพาะการศึกษาตำราแม่บท โยคะสูตรของปตัญชลี

สูตรแปลว่าด้าย เป็นเส้น เป็นสาย อันหมายถึง การดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ถามว่าในตลอดวัน 16 ชั่วโมง ตั้งแต่ 6.00- 22.00 น. อะไรที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง? ถามว่าเมื่อ เลือกโยคะเป็นวิถี (เอาเป็นว่า ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ.2552 เป็นต้นมา) ไปจนถึงที่สุดแห่งชีวิต ชั่วชีวิตโยคีนี้ อะไรที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง? คำตอบก็คือ การเรียนรู้และพัฒนา "จิต" นั่นเอง

ฉบับนี้ ผมลองนำเสนอประเด็นในโยคะสูตร เอามาเขียน เป็นแผนภาพ ไม่ลงรายละเอียด โดยหวังให้ผู้อ่านเห็นภาพรวมทั้งหมดของโยคะอย่างเชื่อมโยง ซึ่งจะช่วยเสริมทรรศนะของเราต่อโยคะให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
 

ในเบื้องต้น ถ้าเราพูดให้รวบสั้น ก็จะกล่าวได้ว่าโยคะคือการเดินทางจากจุด 1 ไปยังจุด 22 คือ

•-------------------------------------------------------------------------------------►•
จุด 1                                                                                                        จุด 22
เริ่มจากระวังจิตไม่ให้ฟุ้งซ่าน                                              จนกระทั่งจิต (ที่ทำหน้าที่รู้) กับเรา 
                                                                                          (สิ่งที่ถูกจิตรู้) แยกขาดจากกัน

โยคะสูตรแบ่งออกเป็น 4 บท แบ่งการฝึกจิตออกเป็น 4 ช่วง คือ

•----------------------------•----------------------------•---------------------------------•
จุด 1 - 8                 จุด 9 - 13                    จุด 14 - 16                           จุด 17 - 22
จิตที่ไม่ปรุงแต่ง      การฝึกจิตให้มีกำลัง     จิตที่มีกำลังมาก (เกิน)           จิตที่บรรลุเป้าหมาย

จากนั้น เราลองลำดับภาพของโยคะสูตรทีละบท ทีละช่วง ก็จะเห็นการดำเนินไปอย่างต่อเนื่องของจิต เริ่มจากบทที่ 1 ซึ่งปตัญชลีอธิบายสภาวะจิตที่สงบเป็นสมาธิไว้ 8 ลำดับคือ

•--------------•--------------•----------------•-----------------•----------------•---------------•------------►•     
1                 2                  3                    4                      5                    6                   7               8
จิตที่ไม่ปรุง จิตที่รวมลง การเข้าไปด้าน จิตควรมีศรัทธา อุปสรรคใน จิตอันปีติและ จิตมีสมาธิ  จิตที่อยู่
และอธิบาย  เป็นหนึ่ง      ในจิตเพื่อขจัด   สูงสุด ต่อผู้ที่     การฝึกจิต   การปฏิบัติ      ที่ละเอียด  เหนือ
การปรุงแต่ง และลำดับ   ตะกอนที่ยังฟุ้ง  ปราศจาก          9 ชนิด         เพื่อปีติจิต     อย่างยิ่ง    สมมุติ-
จิต 5 ชนิด    การรวมจิต  ขึ้นมาได้อีก       กิเลส-กรรม       และอาการ   7 อย่าง         และได้      บัญญัติ
พร้อมหลัก     ให้เป็น        พร้อมปัจจัย 5   ทั้งปวง            ของจิตที่ถูก                      อธิบายถึง จิตที่ไม่
ปฏิบัติเพื่อ     หนึ่งเดียว    และหลักปฎิบัติ ซึ่งเข้าถึงด้วย  รบกวน 4                           สมาธิใน    สร้าง
ดับการ          สี่ขั้นตอน     2 ประการ          การสวดมนต์    ประการ ซึ่ง                      ระดับต่างๆ กรรม-
ปรุงแต่ง                                                                            โยคะมรรค                                          ใหม่ขึ้น
                                                                                         ช่วยบำบัด                                          อีกเลย
                                                                                         อาการได้

