โรคติดเชื้อ

  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 222 ตุลาคม 2540
    วัคซีนอีสุกอีใสผู้ถาม สุกัญญา/สมุทรปราการดิฉันอายุ ๒๕ ไม่เคยเป็นอีสุกอีใสเลย กลัวว่าถ้ามาเป็นตอนนี้ ต้องเป็นแผลเป็นน่าเกลียดแน่เลย ได้ข่าวมาว่าตอนนี้มีวัคซีนฉีดป้องกันโรคอีสุกอีใสแล้วจริงไหมคะดิฉันอายุ ๒๕ ปี ยังไม่เคยเป็นอีสุกอีใสเลย ไม่รู้ว่าตัวเองจะเป็นเมื่อไร บางคนบอกว่าอาจจะไม่เป็นเลยก็ได้ แต่ดิฉันกลัวว่าถ้ามาเป็นตอนนี้ ต้องเป็นแผลเป็นน่าเกลียดแน่เลย ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 220 สิงหาคม 2540
    แผลเป็นอีสุกอีใสผู้ถาม วิชาญ/เชียงใหม่ตอนเด็กเป็นอีสุกอีใสพอหายแล้วเป็นแผลเป็นติดตัวอยู่ที่หน้าอก เมื่อโตขึ้นแผลเป็นนี้ก็ใหญ่ตามขึ้นมาด้วย ไม่ทราบว่ามีวิธีใดบ้างที่ทำให้แผลเป็นนี้หายหรือจางไปได้บ้างผมมีบุตรสาว เมื่อตอนเด็กเป็นอีสุกอีใส พอหายแล้วเป็นแผลเป็นติดตัวอยู่ที่หน้าอก (แผลเป็นที่เกิดจากการเป็นอีสุกอีใส) เมื่อเด็กโตขึ้นแผลเป็นนี้ก็ใหญ่ตามขึ้นมาด้วย ขณะนี้เด็กอายุ ๑๘ ปี ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 219 กรกฎาคม 2540
    น้ำกัดหรือเชื้อรากัดเท้ากันแน่เมืองเรามีน้ำท่วมทุกปี มักท่วมหนัก นานและขยายบริเวณกว้างไปจนเกือบทั่วประเทศ ก่อให้เกิดความเดือดร้อนกันทั่วหน้า เกิดปัญหาตามมามากจริงๆ ตั้งแต่ที่อยู่อาศัย อาหารการกิน และโรคที่มากับน้ำ โดยเฉพาะโรคผิวหนัง ยิ่งน้ำท่วมนานก็ยิ่งมีปัญหามาก เกิดโรคเท้าเปื่อย แผลพุพอง เชื้อหนอง เชื้อรา เชื้อพยาธิ จะติดตามมากันใหญ่ ประชาชนรู้จักเรื่องโรคผิวหนังที่มากับน้ำท่วมกันดี ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 219 กรกฎาคม 2540
    ขอคำแนะนำรักษาไซนัสผู้ถาม เฉลิม/เพชรบูรณ์ผมอยากทราบว่าโรคไซนัสจะมีทางรักษาให้หายขาดบ้างไหมและถ้าผ่าตัดหลังการผ่าตัดแล้วจะปฏิบัติตนอย่างไร มีข้อควรระวังอะไรหรือไม่ผมขอเรียนปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาของผมดังนี้ครับ คือ ผมอายุ ๓๔ ปี อาชีพรับราชการ ผมหายใจไม่สะดวก รู้สึกว่าจะหายใจโล่งเป็นบางครั้ง ผมได้ไปปรึกษากับคุณหมอที่โรงพยาบาล เมื่อประมาณ ๑๐ ปีและเมื่อปลายปีผมได้เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 217 พฤษภาคม 2540
    เชื้อไวรัสตับอักเสบบีผู้ถาม สิงห์/แพร่ตรวจเลือดแล้วพบว่ามีแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ไม่ทราบว่าจะมีภูมิคุ้มกันตลอดไปหรือไม่ เพราะไม่เคยไปฉีดวัคซีนมาก่อนผมไปตรวจเลือดแล้วพบว่ามีแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ไม่ทราบว่าจะมีภูมิคุ้มกันตลอดไปหรือไม่ ไม่เคยไปฉีดวัคซีนมาก่อน ตรวจพบวันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๓๙ อายุตอนนี้ ๖๗ ปี จะต้องทำอย่างไร เช่น ฉีดวัคซีนหรือจะต้องรักษาตัวอย่างไร ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 198 ตุลาคม 2538
