ดูแลสุขภาพ

  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 344 ธันวาคม 2550
    นพ.บรรลุ ศิริพานิชผู้สูงอายุออกกำลังกาย อะไรบ้างสมรรถภาพของร่างกายไม่ว่าความแข็งแรงหรือความทนทาน ความว่องไว เป็นต้น จะมีสูงสุดเมื่ออายุประมาณ ๓๐ ปี แล้วจะค่อยลดลงร้อยละ ๑ ทุกปี ดังนั้น เมื่ออายุ ๖๐ ปีแล้ว จะมีความแข็งแรงลดลงร้อยละ ๓๐ เมื่ออายุ ๓๐ ปีโดยเฉลี่ย การออกกำลังกายจะสามารถชะลอการลดลงของความแข็งแรงได้จำนวนหนึ่งเท่านั้น ผู้สูงอายุจำเป็นต้องออกกำลังอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 344 ธันวาคม 2550
    ภก.วิรัตน์ ทองรอดยารักษา โรคเอดส์คำถาม ปัจจุบัน ยารักษาโรคเอดส์ ให้หายได้ไหม?โรคเอดส์เป็นโรคติดเชื้อชนิดหนึ่งมีสาเหตุจากเชื้อ ไวรัสเอชไอวี (HIV) ซึ่งมีชื่อเต็มๆ ว่า human immuno- deficiency virus หรือแปลความหมายเป็นไทยว่า ไวรัสที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์บกพร่องผิดปกติ ไม่สมบูรณ์ ทั้งนี้เพราะไวรัสเอชไอวีจะเข้าไปทำลายเม็ดเลือด ขาวชนิดทีลิมโฟไซต์ (T-lymphocyte) ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 343 พฤศจิกายน 2550
    นพ.บรรลุ ศิริพานิชการออกกำลังกายที่ถูกต้องการออกกำลังกายที่มีผลทำให้หัวใจและปอดทำงานมากขึ้น เรียกการออกกำลังนี้ว่าแอโรบิก (aerobic แปลว่า อากาศ) จึงมีการเรียกการออกกำลังกายด้วยการเต้นจนหัวใจและปอดทำงานมากขึ้นว่า การเต้นแอโรบิกการออกกำลังกายที่ถูกต้อง ประกอบด้วย ๓ขั้นตอนดังนี้ขั้นตอนที่ ๑ การอุ่นร่างกายก่อนที่รถยนต์จะออกวิ่ง ควรมีการอุ่นเครื่องก่อนฉันใด ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 343 พฤศจิกายน 2550
    ภก.วิรัตน์ ทองรอดลูกน้อยไม่สบายเลือกใช้ยาอย่างไรคำถาม เวลาลูกน้อยไม่สบาย ควร เลือกใช้ยาอย่างไร?...จึงจะได้ผลดีและปลอดภัยการใช้ยาอย่างพอเพียง..เพื่อให้ได้ผลดีและปลอดภัยขอนำคำขวัญยอดฮิตของการใช้ยา "ยามีคุณอนันต์ และโทษมหันต์" มาย้ำเตือนทุกท่านอีกครั้งหนึ่งว่า ยาเป็นสารเคมีที่ใช้เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพ เป็นประโยชน์ แต่ขณะเดียวกันก็อาจเกิดอันตรายต่อชีวิตได้ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 342 ตุลาคม 2550
    นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพผึ้งต่อยต่อต่อยผึ้ง ต่อ เป็นแมลงในกลุ่มเดียวกัน ที่มีพิษแบบเดียวกัน ซึ่งประกอบด้วยสารเคมีหลายชนิด มีเหล็กในที่ส่วนปลาย ของลำตัว ใช้ต่อยเหยื่อแล้วปล่อยพิษออกมาทำร้ายเหยื่อ ต่อจะมีพิษสงร้ายกว่าผึ้งตรงที่ต่อตัวหนึ่งสามารถต่อยเหยื่อได้หลายครั้ง ขณะที่ผึ้งจะต่อยเหยื่อได้เพียงครั้งเดียวแล้วทิ้งเหล็กในฝังไว้บนตัวเหยื่อ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 342 ตุลาคม 2550