ในบทที่ 2 ปตัญชลีเรียงร้อย ลำดับของการปฏิบัติ การฝึกฝนจิต ไว้ 5 ประเด็นคือ

•--------------------------•------------------------•-----------------------------•---------------------------►•
9                               10                              11                                   12                                  13
การดำเนินวิถีโยคะ    การฝึกฌานระงับ     การฝึกโยคะเพื่อขจัด   ฝึกให้มีวิจารณญาณ      การปฏิบัติ
ที่ปราศจากกรรม       กิเลส ทั้งได้อธิบาย สาเหตุของทุกข์         เพื่อทำลายอวิชชาและ  อัษฎางค์โยคะ
3 แบบ                      กิเลสทั้ง 5 ชนิด      ทุกข์หรืออวิชชาที่ไป  อธิบายวิจารณญาณ     เฉพาะ 5 มรรค
                                 และผลพวงของ        เหมารวมว่าจิตคือเรา   ทั้ง 7 ชนิด                   แรกได้แก่
                                 กิเลส อันได้แก่         และอธิบายถึงความ                                        ยมะ นิยมะ 
                                 กรรมและทุกข์          เป็นเราที่ประกอบด้วย                                     อาสนะ ปราณ
                                                                 ธาตุ 5-อินทรีย์ 5                                             ปรัทยาหาระ

ในบทที่ 3 ปตัญชลี เตือนให้โยคีระวังจิตที่ได้รับการฝึกจนมีกำลังมากเกินไป มีศักยภาพทำสิ่งต่างๆ ที่คนทั่วไปทำไม่ได้ ซึ่งอาจทำให้ติดในอิทธิฤทธิ์นั้น อันเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาจิตของผู้ฝึกเสียเอง มี 3 ประเด็น ได้แก่

•-----------------------------------------------•--------------------------------------------►•
14                                                         15                                                            16
การฝึก 3 มรรคหลัง ซึ่งเน้นการฝึก จิตที่ฝึก จนมีศักยภาพสูง มีอำนาจ         เมื่อก้าวข้ามอุปสรรคได้แล้ว
จิตภายใน โดย 3 มรรคหลังนี้คือ    เหนือโลก ได้สิทธิทั้ง 8 ซึ่งหากติดยึด    จิตก็จะมีวิจารณญาณ แยก
สาระสำคัญของโยคะ                     จะกลายเป็นอุปสรรคต่อการบรรลุ            ผู้รู้กับสิ่งที่ถูกรู้ออกจากกัน
โยคีฝึกจนจิตเป็นเอกคัตา              เป้าหมาย

ในที่สุด โยคีผู้ก้าวพ้นอิทธิฤทธิ์แห่งจิต ก็เข้าสู่ที่สุดของการพัฒนาจิต คือ

•--------------------------•---------------------•--------------------•---------------------•----------------------►•
17                             18                         19                        20                         21                           22
ผู้มีจิตที่ปราศจาก  เมื่อแยกผู้รู้ออก    จิตจะน้อมลง    จิตเกิดความหยั่งรู้   มีจิตที่รู้รอบ   บรรลุไกวัลย จิต
กรรม (ความ           จากสิ่งที่ถูกรู้ได้   สู่ความเข้าใจ    เป็นธรรมะเมกกะ     เป็นอิสระ     (ผู้รู้) กับเรา
คาดหวังใดๆ)          อย่างชัดเจน จิต จิตอย่างแท้จริง สมาธิ และกรรม     ปราศจาก      (สิ่งที่ถูกรู้) แยก
ผู้ที่จิตมีกำลัง          ของผู้ฝึกก็หมด    (วิเวก)               ใดๆที่ตกค้างจะ      การตีความ    ขาดกันโดย
ด้วยฌาน ก็จะ         ความเข้าใจผิด                              ถูกขจัดอย่างถาวร  ใดๆ               สิ้นเชิง
เข้าใจกลไกการ      ในอัตตา
ทำงานของจิต


"การลดน้ำหนัก ท้าทายความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมของตัวเอง"Ž

จะเห็นได้ว่า โยคะสูตร เป็นความต่อเนื่องของการเรียนรู้ และพัฒนาจิต พวกเราโยคีน้อย อ่าน-ตีความ ปฏิบัติ สรุป-ประเมินผล ค่อยๆ ดำเนินชีวิตของเรา เพื่อถักทอจิตไปสู่เป้าหมายสูงสุด คือการรู้แจ้ง เห็นจริงตามธรรม
 

ข้อมูลสื่อ

362-020
นิตยสารหมอชาวบ้าน 362
มิถุนายน 2552
โยคะ
กวี คงภักดีพงษ์