• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

ปวดหัว

ปวดหัว


ปวดหัวหรือปวดศีรษะ ในที่นี้หมายถึง อาการปวด หรือเจ็บ หรือตื้อ หรือร้าว หรือหนักบริเวณหัว (บริเวณศีรษะ) ตั้งแต่บริเวณส่วนบน(หน้าผาก) ขึ้นไปที่ส่วนบนสุดของศีรษะแล้วลงไปยังบริเวณท้ายทอย และด้านข้างของกะโหลกศีรษะทั้งสองข้าง
ถ้าปวดต่ำกว่าหน้าผากลงมาเรามักจะเรียกเป็นการปวดของส่วนต่าง ๆ ที่มีชื่อเฉพาะโดยตรง เช่น ปวดคิ้ว ปวดจมูก ปวดโหนกแก้ม ปวดคาง (เจ็บคางหรือเจ็บขากรรไกร) เป็นต้น

อาการปวดหัวหรือปวดศีรษะ เป็นอาการที่พบบ่อยมากที่สุดอาการหนึ่ง แต่ในที่นี้ย่อมไม่รวมถึงอาการ “ปวดหัว” ที่เป็นเพียงคำพูดเปรย ๆ ของคนที่มีปัญหาขัดแย้ง หรือปัญหาที่ต้องขบคิดและแก้ไขจริงๆ นั่น คือ ไม่ได้ “ปวดหัว” แต่พูดว่า “ปวดหัว” เพื่อแสดงว่ามีปัญหาที่น่าจะทำให้ปวดหัวได้

คนไข้รายที่ 1 เป็นชายอายุ 60 ปี มาที่ห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งกลางดึก พร้อมกับบอกหมอว่า

ชาย : “คุณหมอครับ ผมปวดหัวมากและตามองไม่ค่อยเห็นครับ”
หมอ : “เป็นมานานเท่าไหร่แล้วครับ”
ชาย : “ประมาณ 1 ชั่วโมงครับ”

หมอ : “เคยเป็นมาก่อนมั้ยครับ”
ชาย : “ไม่เคยเป็นครับ”

หมอ : “คุณกำลังทำอะไรอยู่ ตอนเริ่มเป็น”
ชาย : “กำลังดูหนังทีวีรอบดึกอยู่ครับ รู้สึกมีอาการปวดหัวข้างขวา และปวดตาข้างขวาเพิ่มขึ้น เรื่อยๆ แล้วมองทีวีไม่ชัดมากขึ้นๆ จึงรีบมาหาหมอครับ”

หมอตรวจตาและความดันเลือดของคนไข้แล้วพูดกับคนไข้
หมอ : “หมอคิดว่าคุณเป็นต้อหินเฉียบพลัน คงต้องให้คุณอยู่โรงพยาบาล คุณจะอยู่โรงพยาบาลได้ มั้ยครับ”
ชาย : “เอ ถ้าจำเป็นก็อยู่ได้ครับ แต่ผมต้องบอกทางบ้านก่อน หมอคิดว่าจำเป็นที่ผมต้องอยู่โรงพยาบาลหรือครับ”

หมอ : “ครับ เพราะโรคต้อหินเฉียบพลันนี้อาจจะทำให้คุณตาบอดได้อย่างรวดเร็ว ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและทันท่วงที ตกลงคุณจะอยู่โรงพยาบาลหรือไม่ครับ หมอจะได้ให้พยาบาลเขาหาเตียงให้”
ชาย : “ครับ ๆ ถ้าหมอคิดว่าจำเป็นจริง ๆ ก็อยู่ครับ”

คนไข้ก็ได้เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ได้รับยาแก้ปวด และยานอนหลับ เพื่อให้พักและหลับได้ และได้รับยาลดความดันในลูกตา (intra-ocular pressure) ลง ในวันรุ่งขึ้นโชคดีที่ความดันในลูกตาลดลง และคนไข้หายปวดหัว และปวดตา มิฉะนั้นอาจจะต้องผ่าตัดตาเพื่อลดความดันในลูกตาลง เพื่อไม่ให้ตาบอด

ตัวอย่างคนไข้รายแรกนี้ เป็นตัวอย่างคนไข้ที่ถือว่ามีภาวะ “ปวดหัวฉุกเฉิน” นั่นคือ มีอาการปวดหัวที่ต้องรีบให้การรักษาทันที มิฉะนั้นอาจจะทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนจนพิการ หรือถึงแก่ชีวิตได้

ภาวะ  ปวดฉุกเฉิน  คือภาวะที่อาการปวดหัวเกิดขึ้นร่วมกัน

อาการ

                          รายละเอียด

1. อาการเจ็บหนัก

 

 





  

2. อาการตาผิดปกติ

 

 

 

 




 

 3.อาการอาเจียนพุ่ง

 (projectile vomiting)

 

 

 

   




 

4.อาการคอแข็ง

    (stiff neck)

 

 

 

 

   

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 5.อาการกดเจ็บบริเวณศีรษะ




















6.ความดันเลือดสูงมาก

 


 

 


 

  
 7.อาการปวดหัวครั้งแรก
      และรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ

หมดสติ ชักสับสน เลอะเลือน อัมพาต ไข้สูง ความดันเลือดสูงมากหายใจผิดปกติมากตาบอดหรือหูหนวกทันที กระสับกระส่าย ทุรนทุราย  เจ็บอกมากเป็นต้น

 

 



