• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

การช่วยตนเองและช่วยกันเองในยามเจ็บป่วยฉุกเฉิน

นพ.สันต์ หัตถีรัตน์ / คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
การช่วยตนเองและช่วยกันเองในยามป่วยฉุกเฉิน

การช่วยตนเองและช่วยกันเองใน"การเจ็บป่วยฉุกเฉิน"มักจะมีขั้นตอน คือ ตั้งสติให้ได้ก่อน ประเมิน ดูว่าเป็นการเจ็บป่วยฉุกเฉินหรือไม่ประเมินว่าการช่วยจะเป็นประโยชน์ หรือเป็นโทษ ประเมินว่าจะช่วยตน เองได้ไหม และทำการปฐมพยาบาล ทันที ตามลักษณะและอาการที่แสดง ไว้ในระดับความรุนแรงต่างๆ ตามรายละเอียดดังต่อไปนี้

คนที่หมดสติทันที ไม่หายใจ และไม่กระดุกกระดิกเลย
คนที่อยู่ในลักษณะเช่นนี้ ให้ถือว่า"ฉุกเฉินที่สุด" ต้องรีบดำ-เนินการ "กู้ชีพขั้นต้น" ทันที ดังนี้
๑. จัดวางผู้ป่วยนอนหงายราบ ลงกับพื้น (หน้าตรง ไม่หนุนหมอน)
๒. เรียกดังๆ พร้อมกับกระตุ้น(เช่น ตบไหล่หรือหน้าเบาๆ ติดๆ กัน) และคอยสังเกตว่ามีการกระดุกกระดิก ของร่างกายส่วนใด (รวมทั้งหน้าตา และลูกตา) หรือไม่ ถ้าไม่มีเลย ให้ถือ ว่า "หมดสติจริง และไม่หายใจด้วย" เพราะถ้ามีการหายใจ จะสังเกตเห็น การเคลื่อนไหวของหน้าอก ชายโครง และ/หรือหน้าท้องส่วนบนได้ (ในกรณี ที่ผู้ป่วยนานๆ จะหายใจสักครั้ง และไม่ รู้สึกตัวเลย ขณะหายใจจะต้องแสยะหน้า คล้ายกับว่าต้องออกแรงหายใจเต็มที่ แต่แทบไม่มีการเคลื่อนไหวของหน้าอก และท้องเลย ให้ถือว่า "ไม่หายใจ")
คนที่หมดสติทันที ไม่มีการหายใจ และไม่กระดุกกระดิกเลย แม้จะ เรียกและกระตุ้น (และถ้าคลำชีพจร ที่คอเป็น จะพบว่าไม่มีชีพจรที่คอด้วย)  ให้ถือว่าผู้ป่วยอยู่ในภาวะ "หัวใจหยุด" ต้องรีบทำขั้นตอนต่อไปทันที
๓. ตะโกนเรียกคนช่วย และโทรศัพท์เรียก "ศูนย์ฉุกเฉิน" หรือ๑๖๖๙ (ถ้ามี) ทันที แล้วรีบ "กู้หัวใจ ปอด" ตามขั้นตอนต่อไปนี้
๔. ทุบกลางหน้าอกแรงๆ ๑-๒ ครั้ง (ดูรูปที่ ๑)

