-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
163
พฤศจิกายน 2535
ลำคอ เป็นได้มากกว่าท่อลำเลียงอาหารก่อนที่จะเริ่มเขียนต้นฉบับเรื่องนี้ ได้มีโอกาสนั่งพลิกดูคอลัมน์นี้อย่างคร่าวๆ ตั้งแต่ฉบับที่ 1 จนถึงฉบับปัจจุบัน ก็ให้รู้สึกแปลกใจเมื่อพบว่า “หมอชาวบ้าน” ยังไม่เคยกล่าวถึงเรื่อง “ลำคอ” กันจริงๆเลยสักครั้งในคอลัมน์นี้ ทั้งที่ “ลำคอ” หรือ “คอ” ก็เป็นอวัยวะที่ค่อนข้างจะเห็นเด่นชัดกว่าส่วนอื่นๆเสียด้วยซ้ำ ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
160
สิงหาคม 2535
ท้องเดินเรื้อรัง – โรคธาตุอ่อนข้อน่ารู้1. บางคนอาจมีอาการถ่ายเหลวหรือถ่ายเป็นน้ำบ่อยครั้ง เป็นๆหายๆเป็นประจำ โดยที่สุขภาพทั่วไปแข็งแรงดี คนพวกนี้มักไม่มีความผิดปกติทางร่างกายแต่อย่างไร แต่เกิดเพราะกระเพาะลำไส้มีความไวต่อสิ่งเร้าต่างๆ ภาษาหมอเรียกว่า “กลุ่มอาการลำไส้ไวต่อสิ่งเร้า” (irritable bowel syndrome) ในที่นี้ขอเรียกว่า “โรคธาตุอ่อน” แทน ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
158
มิถุนายน 2535
โรคบิดชิเกลล่าข้อน่ารู้1. โรคบิดในที่นี้ หมายถึง อาการถ่ายเป็นมูกหรือมูกปนเลือดกะปริดกะปรอยบ่อยครั้ง สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ชิเกลล่า (shigella) ซึ่งติดต่อโดยทางอาหารการกิน เราเรียกโรคบิดชนิดนี้ว่า “โรคบิดชิเกลล่า”2. โรคนี้พบในคนทุกเพศทุกวัย สามารถป้องกันได้ด้วยการกินอาหารสุก ไม่มีแมลงวันตอม และดื่มน้ำสะอาด3. อันตรายของโรคนี้ คือ ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
157
พฤษภาคม 2535
ลำไส้ไม่ว่าหน้าตาและรสชาติของอาหารคุณจะมาจากครัวระดับใด จากโรงแรมชั้นหนึ่งหรือจากร้านข้างถนน แต่สุดท้ายอาหารทุกจานที่ถูกจัดแต่งไว้อย่างดีเลิศ เช่น อาหารฮ่องเต้ หรือที่ดูไม่ค่อยน่ากินอย่างต้มจับฉ่าย ก็จะถูกย่อยลงไปรวมกันที่ลำไส้ในท้องคุณทั้งหมดลำไส้เปรียบได้กับโรงงานที่ทำหน้าที่เปลี่ยนรูปอาหารให้เป็นส่วนที่เล็กลงจนร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ได้ เช่น ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
132
เมษายน 2533
ไส้ติ่งอักเสบที่ผ่านมาได้เคยพูดถึงอวัยวะในร่างกายที่เป็นชิ้นใหญ่ๆ กันมามากแล้ว ครั้งนี้ขอนำ “ไส้ติ่ง” ซึ่งอาจจะนับได้ว่าเป็นอวัยวะชิ้นที่เล็กชิ้นหนึ่งในร่างกายมากล่าวถึงกันบ้างหลายท่านอาจไม่เคยเห็นความสำคัญของไส้ติ่ง แต่จริงๆ แล้วไส้ติ่งมีประโยชน์ไม่น้อยเหมือนกัน คือ มีส่วนช่วยดักจับเชื้อโรคที่ผ่านเข้ามาในบริเวณลำไส้ ทำหน้าที่คล้ายกับต่อมทอนซิลและต่อมอะดีนอยด์ ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
131
มีนาคม 2533