    ฮ่องกงฟุตข้อน่ารู้1.ฮ่องกงฟุต หมายถึง อาการแผลเปื่อยที่ง่ามนิ้วเท้า คนทั่วไปเข้าใจว่าเกิดจากการย่ำน้ำ (เน่า) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหน้าฝนที่มีน้ำท่วมขัง บางครั้งก็เรียกกันว่า “น้ำกัดเท้า”ชื่อนี้มีความเป็นมาอย่างไร ก็คงจะคาดเดาได้ แต่ก็มีการพูดกันต่อ ๆ กันมาในหมู่คนไทยจนเป็นที่เข้าใจกันดังความหมายข้างต้น2. แผลเปื่อยที่ง่ามเท้า มีสาเหตุที่พบได้บ่อย 2 โรค ได้แก่ (ก) โรคเชื้อรา ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 195 กรกฎาคม 2538
    7คำถาม น่ารู้กับอีโบล่า1. ที่มาของเชื้ออีโบล่าเชื้ออีโบล่าเป็นเชื้อไข้เลือดออกที่พบในทวีปแอฟริกา รู้จักเมื่อมีการระบาดครั้งแรกที่ประเทศซาอีร์ และซูดาน เมื่อปี พ.ศ.2519 สามารถแยกเชื้อและศึกษารายละเอียดได้ พบว่าเชื้อที่แยกได้ที่ประเทศซูดาน ทำให้เกิดโรคระบาดที่มีอัตราตายต่ำกว่าเชื้อที่ระบาดในประเทศซาอีร์เชื้อที่มีลักษณะคุณสมบัติคล้ายเชื้ออีโบล่าจัดอยู่ในสกุลไฟโลไวรัสนี้ ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 194 มิถุนายน 2538
    บาดทะยักข้อน่ารู้1.บาดทะยัก เป็นโรคติดเชื้อร้ายแรงชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียพันธุ์หนึ่ง ในทีนี้ขอเรียกว่า “เชื้อบาดทะยัก” เชื้อนี้มีลักษณะพิเศษ คือ พบอยู่ตามดินทรายและมูลสัตว์ มีความคงทน สามารถมีชีวิตอยู่ตามดินทรายได้นานเป็นปี ๆ และแพร่พันธุ์ได้ดีในที่ ๆ ไม่มีออกซิเจน ดังนั้นโรคนี้จะเกิดกับผู้ที่มีบาดแผลแปดเปื้อนเชื้อบาดทะยัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งบาดแผลที่มีปากแผลแคบ แต่ลึก ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 179 มีนาคม 2537
    การตรวจรักษาอาการ “บวม” ตอนที่ 1อาการบวม หมายถึง อาการที่เนื้อหรืออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งพองตัวขึ้นเนื่องจากมีน้ำคั่งอยู่ภายใน (น้ำในที่นี้หมายถึง น้ำเลือด น้ำเหลือง หรือน้ำในร่างกายอื่นๆ)น้ำที่คั่งอยู่ภายในนี้จะคั่งอยู่นอกเซลล์และนอกหลอดเลือด (ex-tracellular และ extravascular spaces) นั่นคือ น้ำเหล่านี้จะคั่งอยู่ระหว่างเซลล์ (intercellular และ interstitial space) นั่นเอง ...
  • นิตยสารหมอชาวบ้าน 177 มกราคม 2537
    ตีนโทะเห็นชื่อเรื่องแล้วผู้มิใช่ชาวปักษ์ใต้ขนานแท้และดั่งเดิมคงจะพิศวงสงสัยว่านี่มันอะไรกันแน่ ถึงชาวปักษ์ใต้ก็เถอะ หากเข้ามาอยู่ในกรุงเสียนานจนแหลงภาษาบ้านเราไม่ถนัดก็จะลืมเลือนคำนี้ไปบ้าง ค่าที่เรื่องราวหรืออาการ “ตีนโทะ" ตอนนี้มีน้อยลง มิได้พบกันหนาหูหนาตาเช่นแต่ก่อน แต่อันที่จริงแล้วก็ยังมิได้หมดไปทีเดียวผู้เขียนเองก็มิใช่นักภาษาศาสตร์จึงไม่ทราบที่มาของศัพท์นี้อย่างแน่ชัด ...