- ถ้าผู้ป่วยตื่นและหายใจเองได้ ให้นอนหงายราบ (หัวติดพื้นไม่หนุนศีรษะ) ต่อไป คลายเข็มขัดและเสื้อผ้าที่รัดร่างกายออก ใช้พัดหรือกระดาษแข็งๆ โบกลมผ่านหน้าผู้ป่วย บีบนวด แขนขา ถ้ามียาดม  (พิมเสนยาหม่อง แอมโมเนียหอม ฯลฯ) ก็เอายาดมนั้นไปไว้ใกล้ๆ รูจมูก ผู้ป่วยได้ และให้การรักษาแบบคน "เป็นลมหน้ามืด" ต่อไป
- ถ้าผู้ป่วยไม่ตื่นและไม่หายใจ (เหมือนเดิม) ให้คุกเข่า ลงข้างๆ ต้นแขนผู้ป่วย ด้านใดด้านหนึ่ง วางส้น มือทั้ง ๒ ของตนซ้อนทับกันลงตรงกลางหน้าอก ของผู้ป่วยในระดับราวนม (ดู รูปที่ ๒) กระดกปลายนิ้วมือ ทั้งหมดให้พ้นจากหน้าอกผู้ป่วย เหยียดแขนทั้ง ๒ ข้าง ให้ตรง แล้วโถมน้ำหนักตัวของ ตนผ่านแขนและส้นมือลงไปบน กระดูกกลางอกของผู้ป่วยให้ กระดูกยุบลงประมาณ ๒ นิ้วฟุตหรือ ๕ เซนติเมตร สำหรับ ผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่ (ในเด็ก จะ ขึ้นกับขนาดของเด็ก ในเด็กตัวเล็กมากๆ อาจใช้ปลายนิ้ว มือกดกระดูกกลางอกแทน ใช้ ส้นมือด้วย) แล้วหยุดโถมน้ำ-หนักโดยไม่ยกส้นมือขึ้นจากกระดูกอก กระดูกอกจะเด้งกลับสู่ที่เดิม แล้วก็โถมน้ำหนักตัวลงไปใหม่ แล้วหยุด-โถม-หยุด-โถม สลับกันไปเช่นนี้ติดๆ กัน ๑๕ ครั้งในเวลาประมาณ ๑๐ วินาที
การ "ขย่มอก" ดังกล่าวเป็น การ "นวดหัวใจจากภายนอก" เพื่อ กดหัวใจให้เลือดไหลออกจากหัวใจไป เลี้ยงร่างกายได้บ้างในทุกครั้งที่กดกระดูกกลางอกลง ถ้า "ขย่มอก" ๑๕ ครั้งติดๆ กันแล้วผู้ป่วยตื่นและหายใจ เองได้ ให้ทำตามขั้นตอนตามรูปที่ ๑ ต่อ แต่ถ้าผู้ป่วยยังไม่ตื่นและไม่หายใจ เหมือนเดิม ให้ทำขั้นตอนต่อไป
๕. เปิดทางหายใจ โดย
- เงยหน้าเชิดคาง โดยใช้มือข้าง หนึ่งช้อนคอผู้ป่วยขึ้น และใช้มืออีกข้างหนึ่งกดหน้าผากผู้ป่วยลง หน้าของผู้ป่วยจะเงยขึ้น (แหงนคอ) และปากจะเปิดอก (ห้ามใช้วิธี "เงยหน้า เชิดคาง" ในกรณีอุบัติเหตุ ถูก ทำร้าย หรือสงสัยว่าคอผู้ป่วย อาจหักหรือเคลื่อน ซึ่งในกรณีเหล่านี้ให้ใช้วิธี "ยกขากรรไกร") ใช้นิ้วล้วงฟันปลอม อาหาร เสมหะ หรือสิ่งแปลก ปลอมอื่นๆ ในปากออก แล้วใช้นิ้วเชิดคางผู้ป่วยขึ้น เพื่อให้ ทางหายใจโล่ง (ดูรูปที่ ๓)
- ยกขากรรไกร ในกรณีอุบัติเหตุ ถูกทำร้ายหรือสงสัยว่าคอของ ผู้ป่วยอาจหักหรือเคลื่อน ให้จัดวางหน้าผู้ป่วยให้ตรง (ไม่เงย ไม่ก้ม ไม่เอียงหรือเอี้ยวไปทางใด) และจัดวางศีรษะ คอ และลำตัวให้เป็นแท่งตรงให้ศีรษะของผู้ป่วยอยู่ระหว่าง ฝ่ามือทั้ง ๒ ข้างของคนช่วยแล้วคนช่วยใช้นิ้วมือทั้ง ๒ ข้าง ยกมุมขากรรไกร (ที่อยู่ใต้หู) ทั้ง ๒ ข้างขึ้น ถ้าปากของผู้ป่วยยังไม่เปิดออก ให้ใช้หัวแม่มือ ดันริมฝีปากล่าง(คาง)ให้ปากเปิด (ดูรูปที่ ๔)
๖. ช่วยหายใจ โดยการเป่าลมผ่านปากผู้ป่วย ("เป่าปาก") หรือผ่านจมูก  ("เป่าจมูก") ดังนี้
ผู้ช่วยกู้ชีพหายใจเข้าเต็มที่ กลั้น หายใจไว้ อ้าปากของตนประกบลงที่ปากหรือจมูกของผู้ป่วย (ในกรณี"เป่าปาก" ต้องใช้นิ้วมือบีบจมูกของ ผู้ป่วยให้แน่น ส่วนในกรณี "เป่าจมูก" ต้องใช้มือยกคางผู้ป่วยให้ปากผู้ป่วย ปิดสนิท และต้องใช้มือกดกระพุ้งแก้ม ทั้ง ๒ ข้างของผู้ป่วยไว้ ไม่ให้แก้มโป่ง ออกเวลาเป่าลมเข้าทางจมูก)
แล้วผู้ช่วยกู้ชีพจึงเป่าลมหายใจ ของตนเข้าไปในปากหรือในจมูกของ ผู้ป่วย จนหน้าอกของผู้ป่วยยกขึ้นประมาณ ๒ วินาที แล้วเอาปากของ ตนออกจากปากหรือจมูกของผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยหายใจออก แล้วจึงเป่า ลมให้ผู้ป่วยอีกครั้งหนึ่ง
นั่นคือ หายใจให้ผู้ป่วย ๒ ครั้ง แล้วจึง "ขย่มอก" หรือ "นวดหัวใจ" ให้ผู้ป่วย ๑๕ ครั้งติดๆ กัน สลับกัน ไปเช่นนี้จนกว่า

