• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

ยากลางบ้าน

ยากลางบ้าน

12 เป็นลมวิงเวียน เพลียหน้ามืด ให้นอน บี้พิมเสนเป็นผงละเอียด ทาที่ปากช่องจมูก (ริมฝีปาก) ให้สูดเข้าไป ส่วนหนึ่งทาถูที่หัวคิ้วและหน้าผาก

13 ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ ขิงแก่ (ซื้อจากร้านขายยา) ฝานเป็นแว่นบาง ๆ 5-6 แว่น ต้มกับน้ำประมาณ 1 แก้ว พอเดือดยกลง ดื่มน้ำ (ใส่น้ำตาลเล็กน้อยได้ อย่ามาก)

14 น้ำร้อนลวก น้ำมันมะพร้าว ชุบผ้าปิด

15 น้ำร้อนลวก น้ำมันมะพร้าวผสมกับน้ำปูนใส (ถ้ามีปูนกินกับหมาก) ตีให้เข้ากันเป็นสีขาวทา

16 น้ำร้อนลวก น้ำปลาชุบผ้าปิด

17 ยาสีฟัน เกลือป่น

18 ยาสีฟัน ถ่านไม้บดละเอียด (ผสมเกลือด้วยก็ได้)

19 ยาสีฟัน ลิ้นทะเล (ซื้อจากร้านขายยา) ตำละเอียด (ผสมเกลือด้วยยิ่งดี)

20 เครื่องสีฟัน ชานอ้อย (สด หรือตากแห้งเก็บไว้)

21 ไม้สีฟัน กิ่งไม้ข่อย (มีขึ้นอยู่ตามริมรั้วในสวน ฯลฯ) ตัดเป็นท่อนยาวพอเหมาะ ทุบปลายให้แตกเป็นฝอย ตากแห้ง ใช้สีฟัน (เวลาสี เคี้ยวไม้ไปด้วยได้ตัวยาออกมาจากไม้เพิ่มประโยชน์)

22 ขัดเคล็ด ฟกช้ำ ไพลสด ฝนกับเหล้าโรง (28 ดีกรี) ในฝาละมี เป็นน้ำข้น ๆ ทาถูนวดบริเวณที่เคล็ด

23 แผลเปื่อย ไพล (ล้างสะอาด) ตำละเอียด ผสมเกลือป่นให้เข้ากันดี พอกที่แผล

24 ลมพิษ ผื่นคัน ใบพลู (กินกับหมาก) บดกับเหล้าโรงทา (แก้คัน)

25 ลมพิษ เปลือกส้มโอ (ทั้งผิว) หั่นเป็นชิ้น ขนาดประมาณนิ้วมือ ต้มกับน้ำพอเดือดปล่อยให้เย็น เอามาราดหรืออาบ

26 ผื่นคัน ขมิ้นผง (สีเหลือง ซื้อได้จากร้านขายยา) ทาให้ทั่วบริเวณ

 

ข้อมูลสื่อ

16-014
นิตยสารหมอชาวบ้าน 16
สิงหาคม 2523
รศ.นพ.กรุงไกร เจนพานิชย์