    ภก.วิรัตน์ ทองรอดผู้ป่วยโรคเรื้อรังกับการใช้ยาคำถามผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ควรใช้ยาอย่างไร?... จึงจะได้ผลดีและปลอดภัยโรคเรื้อรัง...เป็นแล้ว...มักไม่หายขาดโรคเรื้อรังเป็นโรคที่เมื่อเริ่มเป็นแล้วมักไม่หายขาด จะต้องให้การดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องตลอดไป เพื่อควบคุมอาการของโรคไม่ให้ลุกลามจนเกิดภาวะแทรกซ้อน หรือเป็นอันตรายรุนแรงได้ ตัวอย่างของโรคเรื้อรัง เช่น โรคหืด โรคความดันเลือด โรคเบาหวาน ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 342 ตุลาคม 2550
    ยากลุ่มกรดวิตามินเอถาม : วรรณา/กรุงเทพฯดิฉันมีสิวอักเสบมาก คุณหมอบอกว่าเป็นโรค สิวหัวช้าง แนะนำให้กินยาลดสิวกลุ่มกรดวิตามินเอ ซึ่งคุณหมอบอกว่ายาตัวนี้ถ้าตั้งครรภ์จะทำให้เด็กพิการ ดิฉันกินยาวันละ ๑๐ มิลลิกรัม ต่อเนื่องกันมานาน ๘ เดือนแล้ว เมื่อเดือนที่แล้วที่บริษัทมีการ ตรวจร่างกายประจำปี แพทย์ของบริษัทบอกว่าดิฉันมีค่าเอนไซม์ตับสูงผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากการ กินยารักษาสิวก็ได้ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 341 กันยายน 2550
    นพ.บรรลุ ศิริพานิชอาหารและโภชนาการสุขภาพ หมายถึง ภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต ทางปัญญา ทางสังคม เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุล อาหารเป็นปัจจัยที่สำคัญทำให้คนเรา มีสุขภาพดี การที่เราสามารถเป็นคนอยู่ได้ทุกวันนี้ก็เพราะอาหาร ถ้าขาดอาหารเมื่อใดชีวิตก็ไม่สามารถที่จะอยู่ได้อาหารที่กินเข้าไปทุกวันนี้มีมากมายหลาย ชนิด แต่ถ้าจะจัดกลุ่มอาหาร มีนักวิชาการจัดอาหารออกเป็น ๕ กลุ่มใหญ่ๆ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 340 สิงหาคม 2550
    นพ.บรรลุ ศิริพานิชการเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุ(เตรียมตัวก่อนเกษียณอายุราชการ)ก่อนที่จะกล่าวถึงการเตรียมตัวจำเป็นจะต้องรู้ถึงกระบวนการเกษียณอายุการงานเสียก่อนเป็นพื้นฐาน๑.การเกษียณอายุการงานการเกษียณอายุการงาน หมายถึงการที่ต้องหยุดทำงานที่เคยทำอยู่เป็นประจำ เพราะเหตุอายุครบกำหนด ที่หน่วยงานนั้นกำหนดไว้ หรือหยุดทำงานนั้นๆ เพราะร่างกายไม่เหมาะสม เช่น ราชการไทยกำหนดเกษียณเมื่ออายุครบ ๖๐ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 340 สิงหาคม 2550
    สารานุกรมทันโรคนพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพโรคคุชชิ่งพิษจากยาชุดลูกกลอนเมื่อเร็วๆ นี้ นายแพทย์มรกต กรเกษม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้เปิดเผยผลการศึกษาเกี่ยวกับการใช้สารสตีรอยด์โดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ พบว่าในกลุ่มผู้ป่วยที่รับไว้รักษาในแผนกอายุร-กรรมของโรงพยาบาล ๑๐ แห่ง จำนวน ๘,๘๗๖ ราย มีผู้ป่วย ๑,๙๘๕ ราย ที่มีประวัติหรืออาการแสดงที่บ่งชี้ว่าน่าจะเคยใช้สารที่มีสตีรอยด์ปะปนมาก่อน ...