 ตาแดง(ตาขาวมีสีแดง)โดยเฉพาะถ้าแดงรอบตาดำมากกว่าส่วนนอกออกไปกดเจ็บที่ตาลูกตาแข็งกว่าปกติ(เวลาหลับตาแล้วกดลูกตาผ่านเปลือกตาบนจะรู้สึกว่าแข็งกว่าลูกตาข้างที่ไม่ได้ปวด)ปวดตาแต่ไม่มีขี้ตาหรือตาพร่ามัวอย่างรวดเร็วเป็นต้น

 



คืออาการอาเจียนที่พุ่งพรวดออกมาโดยไม่มีอาการขย้อนหรืออาการคลื่นไส้นำมาก่อนอาการมักจะรุนแรงโดยอาหารและน้ำจะพุ่งพรวดออกมาจากปากโดยไม่มีอาการขย้อนหรือกระอักกระอ่วนเตือนให้รู้ล่วงหน้าก่อนเลยคนไข้ที่ปวดหัวและอาเจียนพุ่งอาจเกิดจากความดันในกะโหลกศีรษะสูง (increased   intracranial pressure)หรือจากสาเหตุอื่นๆ 


คืออาการที่คนไข้ก้มหัว(ก้มคอ) ไม่ได้ แต่ยังแหงนคอ (แหงนศีรษะ)ได้และเอี้ยวคอ(หันศีรษะไปทางซ้ายทางขวา)ได้บ้างหรือถ้าให้คนไข้นอนหงายไม่หนุนหมอนแล้วใช้มือช้อนศีรษะของคนไข้ยกขึ้นศีรษะและคอจะยกขึ้นมาเป็นแท่งตรง เพราะศีรษะและคอจะก้ม (งอ) ไม่ได้ และคนไข้จะเจ็บเวลาศีรษะถูกยกหรือเวลาจะก้มศีรษะลักษะเช่นนี้ให้นึกถึงเยื่อหุ้มสมองถูกระคาย
(meningealirritation)จากการอักเสบ(meningitis)หรือเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมอง(subarachnoidemorrhage)
แต่ที่ก้มคอก็ไม่ได้ แหงนคอ (เงยศีรษะ)ก็ไม่ได้ และเอี้ยวคอก็ไม่ได้เพราะเจ็บไม่ได้เกิดจากเยื้อหุ้มสมองถูกระคายแต่เกิดจากกระดูกคอผิดปกติเช่นกระดูกคอหักหรือกระดูกคอเลื่อนและกระดูกคอทับเส้นเป็นต้น

 

5.1คลำบริเวณขมับแล้วพบเส้นเอ็นแข็งๆกดเจ็บ และเต้นได้ต้องนึกถึงหลอดเลือดแดงขมับอักเสบ (temporalarter-itis) โดยเฉพาะในคนแก่ ต้องรีบไปหาหมอทันทีมิฉะนั้นตาอาจจะบอดได้

5.2กดเจ็บบริเวณตาหรือโหนกแก้มและมีอาการปวดบวมแดงและร้อนในบริเวณนั้นด้วย ซึ่งแสดงว่ามีอาการอักเสบในบริเวณนั้นเมื่อร่วมกับอาการปวดหัวอาจแสดงว่าการอักเสบได้ลุกลามเข้าสู่ภายในกะโหลกศีรษะแล้วต้องรีบรักษาทันทีมิฉะนั้นอาจทำให้พิการหรือถึงแก่ชีวิตได้

5.3กดเจ็บบริเวณกกหูหรือหลังหู หรือใช้นิ้วเคาะบริเวณนั้นแล้วเจ็บมักร่วมด้วยอาการหูน้ำหนวกเรื้อรัง(มีหนองไหลออกจากหูเป็น ๆ หาย ๆ มานาน)เมื่อมีอาการปวดหัวมากแสดงว่าการอักเสบในหูได้ลุกลามเข้าสู่กระดูกกะโหลกศีรษะและอาจจะเข้าสู่ภายในกะโหลกศีรษะได้ต้องรีบรักษาทันที  


เช่น ความดันเลือดตัวล่างสูงกว่า 130มิลลิเมตรปรอทส่วนความดันเลือดตัวบนจะสูงเท่าไรก็ได้คนที่ปวดหัวและมีความดันเลือดสูงมากควรให้ยาแก้เครียดแก้ปวดและลดความดันเลือดโดยเร็วมิฉะนั้นอาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนจนพิการหรือถึงแก่ชีวิตได้

 

 คือ อาการปวดหัวครั้งนี้มีอาการแปลกกว่าที่เคยเป็นมาก่อน เป็นอาการปวดหัวที่มีลักษณะเช่นนี้เป็นครั้งแรกปวดมาก และปวดรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ อาจปวดตลอดเวลา หรือปวดเป็นครั้งคราว (เป็น ๆ หาย ๆ) แต่ปวดรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆอาการปวดหัวเช่นนี้มักร่วมกับความผิดปกติในสมอง จึงควรรีบพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและการตรวจรักษาที่ถูกต้องโดยเร็ว

     อาการหรือภาวะ ปวดหัวฉุกเฉิน ดังกล่าวข้างต้นทั้งหมดเป็นภาวะที่ต้องรีบไปหาหมอ เพื่อการตรวจวินิจฉัยและรักษาให้ถูกต้องโดยเร็วที่สุด เพื่อมิให้เกิดภาวะหรืออาการแทรกซ้อนจนทำให้พิการหรือเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

 

 

 

 

 


 

ข้อมูลสื่อ

201-003
นิตยสารหมอชาวบ้าน 201
มกราคม 2539
ศ.นพ.สันต์ หัตถีรัตน์