  • ผู้ป่วยตื่นและหายใจเองได้
  • "ทีมกู้ชีพฉุกเฉิน" จากโรงพยาบาลมาถึงและรับภาระไป
  • ผู้ช่วยกู้ชีพหมดแรง (ไม่สามารถช่วยต่อไปอีกได้)
  • ได้ช่วยกู้ชีพมากว่าครึ่งชั่วโมงแล้วยังไม่มีวี่แววว่าผู้ป่วยจะฟื้นหรือไม่มีวี่แววจะมี"ทีมกู้ชีพฉุกเฉิน" จากโรงพยาบาลมาช่วยอาจมีอันตรายต่อผู้ช่วยกู้ชีพหรือผู้อื่น
  • ผู้ป่วยเสียชีวิตแล้ว หรือญาติ ที่รับผิดชอบผู้ป่วยขอให้เลิกกู้ชีพ เป็นต้น

๗. ช็อกหัวใจ ในกรณีที่มีเครื่อง ช็อกหัวใจแบบอัตโนมัติ ผู้ใหญ่ที่หมด สติทันที ไม่หายใจ ไม่กระดุกกระดิก เลยแม้จะถูกกระตุ้น และคลำชีพจรที่คอไม่ได้ ส่วนใหญ่จะเกิดจากหัวใจ ห้องล่างเต้นริก หรือหัวใจห้องล่างเต้นเร็วแบบไม่มีชีพจร ซึ่งการช็อก หัวใจโดยเร็วที่สุด จะทำให้รอดชีวิต ได้มากที่สุด
หมายเหตุ :
๑. การกู้หัวใจปอด (CPR) ตาม ขั้นตอนที่ ๔ ถึง ๗ แตกต่างจากที่มักจะคุ้นเคยกัน ที่เริ่มด้วยการเปิดทางหายใจ (Airway, A) แล้วช่วย หายใจ (Breathing, B) แล้วจึงขย่มอก (Chest compression, C) ซึ่งกระบวนการ A-B-C นี้เป็นที่แพร่หลายในอเมริกาเหนือ
๒. ส่วนการทุบอก (chest thump) ก่อน A-B-C แพร่หลายใน ยุโรป และขั้นตอนการขย่มก่อนการ เปิดทางหายใจและช่วยหายใจ หรือ ขั้นตอน C-A-B (แทน A-B-C) นั้นแพร่หลายในประเทศเนเธอร์แลนด์
๓. การกู้ชีพขั้นต้นไม่ว่าแบบใดดังที่กล่าวไว้ ไม่ทำให้ผลของการ รอดชีวิตหลังการกู้ชีพแตกต่างกัน ผู้ เขียนคิดว่าในประเทศไทยที่ประชาชน ทั่วไปยังไม่สะดวกใจที่จะ "เป่าปาก" คนอื่น จึงควรใช้การทุบอกและตามด้วยการขย่มอกก่อน เพราะถ้าได้ผล จะได้ไม่ต้องเหนื่อยในการช่วยหายใจ โดยเฉพาะในกรณีที่เป็นผู้ป่วยผู้ใหญ่
(ยังมีต่อ)

คู่มือหมอชาวบ้าน
คอลัมน์นี้เป็นคู่มือแนะนำให้ท่านรู้วิธีดูแลรักษาตนเอง เมื่อ ประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยกะทันหันได้
เลือดกำเดา
๑. ให้นั่งนิ่งๆ หงายศีรษะไป ด้านหลัง พิงพนักหรือผนัง หรือ นอนหนุนไหล่ให้สูง แล้วหงายศีรษะ พิงหมอน
๒. ปลอบใจให้สงบใจ ให้หายใจยาวๆ (ยิ่งตื่นเต้นตกใจ เลือดยิ่งออกมาก)
๓. ใช้นิ้วมือบีบจมูกทั้ง ๒ ข้างให้แน่น โดยหายใจทางปากแทน หรือใช้ผ้าสะอาดม้วนอุดรูจมูกข้างนั้น หรือกดจุด (๙๗)
๔. วางน้ำแข็งหรือผ้าเย็นบนสันจมูก หน้าผาก และใต้ขากรรไกร
๕. ถ้าเลือดไม่หยุด รีบพาไป โรงพยาบาล
๖. ถ้ามีเลือดกำเดาออกบ่อย ควรปรึกษาหมอ อาจเป็นความดันเลือดสูง หรือโรคอื่นๆ ได้


 

ข้อมูลสื่อ

277-010
นิตยสารหมอชาวบ้าน 227
พฤษภาคม 2545
ศ.นพ.สันต์ หัตถีรัตน์