โรคเบาจืดพูดถึง “โรคเบาจืด” หลายคนคงไม่ค่อยคุ้นกับชื่อนี้ มักจะได้ยิน “โรคเบาหวาน” เสียมากกว่า ก็เพราะโรคนี้พบได้ไม่มากนัก ก่อนอื่นขอกล่าวถึงอาการของโรคนี้กันก่อน อย่างที่ทราบแล้วว่า ผู้ป่วยด้วยโรคนี้จะมีอาการปัสสาวะบ่อย และปัสสาวะครั้งละมากๆ เมื่อร่างกายเสียน้ำไปมาก ผลที่ตามมาก็คือ คนไข้จะกระหายน้ำบ่อย และถ้าดื่มน้ำทดแทนส่วนที่เสียไปไม่ทัน ร่างกายเกิดขาดน้ำ ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
131
มีนาคม 2533
การทำงานของตับอ่อนชีวิตทุกชีวิตต้องกินอาหาร ถ้าไม่มีการแปรรูปอาหารให้อยู่ในสภาพที่กินได้ ทุกชีวิตก็จะอดตาย ฉันใดก็ฉันนั้น อาหารที่กินเข้าไปแล้ว ถ้าไม่มีการย่อยและเผาผลาญเอาพลังงานมาใช้ ร่างกายก็จะไม่ได้รับสารอาหารที่ให้พลังงาน อวัยวะที่ช่วยในการย่อยหรือเผาผลาญสารอาหาร ก็คือ ต่อมที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย เรียกว่า ตับอ่อน (pancreas)ตับอ่อนเป็นต่อม 2 ต่อมที่รวมอยู่ในต่อมเดียวกัน ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
130
กุมภาพันธ์ 2533
โรคที่เกิดจากการกินอาหารสำหรับประเทศด้อยพัฒนาอาจกล่าวได้ว่า ตัวเลขของจำนวนผู้ป่วยที่ปรากฏในรายงานเป็นเพียง 1 ใน 100 ของที่เกิดขึ้นจริง ขณะที่ในประเทศที่พัฒนาแล้ว ตัวเลขนี้เท่ากับ 1 ใน 10 ของที่เกิดขึ้นจริง ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า ผลกระทบของโรคที่เกิดจากอาหารสกปรก เป็นเรื่องที่ถูกมองข้ามเสมอมา อาหารที่ดีเป็นสิ่งจำเป็นต่อสุขภาพ และเป็นสิ่งอันน่ารื่นรมย์ที่สุดอย่างหนึ่งในชีวิตของคนเรา ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
130
กุมภาพันธ์ 2533
ผลของความเครียดผมมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง หมอบอกว่าเป็นแผลที่กระเพาะและลำไส้อักเสบ ผมรักษาตัวอยู่นานก็ยังไม่หายและยังมีอาการปวดหัว นอนไม่หลับ คิดมาก วิตกกังวล หมอบอกว่าเป็นโรคประสาทลำไส้จากความเครียดผู้ถาม วินัย/อุดรธานีผู้ตอบ นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพถามผมอายุ 34 ปี มีอาชีพครู เคยเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลประจำจังหวัด ในปี พ.ศ.2520-23 เนื่องจากโรคกระเพาะ มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง 2 ครั้ง ...
-
นิตยสารหมอชาวบ้าน
130
กุมภาพันธ์ 2533
ช้อนกลาง...สิ่งที่ขาดหายอันที่จริงมื้อเย็นวันนั้นก็อร่อยเหมือนกับทุกครั้งที่ผมเคยกินมา อาหารก็ถูกหลักโภชนาการครบ 5 หมู่ อีกทั้งเพิ่งทำเสร็จใหม่ๆ หอมกรุ่น น่ากินมาก ทุกๆ คนในบ้านล้อมวงนั่งกินกันอย่างเอร็ดอร่อย บรรยากาศในวงอาหารก็เหมือนมื้อเย็นของวันอื่นๆ ที่ผ่านมา แต่ว่าในเย็นวันนั้นนั่นเอง ...