• ขนาดตัวอักษร  Normal size text | Increase text size by 10% | Increase text size by 20% | Increase text size by 30%

เวียนหัว มึนหัว หน้ามืด

ประชาชนทั่วไปสามารถที่จะเรียนรู้หารเป็นหมอรักษาตนเองและญาติมิตรได้ โดยเฉพาะโรคภัยไข้เจ็บที่พบอยู่บ่อยๆ ส่วนใหญ่ (ร้อยละ70-80) จะรักษาได้ โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษพิสดารอะไร เรื่อง “มาเป็นหมอกันเถิด” จะนำเสนอท่านเป็นประจำเพื่อชี้แจงวิธีที่จะเรียนรู้การดูแลรักษาตนเองและผู้อื่น

เวียนหัว มึนหัว หน้ามืด

การรักษา:

นอกจากการตรวจรักษาอาการเวียนหัว มึนหัว หน้ามืด ตามสาเหตุดังที่ได้กล่าวไว้ในหมอชาวบ้านครั้งก่อน ในกรณีที่สามารถซักประวัติหาสาเหตุของอาการดังกล่าวได้ แต่ในกรณีที่ไท่สามารถหาสาเหตุของอาการดังกล่าว ขั้นตอนของการตรวจรักษาควรจะเป็นช่นนี้ คือ

ขั้นตอนที่1:

การแยกว่าอาการเวียนหัว มึนหัว นั้นฉุกเฉินหรือไม่ฉุกเฉิน (ดูรูปที่1)


ฉุกเฉิน
หมายความว่า คนไข้มีอาการและลักษณะของคนไข้เจ็บหนักหรือฉุกเฉิน (ดู “มาเป็นหมอกันเถิด” ใน “หมอชาวบ้าน” ฉบับที่ 64-66) หรืออาการเวียนหัว มึนหัว นั้นเป็นแบบร้ายแรง (วิธีแยกอาการเวียนหัวว่า เป็นแบบร้ายแรงหรือไม่ร้ายแรง ให้ดูรูปที่ 2 และรายละเอียดต่อไป) ในกรณีเช่นนั้น ควรรีบพาคนไข้ไปโรงพยาบาลหรือไปหาหมอ หลังจากให้การปฐมพยาบาลตามควรแก่กรณีแล้ว (ดูวิธีการรักษาคนไข้เจ็บหนักใน “หมอชาวบ้าน”ฉบับที่ 64-65)

ไม่ฉุกเฉิน หมายถึง คนขี้อาการเวียนหัว มึนหัว แบบอื่นๆ ไม่เข้ากับลักษณะและอาการของอาการเวียนหัวแบบฉุกเฉิน

วิธีแยกอาการเวียนหัวแบบร้ายแรงและไม่ร้ายแรง (ดูรูปที่ 2) คือให้ดูลักษณะอาการเวียนหัว ดังนี้
 

 

1.แบบร้ายแรง (malignant) ซึ่งเป็นแบบที่เกิดจากความผิดปกติในส่วนลึก (central) มักจะทำให้คนไข้เกิดอาการเวียนหัวแบบบ้านหมุน (ดูลักษณะอาการแบบบ้านหมุนใน “หมอชาวบ้าน” ฉบับที่ 72) ขึ้นมาทันที จนคนไข้จำเวลาหรือช่วงเวลาที่เริ่มเป็น (เริ่มมีอาการ) ได้อย่างชัดเจน และเมื่อมีอาการแล้ว อาการจะไม่ลดลง (ไม่ดีขึ้น) นั่นคือ อาการจะทรงอยู่หรือทรุดลงโดยมีอาการ (ไม่สบาย) อยู่ตลอดเวลา แต่อาการระยะแรกมักจะไม่รุนแรง และมีอาการอื่นๆ น้อย เช่น ไม่เป็นไข้ตัวร้อน ไม่คลื่นไส้อาเจียนมากๆ เป็นต้น และถ้าตรวจตาจะพบว่าตากระตุกในแนวดิ่ง (ventical nystagmus) หรือเปลี่ยนทิศทางได้ง่ายและจะกระตุกตลอดเวลา (ไม่ลดลง) หรือตากระตุกเพียงข้างเดียวได้ (ดูรูปที่3)
 

 

2. แบบไม่ร้ายแรง (benign) ซึ่งเป็นแบบที่เกิดจากความผิดปกติในส่วนนอก (peripheral) มักจะทำให้คนไข้มีอาการเวียนหัว มึนหัว แบบบ้านไม่หมุน (ดูลักษณะอาการเวียนหัวแบบต่างๆ ใน “หมอชาวบ้าน”ฉบับที่ 72) อาการในระยะเริ่มเป็นมักจะไม่ชัดเจน ทำให้คนไข้จำเวลาหรือช่วงเวลาที่เริ่มเป็นไม่ได้แน่ชัด หลังจากที่มีอาการแล้วคนไข้จะปรับตัวได้เร็ว ทำให้อาการลดลง (ดีขึ้น) และหายเองได้ ทำให้ไม่มีอาการเวียนหัว มึนหัวอยู่ตลอดเวลาเมื่อเริ่มเป็นจะมีอาการรุนแรงและมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย

หมายเหตุ: ถ้าคนไข้ไม่มีอาการในขณะนั้น อาจทำให้คนไข้เกิดอาการได้โดยวิธีตรวจของบารานี (Barany test) โดยให้คนไข้นั่งเก้าอี้หมุน แล้วก้มหน้าประมาณ 30 องศาจากแนวดิ่ง ผู้ตรวจหมุนเก้าอี้ในทิศทางเดียวกัน 10 รอบ ใน 20 วินาทีแล้วหยุดการหมุนทันที แล้วสังเกตอาการคนไข้รวมทั้งตรวจอาการตากระตุกและอื่นๆ แล้วแยกว่าเป็นแบบร้ายแรงหรือไม่ร้ายแรง (ตามรูปที่ 2 และ 3) มาก เช่น เป็นไข้ตัวร้อน คลื่นไส้อาเจียนมาก อ่อนเพลียมาก เป็นต้น และถ้าตรวจตาจะพบว่าตากระตุกเฉพาะในแนวขวาง (horizontal nystagmus) โดยไม่มีการเปลี่ยนทิศทางจะเป็นกับตาทั้ง 2 ข้าง (ไม่เป็นข้างเดียว) และจะค่อยๆ ลดลงจนไม่กระตุกอีก หลังจากตรวจไปสักครู่ (ดูรูปที่4)
 

ข้อมูลสื่อ

74-006
นิตยสารหมอชาวบ้าน 74
มิถุนายน 2528
ศ.นพ.สันต์ หัตถีรัตน์