ท่าบริหารร่างกายสำหรับผู้สูงอายุ
มนุษย์เราแตกต่างกับสัตว์อื่นตรงที่มนุษย์ยืนและเดินสสองขา การบืนสองขามีผลลบต่อสุขภาพอยู่บ้าง เช่น ทำให้เกิดปัญหาปวดหลัง ปวดไหล่ ปวดสะโพก และอื่นๆ โดยเฉพาะโรคปวดหลังซึ่งเป็นกันมากนั้น ความสำคัญอยู่ที่กล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนื้อหลังซึ่งทำหน้าที่พยุงกระดูกสันหลังอยู่ยิ่งอายุมากขึ้น บทบาทของกล้ามเนื้อหลังก็ยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น
สภาพแวดล้อมในปัจจุบันทำให้ผู้สูงอายุมีกำลังวังชาลดน้อยถอยลงอย่างรวดเร็วหลังเกษียณอายุจากงาน ส่งผลให้กระดูกสันหลังโค้งงอ การบริหารร่างกายท่าเหยียดตรงจะช่วยให้กล้ามเนื้อหลังแข็งแรงขึ้น เป็นการฝึกกล้ามเนื้ออย่างค่อยเป็นค่อยไป ทำให้กล้ามเนื้อคงความแข็งแรงไว้ได้ ควรฝึกทุกวันและไม่ฝืนทำมากเกินไป
ท่าที่ 1
วิธีการ
1. นอนราบกับพื้น แล้วงอเข่าขึ้นดังภาพและเหยียดหลังตรง
2. ผ่อนแรงที่สะโพก เหยียดแขนตรงเหนือศีรษะ และทำท่าเหมือนดึงร่างขึ้นไป (ดูลูกศร) ประมาณ 10 วินาที หรือนับ 1 ถึง 10 ช้าๆ
ข้อควรระวัง
1. ควรให้ปลายนิ้วมือทั้งสองข้างวางราบกับพื้น
ผลที่ได้รับ
ยืดกล้ามเนื้อบริเวณหลัง ไหล่ และสะโพก
ท่าที่ 2
วิธีการ
1. นอนราบกับพื้น แล้วเหยียดกล้ามเนื้อขาทีละข้างและกล้ามเนื้อหลังดังภาพ
2. ไม่ต้องดึงร่าง แต่สลับแขน 2 ข้างกับขาหนึ่งข้างอย่างสมดุลโดยเหยียดไว้ประมาณ 10 วินาที
ข้อควรระวัง
1. อย่าใช้เท้าซ้ายยันพื้นจนสะโพกลอยขึ้นมา
ผลที่ได้รับ
ยืดกล้ามเนื้อบริเวณหลัง ไหล่ และสะโพก
ท่าที่ 3
วิธีการ
1. นอนราบกับพื้น แล้วเหยียดแขนและขาดังในภาพประมาณ 10 วินาที หรือนับ 1 ถึง 10 ช้าๆ
ข้อควรระวัง
1. พยายามเหยียดปลายเท้า
ผลที่ได้รับ
ยืดกล้ามเนื้อหลังทั้งหมด
ท่าที่ 4
วิธีการ
1. ยืนกางขาเล็กน้อย จากนั้นจึงงอเข่าเล็กน้อยและเหยียดหลังดังในภาพ
2. ใช้มือทั้งสองดันหลังไปด้านหน้า และดันก้นไปด้านหลัง อยู่ในท่านี้ประมาณ 10 วินาที หรือนับ 1 ถึง 10 ช้าๆ
ข้อควรระวัง
1. อย่าเขย่งส้นเท้า
ผลที่ได้รับ
ยืดกล้ามเนื้อหลัง สะโพก และเอ็นร้อยหวาย (ด้านหลังข้อเท้า-achills tendon)
ท่าที่ 5
วิธีการ
1. ยืนกางขาเล็กน้อย แล้วงอตัวลงจนมือแตะพื้นได้ ขณะที่พยายามดึงก้นขึ้น
2.วางฝ่าเท้าและฝ่ามือให้ราบติดพื้น เหยียดต้นขาและสะโพกไว้ประมาณ 10 วินาที หรือนับ 1 ถึง 10 ช้าๆ
ข้อควรระวัง
1. อย่าปล่อยมือจากพื้น พยายามดันก้นไปข้างหลัง
ผลที่ได้รับ
ยืดเอ็นร้อยหวาย กล้ามเนื้อสะโพก กล้ามเนื้อขาด้านหน้า
ท่าที่ 6
วิธีการ
1. ยืนกางแขนเล็กน้อย แล้วก้มตัวลงโดยไม่งอขา
2. จากนั้นพยายามยืดเข่า ดึงก้น และทิ้งแขนไว้ประมาณ 10 วินาที หรือนับ 1 ถึง 10 ช้าๆ
ข้อควรระวัง
1. เวลาเงยขึ้น ให้งอเข่าอย่างมากๆ ก่อน แล้วค่อยๆ ยกตัวขึ้น
ผลที่ได้รับ
ยึดกล้ามเนื้อขาด้านหลัง กล้ามเนื้อสะโพก เอ็นร้อยหวาย และกล้ามเนื้อหลัง
ท่าที่ 7
วิธีการ
1. นั่งขัดสมาธิดังภาพ แล้วยืดหลัง
2. แอ่นอกตึง เอามือแตะพื้นทางด้านหลัง แล้วค่อยๆ เอียงตัวไปข้างหลังให้น้ำหนักกดลงที่ฝ่ามือ อยู่ในท่านี้ประมาณ 10 วินาที หรือนับ 1 ถึง 10 ช้าๆ
ข้อควรระวัง
1. อย่างอศอก ไม่พิงผนัง
ผลที่ได้รับ
ยืดข้อมือ กล้ามเนื้อหน้าอก กล้ามเนื้อสันหลัง
ท่าที่ 8
วิธีการ
1. นั่งขัดสมาธิ ใช้มือจับเข่าไว้
2. เงยหน้ายืดตัวขึ้น ระวังให้ร่างกายสมดุลไม่ล้มหงายหลัง อยู่นิ่งประมาณ 10 วินาที หรือนับ 1 ถึง 10 ช้าๆ
ข้อควรระวัง
1. อย่าก้มตัวลง ให้พยายามยืดหลัง
ผลที่ได้รับ
ยืดกล้ามเนื้อหลัง เอว สะโพก
เป็นอย่างไรบ้างคะ ท่าบริหารร่างกายง่ายๆ แต่ได้ประโยชน์สูงเช่นนี้ คุณสามารถฝึกทำได้โดยไม่ต้องอาศัยผู้ช่วย (ลูกหลาน) เลย ลองทำดูนะคะ ร่างกายจะแข็งแรง ทำให้กระปรี้กระเปร่าขึ้น ท่านจะรู้สึกเปลี่ยนชีวิตไปเลยทีเดียว ถ้าอยากได้ท่าบริหารแบบเต็มสูตรจริงๆ อดใจรอไว้คราวหน้า ยังมีให้ทดลองฝึกกันต่อค่ะ
- อ่าน 17,490 ครั้ง
- พิมพ์หน้านี้